ภาวะการค้าของชิลี และตลาดในพื้นที่ดูแลของ สคร. ณ กรุงซานติอาโก ระหว่าง 16-31 พ.ค. 53

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 14, 2010 14:42 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเทศ:

ชิลี และเขตพื้นที่ดูแลของ สคต. ณ กรุงซานติอาโก ได้แก่ เปรู โคลัมเบีย และเอกวาดอร์

ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและภาวะการค้าระหว่างวันที่ 16-31 พ.ค.53
1. ภาวะการค้ากับประเทศไทย

1.1 ในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน 2553 การส่งออกจากไทยไปตลาดชิลี โคลัมเบีย เอกวาดอร์ และเปรู โดยรวมมีมูลค่า 411.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 67.18 ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มที่สูงกว่าสภาวะการณ์การส่งออกของไทยไปกลุ่มประเทศดังกล่าวในเดือนมกราคม-มีนาคม 2553 ซึ่งมีมูลค่า 319.49 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 58.38

1.2 ตลาดที่สถานะการณ์การส่งออกของไทยในช่วงมกราคม-เมษายน 2553 มีอัตราเพิ่มที่สูงขึ้นกว่าอัตราเพิ่มในช่วงมกราคม- มีนาคม 2553ได้แก่

  • ชิลี มูลค่าการส่งออก 150.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 322.19 (มกราคม - มีนาคม 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 299.92) สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นมากคือ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,672.83 เครื่องซักผ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 83.92 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.81 ปูนซีเมนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.07 ผลิตภัณฑ์พลาสติกร้อยละ 108.02 เครื่องรับวิทยุและส่วนประกอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 991.90 สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องจักรกล ลดลงร้อยละ —9.05 ผลไม้กระป๋องและแปรรูปลดลงร้อยละ —19.98 เสื้อผ้าสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ -26.81 เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ลดลงร้อยละ —71.66 เม็ดพลาสติกลดลงร้อยละ —75.19
  • เปรู มูลค่าการส่งออก 81.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 165.32 (เดือนมกราคม — มีนาคม 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 149.72) สินค้าที่ไทยส่งออกเพิ่มขึ้นมากได้แก่ รถยนต์ เพิ่มร้อยละ 312 เครื่องซักผ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 43 ตู้เย็น เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 ผลิตภัณฑ์ยางร้อยละ 72 เม็ดพลาสติกร้อยละ 63 สินค้าที่ส่งออกได้ลดลง ได้แก่ หลอดไฟฟ้า ลดลงร้อยละ -5.81
  • เอกวาดอร์ มูลค่าการส่งออก 84.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 6.79 (มกราคม —มีนาคม 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.25) สินค้าที่ไทยส่งออกไปตลาดนี้เพิ่มขึ้น ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.68 เครื่องยนต์สันดาปภายในเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วนร้อยละ 32ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 74 สินค้าที่ส่งออกได้ลดลง ได้แก่ เครื่องจักรกลลดลงร้อยละ —24 ผลิตภัณฑ์ยางลดลงร้อยละ —10 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ลดลงร้อยละ —7 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆลดลงร้อยละ —10

1.3 ตลาดที่สภาวะการณ์การส่งออกของไทยในช่วงมกราคม-เมษายน 2553 มีอัตราเพิ่มขึ้นที่ต่ำกว่าอัตราเพิ่มในช่วงมกราคม-มีนาคม 2553 ได้แก่

  • โคลัมเบีย มูลค่าการส่งออก 95.1 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 28.34 (มกราคม-มีนาคม 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.26) สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้นมากคือ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 เครื่องซักผ้า ร้อยละ 3 ผลิตภัณฑ์ยางร้อยละ 41 เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบเพิ่มขึ้นร้อยละ 170 สินค้าที่ไทยส่งออกไปตลาดนี้ได้ลดลง ได้แก่ เครื่องจักรกลลดลงร้อยละ -32 ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ร้อยละ -37 รถจักรยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ —65 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ ลดลงร้อยละ -49
2. ประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

