รายงานภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในปี 2553 ของอิตาลี

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 4, 2010 15:51 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมของเศรษฐกิจ

ภาวะเศรษฐกิจของอิตาลีได้เริ่มฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 เป็นต้นมา สาเหตุหนึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลได้อัดฉีดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2552 เป็นวงเงินกว่า 6,300 ล้านยูโร

สำหรับภาวะเศรษฐกิจในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2553 ยังคงทรงตัวโดยมีอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง อัตราการว่างงานเพิ่มสูงขึ้น และตลาดการเงินที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจของกรีซ

แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจในปี 2553 เศรษฐกิจอิตาลีจะฟื้นตัวได้อย่างช้าๆ และค่อนข้างอ่อนแอ ผู้ประกอบการอิตาลียังคงมีความกังวลจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มลดลงซึ่งเป็นผลจากความไม่มั่นใจต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศจากปัญหาการว่างงานและหนี้สาธารณะที่สูงขึ้น และได้ร้องขอให้รัฐบาลรีบเร่งดาเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้มีผลบังคับโดยเร็ว เพื่อให้เศรษฐกิจในปี 53 มีการเจริญเติบโตตามที่คาดหวังและมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและแม้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจกรีซจะไม่มีผลในด้านการค้าต่ออิตาลีมากนัก เนื่องจากอิตาลีส่งออกไปกรีซมีสัดส่วนเพียง 2% และนาเข้าจากกรีซเพียง 0.47 % รวมทั้งระบบการเงินและการธนาคารของอิตาลีที่ค่อนข้างเข้มแข็ง แต่ผู้ประกอบการก็ยังคงมีความกังวลจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มลดลงอันเนื่องมาจากความไม่มั่นใจต่อความมั่นคงด้านเศรษฐกิจนั้นเอง

2. ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

2.1 GDP

อิตาลีมี GDP เฉลี่ยปีละ1,500 พันล้านยูโรโดยในปี 2552 มีมูลค่า 1,520 พันล้านยูโร และรัฐบาลโดยกระทรวงการคลังอิตาลีได้คาดการณ์ว่าในปี 2553 และ 2554 จะมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ+1% และ +1.5% ตามลาดับ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจจะมาจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการจากต่างประเทศ ในขณะที่ความต้องการภายในประเทศจะค่อนข้างนิ่ง และคาดว่าเศรษฐกิจอิตาลีจะไม่สามารถกลับไปอยู่ในระดับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้ภายในปี 2557 สอดคล้องกับรายงานของสมาพันธ์อุตสาหกรรมอิตาลี ( Confindustria ) ที่กล่าวว่าคนอิตาลีจะจนลงโดยในปี 2557 จะมี GPD ต่อหัวน้อยกว่าอัตราเฉลี่ยของประชากรในกลุ่มสหภาพยุโรปถึง 10% ( ปี 52 = 5% ) และได้เรียกร้องให้รัฐบาลดาเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจโดยการลดความเข้มงวดด้านกฎระเบียบและการเก็บภาษีสาหรับบริษัทผู้ประกอบการและคนที่มีเงินเดือนลง

2.2 ดุลการค้า

ณ เดือนมี.ค. 53 อิตาลีมีการนาเข้าสูงขึ้นถึง 22.6% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ( สูงที่สุดนับแต่ ส.ค. 2547 ที่สูงถึง 26.7% ) ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้น 17.1% ( สูงที่สุดนับแต่เม.ย. 2551 ที่สูงถึง 19% ) มีผลทาให้อิตาลีขาดดุลการค้า 1,342 พันล้านยูโร ( เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนที่ได้ดุลการค้า 69 ล้านยูโร ) และทาให้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 อิตาลีต้องขาดดุลการค้าสะสมถึง 7 พันล้านยูโร

