การจัดตั้งธุรกิจในอิตาลีในปี 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 30, 2010 15:13 —กรมส่งเสริมการส่งออก

อิตาลีเป็นประเทศที่มีโครงสร้างการผลิตที่มีความเป็นเอกลักษณ์และโดดเด่นคือมีโครงสร้างการผลิตแบ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม (Industrial Cluster) โดยในเขตการผลิตสินค้าประเภทหนึ่งจะประกอบไปด้วยบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็กจานวนมากอยู่รวมกัน โดยแต่ละรายจะมีความเชี่ยวชาญในการผลิตด้านใดด้านหนึ่งและร่วมกันผลิตก่อนเสร็จเป็นสินค้าสาเร็จรูป จึงเป็นการจัดสรรการผลิตที่แบ่งกันทางานตามความถนัดและเชี่ยวชาญที่ได้รับจากการสืบต่อและถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ ส่วนใหญ่เป็นการใช้สมาชิกในครอบครัว จึงมีความยืดหยุ่นปรับตัวเข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงได้ดี และมีการพัฒนาด้านความคิดสร้างสรร และเนื่องจากมีขนาดเล็กทาให้สามารถตัดสินใจได้ทันที จึงถือได้ว่าอิตาลีเป็นโมเดลที่ดีในด้านอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

1. รูปแบบการจัดตั้งธุรกิจ

1.1 กิจการเจ้าของคนเดียว (L’impresa individuale)

ลักษณะของกิจการคือ กิจการที่ดาเนินงานโดยบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว ซึ่งบริหารและรับผิดชอบภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นทั้งหมด เหมาะกับรูปแบบธุรกิจที่ไม่ซับซ้อน มีการบริหารไม่ยุ่งยาก

1.2 ห้างหุ้นส่วน (Societa di persone) มี 3 ประเภท

(1) ห้างหุ้นส่วนสามัญ (Societa Semplice : S.s.)

ลักษณะของกิจการคือ เป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มบุคคล ซึ่งจะร่วมกันบริหารและเป็นผู้ดาเนินการร่วมกันรับผิดชอบทั้งสินทรัพย์ และหนี้สินที่เกิดขึ้นร่วมกันไม่จากัดจานวน ซึ่งเหมาะสาหรับกิจการเกี่ยวกับสินค้าเกษตร และผู้เป็นหุ้นส่วนสามารถลงทุนร่วมกันได้ทั้งที่เป็นตัวเงินและที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น ที่ดิน อาคาร

(2) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (Societa in nome colletivo : S.n.c.)

ลักษณะของกิจการคือ เป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มบุคคล เพื่อการค้าที่แสวงหาผลกาไรหรือไม่ก็ได้ โดยไม่จากัดเงินลงทุนขั้นต่า ซึ่งจะร่วมกันบริหารและเป็นผู้ดาเนินการร่วมกันและรับผิดชอบหนี้ทั้งหมดโดยไม่จากัดจานวน

(3) ห้างหุ้นส่วนจากัด (Societa in accomandita semplice : S.a.s.)

ลักษณะของกิจการคือ เป็นกิจการที่จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มบุคคล เพื่อการค้าที่แสวงหาผลกาไร ซึ่งจะมีหุ้นส่วนแบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ

  • หุ้นส่วนที่ไม่จากัดความรับผิดชอบ หมายถึง หุ้นส่วนซึ่งจะถือเป็นผู้บริหารที่รับผิดชอบการบริหารจัดการของห้างหุ้นส่วน และจะต้องรับผิดชอบหนี้สินทั้งหมดโดยไม่จากัดจานวน
  • หุ้นส่วนจากัดความรับผิดชอบ หมายถึง หุ้นส่วนที่มิได้รับผิดชอบการบริหารงานของห้างหุ้นส่วน โดยจะรับผิดชอบหนี้สินที่เกิดขึ้นไม่เกินจานวนเงินที่ตนลงทุน

1.3. บริษัทร่วมหุ้น (Societa per azioni : S.p.a.) บริษัทร่วมหุ้นมีลักษณะสาคัญ คือกิจการที่มีการลงทุนสูง มีการระดมทุนโดยการแบ่งทุนเป็นหุ้น มีมูลค่าเท่า ๆ กัน โดยให้ผลตอบแทนเป็นเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบหนี้จากัดจานวน ในการก่อตั้งบริษัทจะต้องทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ทั้งนี้จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ ซึ่งส่วนใหญ่เหมาะกับกิจการธนาคาร, บริษัทเงินกู้หรือกองทุนรวม, บริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ ในการจัดตั้งบริษัทประเภทนี้จะต้องมีเงินทุนรวมขั้นต่า minimum capital 120,000.00 ยูโร check ลักษณะสาคัญของ SpA มีดังนี้