2.1 ภาวะการนำเข้าจากประเทศไทยในช่วงระยะเวลา 4 เดือนแรกของปีนี้ เปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลา 3 เดือนแรกของปีนี้ โดยรวม 4 ตลาด มีอัตราเพิ่มจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่สูงขึ้น โดยมีสินค้ารถยนต์ อุปกรณ์ และชิ้นส่วน เป็นตัวแปรที่สำคัญ ทั้งนี้ ภาวะการนำเข้ารถยนต์โดยเฉพาะรถกระบะจากไทยสูงขึ้นมาก และตลาดชิลีเริ่มมีการนำเข้ารถยนต์นั่งบุคคลจากไทย (ฮอนด้า) ซึ่งเดิมยังไม่มีการนำเข้ามากนัก โดยคาดว่าจะยังคงนำเข้าในอัตราที่สูงอยู่อีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทำให้ภาวะการนำเข้าจากไทยโดยรวมเพิ่มขึ้น (เริ่มมีการ order สินค้ารถยนต์กระบะจากไทยในปลายส.ค. 52 เมื่อสต๊อคเริ่มงวดลงมาก ผลิตเสร็จและเริ่มส่งออกสินค้า shipment ใหม่ไปตลาดในช่วง ธ.ค. 52 ถึงต้นปี 2553 และยังส่งออกมาอย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน) ในส่วนของสินค้าชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ สคร. ได้มีโอกาสสอบถามความเห็นของผู้นำเข้าชิลีและผู้ส่งออกไทยบางราย เห็นว่าตลาดในปีนี้จะยังคงดีต่อไป

2.2 สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีผลในเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของชิลีและมีผลกระทบต่อการการนำเข้าสินค้าจากไทยได้แก่

2.1.1 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2553 มียอดขายรถยนต์ในตลาดชิลี 77,573 คัน สูงขึ้นจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าในเชิงปริมาณรถยนต์ร้อยละ 88.52 เฉพาะในเดือนเมษายน 2553 มียอดขายรถยนต์ 22,773 คัน ในช่วง 4 เดือนแรกดังกล่าว รถยนต์ที่ขายดีที่สุดคือ เชฟโรเลท มียอดขาย 12,968 คัน รองลงมาคือฮุนได มียอดขาย 10,205 คัน

2.1.2 นาย Tomas Flores รมช. กระทรวงเศรษฐกิจชิลีแถลงว่า เศรษฐกิจของชิลีฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจชะงักงันในปีที่แล้วอย่างต่อเนื่อง และมีทิศทางที่จะเข้มแข็งขึ้น โดยอาจมีความเสี่ยงเล็กน้อยจากการที่ผลิตภาพในการผลิตของประเทศจะไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ในประเทศ อันจะนำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อ

2.1.3 นาย Pamela Cox ผู้ช่วยประธานธนาคารโลกสำหรับภูมิภาคลาตินอเมริกา เห็นว่า เศรษฐกิจของลาตินอเมริกาหลายประเทศเริ่มถึงจุดที่ร้อนแรงเกินไป โดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่ในในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเป็นตัวสร้างปัญหา

2.1.4 แม้ชิลีจะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและซึนามิ แต่ GDP ของชิลี ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2553 สูงขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 1 ในขณะที่รัฐบาลปัจจุบันตั้งเป้าหมายที่จะให้ GDP เติบโตถึงร้อยละ 6 ต่อปีในช่วง 4 ปีข้างหน้า ในขณะที่คาดการณ์ว่าในปีนี้ GDP จะเติบโตได้ร้อยละ 4-5

