การส่งออกของไทยในระยะ 2 เดือนแรกของปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Friday April 2, 2010 14:40 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. สถานการณ์การส่งออกของไทย

ก.พ. % เพิ่ม/ลด ม.ค.-ก.พ. % เพิ่ม/ลด การส่งออกรวม 14,403.9 23.2 28,127.3 26.8

การส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ มีมูลค่า 14,403.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.2 เป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่การส่งออกยังมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2552 ในรูปเงินบาทการส่งออกมีมูลค่า 470,718.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0

  • ในระยะ 2 เดือนแรกของปี 2553 การส่งออกมีมูลค่า 28,127.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.8 ในรูปเงินบาทการส่งออกมีมูลค่า 924,140.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.7
  • ปัจจัยที่ส่งผลทำให้การส่งออกขยายตัว ได้แก่

1) ความต้องการในตลาดโลกที่ฟื้นตัวมากขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าของตลาดส่งออกสำคัญ โดยเฉพาะ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และประเทศในแถบเอเซีย คือ จีน อินเดีย เอเซียตะวันออกและอาเซียน

2) สต็อกของผู้นำเข้าในต่างประเทศที่ลดลง ทำให้ผู้ซื้อในต่างประเทศเริ่มกลับมาซื้อมากขึ้น ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม

3) ผลสำเร็จจากข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ ทำให้การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูง โดยเฉพาะ จีน อินเดีย และ อาเซียน รวมทั้งความสำเร็จจากการดำเนินมาตรการเร่งรัดผลักดันการส่งออกร่วมกันระหว่างภาครัฐและ เอกชนที่ดำเนินการมาโดยตลอดและต่อเนื่อง

สินค้าส่งออกสำคัญ
กพ. % เพิ่ม/ลด มค.-กพ. % เพิ่ม/ลด สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตร 2,508 38.4 4,930 42.1 - อาหาร 986 12.0 1,977 12.1 - ข้าว 391 2.5 841 17.8 - ยางพารา 631 83.4 1,299 101.8 - น้ำตาลทราย 301 147.0 434 117.9 สินค้าอุตสาหกรรม 9,665 15.2 18,876 21.1 - เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ 2,474 48.5 5,068 56.5 - เครื่องใช้ไฟฟ้า 1,451 47.7 2,864 45.4 - ยานยนต์ 1,824 77.2 3,324 60.2 - วัสดุก่อสร้าง 647 42.0 1,303 39.7 - เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก 611 36.1 1,239 42.1 - สิ่งทอ 565 16.2 1,129 12.3 - อัญมณี 518 -75.9 860 -72.9 - ทองคำ 214 -88.5 248 -90.6 - อัญมณีที่ไม่รวมทองคำ 304 6.5 613 15.1

เดือนกุมภาพันธ์ ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในทุกหมวดสินค้า

  • สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรสำคัญ ส่งออกเพิ่มขึ้นทุกรายการ โดยเฉพาะ มันสำปะหลัง น้ำตาล อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ผักและผลไม้ และ ไก่แช่แข็งและแปรรูป ที่ส่งออกเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า ขณะที่ข้าว ยางพารา และ กุ้งแช่แข็งและแปรรูป มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ปริมาณส่งออกลดลง เนื่องจากปัญหาการแข่งขันด้านราคากับคู่แข่ง คือ เวียดนาม มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย
  • สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ ยกเว้นทองคำที่ส่งออก ลดลงร้อยละ 88.5
  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์ เครื่องสำอาง เลนส์ และ เฟอร์นิเจอร์
  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องเดินทางและเครื่องหนัง เครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่ง อาหารสัตว์เลี้ยง นาฬิกาและส่วนประกอบเครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมส์ ผลิตภัณฑ์เภสัช และ ของเล่นรวมทั้งอัญมณีที่หักทองคำออกแล้วส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5
  • ในระยะ 2 เดือนแรกของปี 2553 ส่งออกเพิ่มขึ้นในทุกหมวดสินค้า
  • สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรสำคัญส่งออกเพิ่มขึ้นทุกรายการ เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า โดยเฉพาะ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง น้ำตาล และสินค้าอาหาร ประเภทอาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป กุ้งแช่แข็งและแปรรูป ผักและผลไม้และอาหารอื่นๆ รวมทั้งไก่แช่แข็งและแปรรูปที่ปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 3.4 เนื่องจากราคาลดลงร้อยละ 10.4 จากปัญหาการแข่งขันด้านราคากับจีน
  • สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการ
  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์ เครื่องสำอาง เลนส์ และเฟอร์นิเจอร์
  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ สิ่งทอ อาหารสัตว์เลี้ยง ผลิตภัณฑ์เภสัช และ ของเล่น
  • สินค้าที่ส่งออกลดลงได้แก่ อัญมณี ลดลงร้อยละ 72.9 (เนื่องจากการส่งออกทองคำลดลงถึงร้อยละ 90.6 ขณะที่การส่งออกอัญมณีเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1) และ เครื่องเดินทางและ เครื่องหนัง ลดลงร้อยละ 2.7 เป็นการลดลงของการส่งออกรองเท้าที่ลดลงถึงร้อยละ 13.4 เนื่องจากมีการย้าย ฐานการผลิตรองเท้ากีฬาไปเวียดนาม
ตลาดส่งออกสำคัญ
กพ. % เพิ่ม/ลด มค.-กพ. % เพิ่ม/ลด ตลาดหลัก 6,783 38.8 13,444 33.5 - อาเซียน 5 2,444 73.2 4,861 69.9 - ญี่ปุ่น 1,434 29.1 2,875 22.1 - สหภาพยุโรป 15 1,495 26.5 2,921 17.4 - สหรัฐฯ 1,410 19.3 2,786 17.6 ตลาดใหม่ 7,621 11.9 14,684 21.2 - จีน 1,627 75.7 3,243 84.5 - อินโดจีนและพม่า 940 47.6 1,823 52.6 - ฮ่องกง 767 -15.5 1,585 4.4 - ทวีปออสเตรเลีย 840 -17.1 1,622 -3.4 - ตะวันออกกลาง 774 12.3 1,484 10.4 - แอฟริกา 467 2.5 896 10.6 - อินเดีย 371 90.2 778 114.0
  • เดือนกุมภาพันธ์ ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่
  • ตลาดหลัก ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สี่ และขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 38.8 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกตลาด โดยเฉพาะอาเซียน(5) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 73.2 ขณะที่ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป(15) และ สหรัฐฯ ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูงถึงร้อยละ 29.1 , 26.5 และ 19.3 ตามลำดับ
  • ตลาดใหม่ ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่หก เป็นการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกตลาด
  • ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ จีน อินโดจีนและพม่า อินเดีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ ลาตินอเมริกา และ ยุโรปตะวันออก
  • ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ ตะวันออกกลาง แคนาดาและ แอฟริกา
  • ตลาดที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ออสเตรเลีย และฮ่องกง โดยลดลงร้อยละ 17.1 และ 15.5 ตามลำดับ เป็นผลจากการส่งออกทองคำที่ลดลง โดยออสเตรเลีย ส่งออกทองคำลดลงร้อยละ 95.4 และ ฮ่องกง ส่งออกทองคำลดลงร้อยละ 90.1 ขณะที่การส่งออกสินค้าสำคัญอื่น ๆ ยังขยายตัวเพิ่มขึ้น
  • ในระยะ 2 เดือนแรกของปี 2553
  • ตลาดหลัก ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกตลาดโดยเฉพาะอาเซียน(5) เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 69.9 รองลงได้แก่ ญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 ขณะที่สหรัฐฯ และสหภาพยุโรป(15)เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 และ 17.4 ตามลำดับ
  • ตลาดใหม่ ส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นการเพิ่มขึ้นในทุกตลาด ยกเว้นออสเตรเลียที่ลดลงร้อยละ 3.4
  • ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้นสูงกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ จีน อินโดจีนและพม่า อินเดีย ไต้หวัน เกาหลีใต้ ลาตินอเมริกา และ ยุโรปตะวันออก
  • ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 20 ได้แก่ ฮ่องกง ตะวันออกกลาง แอฟริกา และ แคนาดา
  • ตลาดที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ออสเตรเลีย ลดลงร้อยละ 3.4 เป็นการลดลงของทองคำที่ส่งออกลดลงร้อยละ 96.7

2. เปรียบเทียบอัตราการขยายตัวของการส่งออกของไทยกับประเทศคู่แข่ง ปี 2553

มค.53 กพ.53 ไทย 30.8 23.2 จีน 21.0 45.7 ไต้หวัน 75.8 32.6 เกาหลีใต้ 45.8 30.5 สิงคโปร์ 37.0 19.2 เวียดนาม 34.8 มาเลเซีย 37.0 ฟิลิปปินส์ 42.5

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