  • เงินลงทุนจดทะเบียนบริษัทขั้นต่า 120,000.00 ยูโร
  • เงินลงทุนของบริษัทถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ เงินหรือทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูง และเงินลงทุนที่มาจากการขายหุ้นทุน
  • ผู้ถือหุ้นต้องถูกเปิดเผย และเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณะ
  • ผู้ถือหุ้นอาจถือหุ้นในระยะเวลาสั้น ๆ ได้
  • กรณีที่ต้องเพิ่มทุนของผู้ถือหุ้นรายใหม่ ต้องโอนเงินเข้าบัญชีของบริษัทร้อยละ 25 ของเงินลงทุนนั้น
  • สามารถตั้งข้อกาหนดหรือระเบียบบริษัทได้
  • บังคับให้มีคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบภายใน

1.4. A partnerships limited by shares (Societa in accomandita per azioni : S.a.p.a.) ลักษณะของกิจการเหมือนกับ SpA ทุกอย่าง แตกต่างกันที่ประเภทของผู้ถือหุ้นมี 2 ประเภทดังนี้

  • ผู้ถือหุ้นไม่จากัดความรับผิดชอบคือ กลุ่มผู้จัดการ รับผิดชอบภาระหนี้สินไม่จากัดจานวน
  • ผู้ถือหุ้นจากัดความรับผิดชอบ รับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้นไม่เกินจานวนที่ตนลงทุนและไม่มีอานาจการจัดการภายในบริษัท

1.5. บริษัทเอกชนจากัด (Societa a responsabilita limitata : S.r.l.)

ลักษณะของกิจการเป็นแบบไม่ซับซ้อน เงินทุนรวมขั้นต่า 10,000.00 ยูโร ผู้ถือหุ้นรับผิดชอบหนี้ที่เกิดขึ้นไม่จากัดวงเงินที่ตนลงทุนตามจานวนหุ้นที่ถืออยู่เท่านั้น ผู้ถือหุ้นสามารถเข้าบริหารจัดการด้วยตนเองได้เลย หรือจ้างผู้บริหารจากภายนอกมาบริหารก็ได้ เป็นประเภทองค์กรที่เหมาะกับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ในการจัดตั้งบริษัท

ลักษณะสาคัญของ SpA มีดังนี้

  • เงินลงทุนจดทะเบียนบริษัทขั้นต่า 10,000.00 ยูโร แต่ถ้าเงินลงทุนสูงกว่า 120,000.00 ยูโร ต้องตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายใน
  • เงินลงทุนของผู้ถือหุ้นจะถูกแบ่งในรูปของเงินทุนเพื่อการค้า และหุ้นทุน ซึ่งมีสิทธิในการบริหารจัดการได้
  • ผู้ถือหุ้นต้องถูกเปิดเผย และเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณะ
  • ผู้ถือหุ้นอาจถือหุ้นในระยะเวลาสั้น ๆ ได้
  • กรณีที่ต้องเพิ่มทุน ต้องโอนเงินเข้าบัญชีของบริษัทร้อยละ 25 ของเงินลงทุนนั้น
  • สามารถเปลี่ยนผู้ถือหุ้นได้ แต่ต้องทาภายใต้การดูแลของบริษัทที่ปรึกษากฏหมาย
2. สิ่งที่ต้องทาในการจัดตั้งธุรกิจ
  • ยื่นขอเลขทะเบียนผู้เสียภาษี
  • ยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งกิจการที่แผนก Registro delle Imprese ของสานักงานส่งเสริมการค้า ( camera commercio) ของอาเภอหรือจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
  • ยื่นแสดงเอกสารการจ้างงานต่อสานักงานสวัสดิการประกันสังคมแห่งชาติ (INPS) และสานักงานประกันอุบัติภัยในที่ทางาน (INAIL)
  • ยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการ หรือใบอนุญาตดาเนินธุรกิจ, สานักงานสาธารณสุข ซึ่งอยู่กับประเภทของธุรกิจ
  • การจัดทาบัญชีเกี่ยวกับรายรับ-รายจ่าย และงบดุล ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
  • การจัดทาบัญชีผู้ประกอบธุรกิจทุกประเภทต้องจัดทาบัญชีตามเงื่อนไขกฎหมายและเก็บรักษาบัญชีไม่ต่ากว่า 10 ปี ทั้งนี้การตรวจสอบบัญชีและการรับรองงบดุล (Audit Requirement) จะกระทาในเงื่อนไขต่อไปนี้

1. เป็นธุรกิจร่วมหุ้น (S.p.A.)