2.1.5 ในช่วงไตมาสแรกของปี 2553 อัตราเงินเฟ้อขิงชิลีอยู่ที่ร้อยละ 1.4

2.1.6 นับตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมา ค่าของเงินเปโซชิลีอ่อนค่าลงจากเงินเหรียญสหรัฐร้อยละ 7 ตามค่าของเงินยูโร เนื่องจากการส่งออกของประเทศเป็นจำนวนมากเป็นการส่งออกไปยังตลาดยุโรป

2.1.7 รัฐมนตรีกระทรวงการคลังชิลีเปิดเผยว่า อุบัติภัยแผ่นดินไหวทำให้อุตสาหกรรมประมงของชิลีหดตัวลงร้อยละ 26.9 ในขณะที่ผลผลิตทางอุตสาหกรรมตกลงร้อยละ 6.4 แต่ผลในเชิงลบดังกล่าวได้รับการบรรเทาลงจากการที่เศรษฐกิจมีอุปสงค์ในวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น และยอดขายในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นที่คาดว่าเศรษฐกิจชิลีจะปรับตัวสูงขึ้นอีกในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน 2553 และจะดีขึ้นกว่าเดิมมากในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2553

2.1.8 ธนาคาร Banco Penta พยากรณ์ว่าเศรษฐกิจชิลีจะขยายตัวร้อยละ 4 ในช่วงไตรมาสที่ 2 และร้อยละ 6 ในช่วงไตรมาสที่สามของปีนี้

2.1.9 ธนาคารกลางพยากรณ์ว่าเศรษฐกิจชิลีโดยรวมตลอดทั้งปีจะขยายตัวประมาณร้อยละ 4.25-5.25

2.1.10 ในเดือนพฤษภาคม 2553 ชิลีได้เป็นประเทศแรกในภูมิภาคอเมริกาใต้ที่เข้าเป็นสมาชิก OECD

2.1.11 ในช่วงปลายเดือนนี้ ชิลีได้ลงนามในความตกลง FTA กับมาเลเซีย ถือเป็นประเทศที่ 59 ที่ทำ FTA กับชิลี และเป็น FTA ฉบับแรกที่มาเลเซียทำกับประเทศลาตินอเมริกา

กิจกรรมที่ดำเนินการระหว่างวันที่ 16-31 พ.ค. 53

สคต. ณ กรุงซานติอาโก ดำเนินการ

1. ส่ง Mobile Unit (ผอ.สคร.) เดินทางไปบรรยายเสริมสร้างความตระหนักในความสำคัญของการทำธุรกิจกับประเทศไทย เชิญชวนเข้าร่วมกิจกรรมของสคร. และเผยแพร่ข้อมูลผู้ส่งออกไทย ที่เมืองปุนตา อาเรนัส แห่งภูมิภาค Magallanes ทางภาคใต้ของชิลี ร่วมกับกิจกรรม Road Show ประเทศไทยของ สอท. ณ กรุงซันติอาโก (สอท. เผยแพร่ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ อาทิ ความคืบหน้าการพิจารณากรอบเจรจาจัดทำ FTA ไทย-ชิลี ด้านการเมือง วัฒนธรรม การท่องเที่ยว และสาธิตการประกอบอาหารไทยแก่พ่อครัวร้านอาหาร) ณ หอประชุมมหาวิทยาลัย Universidad de Magallanes เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2553 มีนักธุรกิจ นักวิชาการเข้าร่วมรับฟังและร่วมกิจกรรมประมาณ 60 คน นอกจากนี้ ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 สคร. ยังได้มีโอกาสไปเยี่ยมคารวะนาย Vladimia Mimica Carcamo นายกเทศมนตรีเมืองปุนตา อาเรนัส และเยี่ยมคารวะ Dr. Victor Fajardo Morales อธิการบดี Universidad de Magallanes นาย Jose Maripani รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร นาย Juan Oyarzo Perez รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ โดยแลกเปลี่ยนข้อมูลทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างกัน

2. ประสานงานหอการค้าแห่งกรุงลิมา ประเทศเปรู ขอทราบรายละเอียดผู้นำเข้าถุงยางอนามัย เพื่อใช้ในการจับคู่เจรจาธุรกิจให้ผู้ส่งออกไทยที่เดินทางไปเจาะตลาดชิลีและเปรู

3. จัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจและให้การบริการด้านต่างๆให้แก่ผู้ส่งออกถุงยางอนามัยจากไทยราย คุณไพริน ชินทรเดชา Marketing Manager บริษัท Thai Nippon Rubber Co., Ltd. ที่เดินทางไปเจาะตลาดประเทศชิลีและเปรูระหว่างวันที่ 5-11 พฤษภาคม 2553 โดยสำนักงานฯ ติดต่อผู้นำเข้าชิลีให้ 4 ราย และผู้นำเข้าเปรู 2 ราย และพาสำรวจตลาดเยี่ยมชมกิจการของผู้ค้าปลีกในชิลี 2 ราย ผลการเจรจาธุรกิจเฉพาะที่ในชิลี ผู้นำเข้าชิลีรายบริษัท MEDCELL สนใจจะสั่งซื้อถุงยางอนามัยจากบริษัทไทยปีละ 4 ตู้คอนเทนเนอร์ (ตู้ขนาด 20 ฟุต)

4. ประสานงานนิคมศูนย์กระจายสินค้า Certicos Paita ในเปรู เพื่อหาข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดตั้ง Distribution Center ที่นิคม Certicos Paita ในประเทศเปรู ให้ จร.

5. ทำข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดตั้ง Distribution Center ที่นิคม Certicos Paita ในประเทศเปรู (ทำให้ จร.ประกอบการหารือทวิภาคีระหว่างเปรู-ไทย ในการประชุมเอเปค)

6. เดินทางไปกับ ออท. ณ กรุงซันติอาโก ไปพบปะ Dr. Tomas Buvinic S. ประธานหอการค้าเขต Punta Arenas Free Trade Zone แห่งภูมิภาค Magallanes ทางภาคใต้ของชิลี เพื่อให้ข้อมูลการจัดงานแสดงสินค้าในประเทศไทยและบริการส่งเสริมการค้าของ สคร. โดย สคร. ได้รับรายชื่อนักธุรกิจชิลีที่เป็นสมาชิกของหอการค้าฯ ที่สนใจทำธุรกิจกับไทย 43 ราย

7. เดินทางไปกับ ออท. ณ กรุงซันติอาโก ไปพบปะนาย Sergio Borquez รองผู้จัดการฝ่ายการค้า สมาคมผู้บริหาร ZonAustral Zona Franca เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการค้า รายชื่อผู้นำเข้าชิลีและผู้ส่งออกไทย การแก้ไขปัญหาทางการค้า และเผยแพร่การให้บริการข้อมูลของกรมฯ ทางเวปไซด์

8. ให้การต้อนรับผู้ส่งออกอุปกรณ์ยานยนต์(ผลิตภัณฑ์ Carryboy)จากไทย รายนายสุรัช กิมโสม Regional Export Executive, South America and North Africa บริษัท T.R.K. Bangkok Industry & Exporter Co., Ltd. ในการเดินทางไปเยี่ยมพบปะลูกค้าที่ชิลี โดย สคร. ได้จัดหารือกับผู้นำเข้าชิลี รายบริษัท E. Kovacs และผู้ส่งออกไทยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการตลาดกับทางบริษัทฯ

9. ประสานงานผู้นำเข้า 3 ราย เรื่องการจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนงานแสดงสินค้า Thaifex 2010

10. ประสานงานผู้นำเข้า 2 ราย เพื่อสอบถามผลการซื้อขายสินค้าและปัญหาอุปสรรคในการเยือนงาน TAPA 2010

11. ประสานงานผู้นำเข้า 1 ราย เรื่องการจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนงานแสดงสินค้า BIF & BIL 2011

12. ทำประวัติรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศชิลี (ส่งให้ จร.)