กระทรวงการคลังอิตาลีได้คาดการณ์ว่าในปี 2553 อิตาลีจะส่งออกได้เพิ่มขึ้น +2.3% และมีการนาเข้าเพิ่มขึ้น +1.8% ( อิตาลีมีมูลค่าการส่งออกเฉลี่ยปีละกว่า 480,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และนาเข้าเฉลี่ยปีละ 495,000 ล้านเหรียญสหรัฐ )

2.3 หนี้สาธารณะ

ในเดือนมี.ค. 53 อิตาลีมีหนี้สาธารณะ 1,797.653 พันล้านยูโร ( เดือนธ.ค 52 = 1,761.919 พันล้านยูโร, เดือน ม.ค. 53 = 1,787.846 พันล้านยูโร, เดือน ก.พ. 53 = 1,794.798 พันล้านยูโร ) กระทรวงการคลังอิตาลีคาดว่าหนี้สาธารณะของอิตาลีในปี 53 จะเพิ่มสูงขึ้นเป็น 118.4% ของ GPD ซึ่งเป็นผลจากการให้เงินกู้ยืมแก่กรีซราว 18.4% ของวงเงินกู้ทั้งหมด ดังนี้

หน่วย : พันล้านยูโร

                      ปี 53         ภายในปี 2555
          IMF          110              -
          เยอรมัน       8.4            22.4
          ฝรั่งเศส       3.9            16.8
          อิตาลี         5.5            14.8

2.4 การขาดดุลงบประมาณ

กระทรวงการคลังอิตาลีได้คาดการณ์ว่าในปี 2553 อิตาลีจะขาดดุลงบประมาณ 5% ของ GPD ในขณะที่สหภาพยุโรปได้คาดการณ์ว่าอิตาลีจะขาดดุล 5.3% ในปี 2553 และ 5% ในปี 2554

2.5 การว่างงาน

แม้ภาวะเศรษฐกิจอิตาลีจะผ่านพ้นจุดเศรษฐกิจถดถอยไปแล้วแต่ผลกระทบด้านการจ้างงานยังคงมีอยู่โดยคาดว่าในปี 2553 อัตราการว่างงานจะเท่ากับ 11% ของกาลังแรงงาน ( ปี 52 เท่ากับ 7.8% ) โดย สานักงานสถิติแห่งชาติ ISTAT รายงานว่าอัตราการว่างงานในเดือนมี.ค. 53 เพิ่มขึ้นถึง 8.8% ของกาลังแรงงาน สูงที่สุดนับแต่ไตรมาส 2 ของปี 2543

2.6 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม

สถาบันศึกษาวิจัยเศรษฐกิจแห่งอิตาลี ( ISAE )ได้รายงานว่า ในไตรมาสที่ 2 ของปี 53 ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาสแรกของปี 53 โดยในเดือนมี.ค. 53 ผลผลิตภาคอุตสหกรรมเพิ่มขึ้นถึง 8.7% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และนับว่าสูงที่สุดนับแต่ เม.ย. 53 เป็นต้นมา

2.7 ความเชื่อมั่นภาคการผลิต

จากรายงานของ ISAE ความเชื่อมั่นภาคการผลิตในเดือนเม.ย. 53 ได้เพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 7 ซึ่งใกล้เคียงกับจุดสูงสุดเมื่อเดือนมิ.ย.2551 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสาคัญ ในส่วนของคาสั่งซื้อ กลุ่มผู้ผลิตสินค้าทุนและสินค้าอุปโภคบริโภค ภาคการบริการ ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ความเชื่อมั่นภาคการผลิตลดลง ได้แก่ ธุรกิจการค้าปลีก และ การก่อสร้าง

2.8 ภาวะเงินเฟ้อ

ISTAT ได้รายงานว่า ในเดือนเม.ย. 53 อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นถึง 1.5% สูงสุดนับแต่ ก.พ. 52 เป็นการเพิ่มขึ้นในส่วนของภาคการขนส่ง ( +5.5% ) สินค้าและบริการ ( +2.8% ) และภาคการศึกษ (+2.5% ) และกระทรวงการคลังอิตาลีคาดว่าในปี 2553 อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยจะเท่ากับ 1.3%

3. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

3.1 รัฐบาลอิตาลีได้เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสาหรับปี 2553 วงเงิน 370 ล้านยูโร มีผลบังคับตั้งแต่ 15 เมษายน 2553 จนถึงสิ้นปีโดยรัฐบาลอิตาลีหวังว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของปี 53 ให้เจริญเติบโตได้ตามเป้าหมายคือ GDP เท่ากับ 1% มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าว ได้แก่ การให้เงินช่วยเหลือเพื่อจูงใจให้ประชาชนปรับปรุงและพัฒนาบ้านที่อยู่อาศัยให้เป็นสีเขียว การซื้อรถจักรยานยนต์ที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและเครื่องครัว อุปกรณ์เพื่อการประหยัดพลังงานในครัวเรือน อุปกรณ์เกี่ยวกับพลังงานทางเลือก เครื่องยนต์ที่ใช้กับเรือ การปรับปรุงท่าเรือต่างๆ อุตสาหกรรมด้านอากาศยานการให้ Voucher แก่ประชาชนหนุ่มสาวเพื่อเข้าถึงการใช้อินเตอร์เน็ต การให้เงินช่วยเหลือแก่ฟาร์ม ยานพาหนะและเครื่องจักที่ใช้ในการก่อสร้างและการผลิตสินค้าในแต่ละ Collection ของสินค้าแฟชั่น และ สิ่งทอ

3.2 คณะกรรมาธิการแผนงานร่วมระหว่างกระทรวงด้านเศรษฐกิจของอิตาลี ( The Interministerial economic planning committee - CIPE ) ได้เห็นชอบแผนงานการลงทุนมูลค่า 11 พันล้านยูโร สาหรับการสร้างมอเตอร์เวย์ โครงการก่อสร้างถนนต่างๆ การขยายระบบราง และการบริการรถไฟความเร็วสูง ระบบการขนส่งในต่างจังหวัด และระบบความปลอดภัยในโรงเรียน ซึ่งรัฐบาลคาดว่าแผนงานดังกล่าวจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และบรรเทาการว่างงานได้อย่างมีนัยสาคัญ

3.3 รัฐบาลอิตาลีอยู่ระหว่างพิจารณาแผนการสร้างงานระยะ 3 ปี ( ปี 2553 - 2555 ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจ้างงานและการสร้างงานภายใต้กรอบนโยบายการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และป้องกันมิให้เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเช่นเดียวกับกรีซ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SME

4. ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ

อิตาลีเป็นประเทศที่มีระบบการจัดเก็บภาษีค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมด้วยกัน ข้อมูลในปี 2552 ประชากรอิตาลีที่เป็นโสดต้องเสียภาษีรายได้ 46.5% (อัตราภาษีเฉลี่ยของประเทศ OECD = 35% ) ประชากรที่แต่งงานและมีลูก 2 คน จะเสียภาษี 35.7% ( อัตราภาษีเฉลี่ยของประเทศ OECD = 27% ) ในขณะที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวตาที่สุดในกลุ่ม G7 และประเทศที่มีปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ เช่น กรีซ สเปน และไอร์แลนด์ อยู่ในอันดับที่ 23 จาก 30 ประเทศคือ 22,027 ยูโร/ปี (ข้อมูลจาก OECD = 28,454 ยูโร/ปี และสหภาพยุโรป 25,253 ยูโร/ปี )

ในด้านประสิทธิภาพการผลิต อิตาลีอยู่ในอันดับท้ายๆ โดย OECD ได้จัดให้อยู่ในลาดับที่ 29 จาก 30 ประเทศกลุ่ม OECD ทั้งในด้าน GDP ต่อหัว และประสิทธิภาพการผลิตต่อหัว