2. เป็นธุรกิจเอกชนจากัด ซึ่งมีเงินลงทุนรวมไม่ต่ากว่า 120,000.00 ยูโร

3. ธุรกิจที่มีทรัพย์สินเป็นจานวนเงิน 3,125,000.00 ยูโร

4. ธุรกิจที่มียอดขายเป็นจานวนเงิน 6,250,000 ยูโร

3. ข้อกาหนด/เงื่อนไขสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติในอิตาลี

โดยส่วนใหญ่ไม่มีข้อจากัดในเรื่องของสัดส่วนในการถือหุ้นของชาวต่างชาติ ยกเว้นในธุรกิจที่เป็นยุทธศาสตร์และเกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ ได้แก่ กิจการไปรษณีย์ ด้านความมั่นคงและอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธศาสตร์ของอิตาลี เช่น เทเลคอมมิวนิเคชั่น และสายการบินในประเทศ เป็นต้น ซึ่งกาหนดให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 25 อย่างไรก็ดี ชาวต่างชาติที่จะสามารถลงทุนธุรกิจ หรือร่วมทุนธุรกิจกับนักธุรกิจชาวอิตาลีได้ ต้องเป็นประเทศที่มีการตกลงแบบต่างตอบแทน (Reciprocity Agreement) กับรัฐบาลอิตาลีแล้วเท่านั้น

ในส่วนของไทยยังไม่มีการทาข้อตกลง กับอิตาลีในสาขาต่อไปนี้ คือ ยาและผลิตภัณฑ์ยา (Drugs&phamaceutical), สื่อสิ่งพิมพ์ (print media), เอเยนต์ท่องเที่ยว (Tourism agency), โรงแรม (ยกเว้นการบริการโรงแรม), การขนส่ง, การค้าภายในประเทศที่เกี่ยวกับสินค้าเกษตร ของเก่า (antique) /งานศิลปะ(Art objects) และอสังหาริมทรัพย์ (ยกเว้นกรณีบริษัทไทยต้องการเปิดสานักงานในอิตาลีสามารถลงทุนได้ โดยต้องมีพื้นที่ของห้องชุด/ร้านไม่เกินร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด)

เงื่อนไขสัดส่วนการถือหุ้นสูงสุดของต่างประเทศในแต่ละประเภทธุรกิจ
Bank  Broadcast  Telecom     Print      Drugs&     Insurance   Real     Hotel   Tourism   Trans     Retail   Wholesale
                munication   Media  Phamaceutical              Estate                     portation
100*2  100*2     100*3       100*4      100*4          5*5     100*4    100*4    100*4     100*4     100*4     100*4

หมายเหตุ : (*)

1. กรณีเกิน 5 % ต้องได้รับการ Authorized จาก Bank of Italy ก่อน

2. ต้องผ่านการรับรองและกากับดูแลโดยหน่วยงาน Authority for Communication Guarantee (AGCOM)

3. กรณีเป็นกิจการที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยของประเทศให้ถือได้ไม่เกิน 25%

4. ชาวต่างชาติที่จะสามารถถือหุ้นได้ต้องเป็นประเทศที่มีการทา Reciprocity Agreement กับอิตาลีแล้ว ไทยยังไม่มีการทาข้อตกลงเช่นนี้กับอิตาลี

5. กรณีเกิน 5% ต้องได้รับการ Authorized จาก Vigilance Insurance Institute (ISVAP) ก่อน

4. ขั้นตอนการจัดตั้งธุรกิจ

4.1 สาหรับบุคคลทั่วไป

ผู้ประกอบการชาวอิตาเลียนหรือชาวต่างชาติที่มีใบอนุญาตอยู่ในอิตาลี (Permesso di soggiorno/Permit of Stay) สามารถขอจดทะเบียนการค้าได้ที่หอการค้าประจาเมืองที่สถานที่ประกอบการตั้งอยู่ ปัจจุบันหอการค้าทุกแห่งในอิตาลีมีเว็ปไซต์ให้ค้นหาข้อมูลที่มีความละเอียดและชัดเจน และยังสามารถพิมพ์แบบพิมพ์ได้เลย รวมถึงการตอบข้อสงสัยทาง E-mail โดยไม่จาเป็นต้องเดินทางไปติดต่อเอง ทาให้สะดวก รวดเร็วขึ้นมาก เป็นการลดจานวนผู้มาใช้บริการและภาระของหอการค้าที่ต้องให้บริการด้านการให้คาปรึกษาพื้นฐานทั่วไป และผู้ประกอบการเองไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปติดต่อขอข้อมูลเอง ที่มักเสียเวลารอนาน หรือแม้แต่การยื่นเอกสารก็ส่งทาง E-mail ได้ แต่ต้องไปยื่นคาร้องขออนุญาตใช้การลงนามเอกสารทาง E-mail ต่อหอการค้าเสียก่อน