13. ทำประวัติ Vice Minister ของกระทรวงการต่างประเทศชิลี และความเห็นประเด็นตำแหน่งของหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายชิลีในการประชุมรัฐมนตรีเอเปคที่นครซับโปโร ประเทศญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน 2556 (ส่งให้ จร.)

14. ให้บริการนักธุรกิจไทย 7 ราย นักธุรกิจชิลี 7 ราย ในการให้บริการตอบข้อสอบถามทางการค้าเพื่อเจรจาซื้อขายสินค้ากัน

หมายเหตุ
ในช่วง 1 — 15 พฤษภาคม 2553 สคร. ณ กรุงซานติอาโก ดำเนินการ

1. เข้าร่วมออก Information Stand ในกิจกรรม "Los Principales Paises y Economias de Asia Pacifico en Chile" (แปลว่า "The Principal Countries and Economics of Asia Pacific in Chile") ตามคำเชิญของหอการค้า Asia Pacific Chamber of Commerce ของชิลีที่ห้องบอลรูมโรงแรม Sheraton ที่กรุงซานติอาโก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2553 (ได้รับการจัดสรรพื้นที่แสดงและอุปกรณ์เคาท์เตอร์ เก้าอี้ ฯ จากหอการค้าฯ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 556 ราย เป็นตัวแทนประเทศต่างๆที่เข้าร่วมจัด Information Stand ในงาน 16 ประเทศ ได้แก่ ไทย ออสเตรเลีย จีน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปากีสถาน รัสเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน และเวียดนาม มีนักธุกิจที่สนใจทำธุรกิจกับประเทศสมาชิกเอเปค 534 ราย เป็นผู้นำเข้าประมาณ 150 คน ผู้ส่งออกประมาณ 78 คน ธุรกิจบริการประมาณ 139 คน ผู้ผลิตประมาณ 72 ราย ผู้จัดจำหน่ายประมาณ 56 ราย ผู้ค้าปลีกประมาณ 11 ราย สมาคมและองค์กรสาธารณะประมาณ 28 ราย

2. เข้าร่วมพิธีเปิดงานและเยี่ยมชมพบปะบุคคลในงาน "XIV Enterpreneurs Summit" จัดโดยหอการค้า Regional Chamber of Commerce of Valparaiso ที่ห้อง Convention Center โรงแรม Hotel del Mar ที่นครบิญา เดล มาร์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2553 ตามคำเชิญของหอการค้าฯ (ปี 2552 สคร. เข้าร่วมจัด Information Stand ในการงานดังกล่าวด้วย (ได้รับเอื้อเฟื้อพื้นที่จากบริษัท E. Kovacs ผู้นำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์รายใหญ่ในชิลีที่นำเข้าสินค้าจากไทยให้เข้าร่วมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) แต่ปีนี้มิได้จัด Information Stand เนื่องจากไม่ได้รับเอื้อเฟื้อพื้นที่และกรมฯ ไม่มีนโยบายจัด Information Stand ในงานขนาดไม่ใหญ่) โดย สคร. มีโอกาสพบปะแนะนำตัวต่อนักธุรกิจที่มาในงานประมาณ 10 ราย และทางหอการค้า Regional Chamber of Commerce of Valparaiso ได้เสนอขอให้ สคร. จัดให้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง หอการค้า Regional Chamber of Commerce of Valparaiso กับหอการค้าไทย

3. รายงานข้อมูลตลาดรถยนต์นั่งบุคคล (HS 8703) และรถยนต์บรรทุก (HS 8704) ในชิลี สำหรับผู้แทนการค้าไทย (นายวัชระ พรรณเชษฐ์) ใช้ในราชการ

4. แจ้งข้อมูลผู้ส่งออกที่ประกอบกิจการในลาตินอมริกา

5. ประสานงานผู้นำเข้า 1 ราย เรื่องการจัดคณะผู้แทนการค้ามาเยือนงานแสดงสินค้า BKK Gems & Jewelry Fair, September 2010 )

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