OECD ได้ให้ข้อแนะนาในการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต และการทาให้การจัดตั้งธุรกิจทาได้ง่ายขึ้น คือ อิตาลีต้องผ่อนคลายความเข้มงวดของกฎระเบียบต่างๆและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันโดยการลดต้นทุนที่ถูกกาหนดโดยกฎหมายโดยเฉพาะค่าไฟฟ้า แก๊ซ การขายปลีกและการบริการ ให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีในการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาให้มากขึ้น เพิ่มการปฏิรูปในสาขาที่สาคัญของประเทศ เช่น ด้านพลังงาน การบริการทั้งในระดับนานาชาติ และระดับท้องถิ่น การลดภาษีสาหรับผู้มีรายได้น้อย และผู้รับบานาญ , เพิ่มการให้ลดหย่อนภาษี tax corporate , การจัดการปัญหาการหลบเลี่ยงภาษีอย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยให้สามารถลดต้นทุนในการดาเนินธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจ SME ได้ปีละ 4,050 ล้านยูโร

ทั้งนี้ OECD เห็นว่าอิตาลีมีความก้าวหน้าในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจโดยการลดต้นทุนด้านกฎระเบียบต่างๆ เปิดเสรีตลาดสินค้า และปฏิรูประบบบริหารราชการได้อย่างมีนัยสาคัญ แต่ยังคงมีความจาเป็นที่จะต้องปฏิรูปต่อ ซึ่งจะทาให้ประสิทธิภาพการผลิตของอิตาลีเพิ่มขึ้นได้ถึง 14% ใน 10 ปีข้างหน้า

5. การขยายความร่วมมือกับประเทศคู่ค้า

5.1 เมื่อวันที่14 พ.ค. 53 นายกรัฐมนตรีเบอร์ลุสโคนีและนายกรัฐมนตรีปูตินแห่งรัสเซียได้เปิดเผยถึงความร่วมมือเพื่อผลักดันเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศให้สามารถกลับไปสู่ระดับก่อนหน้าการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจทาให้การส่งออกของอิตาลีไปรัสเซียลดลงถึง 30% ในขณะที่การส่งออกของรัสเซียไปอิตาลีลดลง 38% โดยเน้นภาคอุตสาหกรรมสาคัญ ได้แก่ พลังงาน ยานยนต์ การบินและอวกาศ เคมีภัณฑ์

5.2 ผลการประชุม Italy - Egypt Bilateral Summit ครั้งที่ 3 เมื่อ 19 พ.ค. 53 ระหว่างนายเบอร์ลุสโคนีและนายมูบารัค สรุปได้ว่าทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมมือกันทางการเมืองทั้งในระดับโลก กลุ่มสหภาพยุโรป และภูมิภาค และความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าการค้าเกือบ 5 พันล้านยูโร / จานวนผู้ประกอบการอิตาลีกว่า 600 บริษัท โดยเน้นความสาคัญด้านสายการเดินเรือระหว่างอเล็กซานเดรีย - เวนิซ ทั้งการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ "Green Corridor" ที่จะเป็นประตูในการนาสินค้าเกษตรจากอิยิปต์เข้าสู่ตลาดยุโรป

นอกจากนี้ ยังมีความร่วมมือในด้านต่างๆระดับภูมิภาค ได้แก่ การพัฒนาเอธิโอเปีย และซูดานตอนใต้ ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ในด้านการเกษตร การจัดตั้งมหาวิทยาลัยของอิตาลีในกรุงไคโร การส่งเสริมการสอนภาษาอิตาเลียน การพัฒนาเจ้าหน้าที่ภาครัฐของอียิปต์ให้ทันสมัย การจ้างแรงงานต่างชาติแบบฤดูกาล ความร่วมมือในด้านสิ่งแวดล้อม และการป้องกันการถ่ายทอดโรคทาลาสซีเมีย เป็นต้น

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