อย่างไรก็ตาม ควรไปปรึกษาเจ้าหน้าที่หอการค้าในครั้งแรก เพื่อตรวจสอบความเข้าใจในข้อมูลที่มี ซักถามข้อสงสัยและรายละเอียดปลีกย่อยที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ต้องการเปิด จะได้เตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและปฏิบัติตามขั้นตอนได้ถูกต้อง

อย่างไรก็ตาม ควรไปปรึกษาเจ้าหน้าที่หอการค้าในครั้งแรก เพื่อตรวจสอบความเข้าใจในข้อมูลที่มี ซักถามข้อสงสัยและรายละเอียดปลีกย่อยที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ต้องการเปิด จะได้เตรียมเอกสารให้ครบถ้วนและปฏิบัติตามขั้นตอนได้ถูกต้อง

นอกเหนือจากการไปจดทะเบียนบริษัทโดยตรงที่หอการค้าแล้ว กระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจอิตาลี (Ministero dello Svilluppo Economico) ยังได้จัดตั้งหน่วยงานชื่อว่า Registro Imprese www.registroimprese.it ขึ้น เพื่อบริการรับจดทะเบียนบริษัทออนไลน์โดยเฉพาะ เพื่อให้บริการข้อมูลทางการค้าทั่วไป เพิ่มทางเลือกแก่ผู้ประกอบการตามการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยอีกด้วย ซึ่ง Web site ดังกล่าวจะแสดงรายละเอียดขั้นตอนการลงทะเบียน และวิธีการติดตั้งโปรแกรม FedraPlus 6 เพื่อให้ผู้ประกอบการได้โหลดแบบฟอร์มต่าง ๆ ด้วยตนเอง และกรอกแบบฟอร์มของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้ เมื่อผู้ประกอบการได้จัดส่งแบบฟอร์มทั้งหมดกลับไปยังหน่วยงาน Registro Imprese แล้ว หน่วยงานจะเป็นตัวกลางในการจัดส่งเอกสารต่อไปยังหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งมีทั้งหมด 4 แห่ง และหน่วยงานนั้น ๆ จะติดต่อกลับมาภายใน 7 วัน ระบบนี้จะช่วยผู้ประกอบการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องเดินทางไปติดต่อหน่วยงานทั้งหมดด้วยตนเอง

ขั้นตอนการขอจดทะเบียนบริษัท จาเป็นต้องติดต่อหน่วยงานของรัฐ 4 แห่ง ดังต่อไปนี้
1. หอการค้า (Chamber of Commerce)

เพื่อขอจดทะเบียนบริษัท สามารถค้นหาที่ตั้งของหอการค้าในอิตาลีทั้งหมด 104 แห่ง ได้ใน www.comeradicommerceio.it หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้หอการค้าเมืองมิลาน www.mi.camcom.it และกรุงโรม www.rm.comcom.it ที่ผู้ประกอบการต่างชาติส่วนใหญ่ต้องมาติดต่อการขอจดทะเบียนกับหอการค้าใดส่งผลให้กลายเป็นสมาชิกของหอการค้านั้นด้วย จะมีค่าใช้จ่ายที่ถูกบังคับเก็บได้แก่ ค่าธรรมเนียมสมาชิกรายปี คิดตามสัดส่วนของมูลค่าการค้าที่แจ้งเสียภาษีรายได้ในแต่ละปีของบริษัทและภาษีบารุงท้องที่ เช่น ภาษีขยะ (ที่ไม่ใช่ขยะเปียก) ที่เรียกเก็บตามปริมาณขยะที่ผู้ประกอบการต้องนาไปทิ้งตามแหล่งรับเก็บขยะเท่านั้น ห้ามทิ้งรวมกับขยะบ้าน ทั้งนี้ก่อนการจดทะเบียนต้องมีการเปิดบัญชีที่ธนาคารโดยวงเงินที่วางไว้เมื่อเริ่มจัดตั้งบริษัทต้องไม่น้อยกว่า 25% ของวงเงินลงทุน ทั้งในการจัดทาหนังสือรับรอง และแบบฟอร์มต่างๆ ที่กาหนดไว้ต้องผ่าน Notary Public ที่อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ เสียก่อน นอกจากนี้ สมุดทะเบียนบริษัทและสมุดบัญชีอื่น ก็ต้องมีตราประทับรับรองจาก Notary Public ด้วยเช่นกัน

2. สำนักงานสวัสดิการประกันสังคมแห่งชาติ (Istituto Nazionale Previdenza Sociale-www.inp.it)

นายจ้างต้องไปขึ้นทะเบียนพร้อมแจ้งจานวนลูกจ้าง และค่าจ้าง ประเภทของสัญญาจ้าง เพื่อใช้คานวณเงินสวัสดิการสังคมที่นายจ้างและลูกจ้างต้องจ่ายสะสมเข้ากองทุนประกันสังคม ซึ่งอาจจ่ายเป็นรายเดือน หรือรายปีก็ได้ขึ้นอยู่กับประเภทสัญญาจ้าง หน่วยงาน INPS เป็นหน่วยงานที่ดูแลสวัสดิการประกันสังคมและจะจ่ายเงินสวัสดิการแก่บุคคลที่จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เงินสวัสดิการค่ารักษาพยาลบาล, การลาป่วยเกิน 3 วัน, การหยุดลาคลอดตามบังคับของกฏหมาย 5 เดือน โดย INPS จะเป็นผู้จ่ายเงินเดือนเต็มให้ลูกจ้างแทนนายจ้าง, การจ่ายเงินบานาญแต่ละเดือนหลังสิ้นสุดวาระการทางาน โดยคานวณจากจานวนปีทางานและจานวนเงินสวัสดิการที่จ่ายสะสมไว้ในแต่ละเดือนในช่วงที่เคยทางาน ปัจจุบันกฏหมายกาหนดปีทางานสูงสุดอยู่ที่ 37 ปีทางาน (ทั้งนี้แบ่งตามเพศชาย/หญิง ไม่เท่ากัน)

3. สำนักงานประกันอุบัติภัยจากการทำงานแห่งชาติ (Istituto Nazionale per L’Assicurazione contro gli infortuni-www.inail.it)

เช่นเดียวกับสวัสดิการประกันสังคม นายจ้างต้องจ่ายเงินประกันอุบัติเหตุและอุบัติภัยแก่รัฐเป็นรายปี ซึ่งมากน้อยต่างกันไปตามจำนวนลูกจ้าง และประเภทของสัญญาจ้าง โดยคานวณจากอัตราร้อยละของเงินค่าจ้าง ถ้าเป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงก็มีอัตราเรียกเก็บสูงขึ้น เช่น พนักงานขับรถ คนงานก่อสร้าง คนงานในโรงงานอุตสาหกรรมหนัก เป็นต้น รัฐบาลจะจ่ายเงินชดเชยตอบแทนให้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุจากการทางาน

4. กรมสรรพากร (Agenzia delle Entrate-www.agenzieentrate.gov.it)

ในการจดทะเบียนก่อตั้งบริษัท ผู้ประกอบการต้องขอทะเบียนเลขที่ผู้เสียภาษีด้วย เนื่องจากผู้ประกอบการทุกสาขาอาชีพและลูกจ้างต้องเสียภาษีเงินได้ให้แก่รัฐ ซึ่งเลขที่ผู้เสียภาษีมี 2 แบบคือ

  • Partita IVA เป็นเลขที่ผู้เสียภาษี ที่ให้สำหรับผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจซื้อ/ขาย หรือธุรกิจด้านบริการซึ่งมีรายรับ-รายจ่าย
  • Codice Fiscale (Fiscal Code) เป็นเลขที่ผู้เสียภาษี ที่ให้สำหรับธุรกิจที่ไม่มีการซื้อขายตรง ไม่มีการใช้ใบเสร็จ เช่น การเปิดธุรกิจในรูปแบบสานักงานตัวแทน (Representative Office) ซึ่งเป็นหน่วยงานต่างชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ ทำงานด้านการเผยแพร่ และประชาสัมพันธ์เท่านั้น ได้แก่ สถานกงสุล, สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว, สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม เมื่อขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานทั้ง 4 แล้ว ก็จาเป็นต้องจ้างบริษัทที่ปรึกษา (Commercialista) ซึ่งเป็นผู้ชานาญด้านการจัดทาบัญชีบริษัท และกฎหมายแรงงานโดยเฉพาะ เพื่อติดตามและติดต่อกับราชการในเรื่องของสัญญาจ้าง การคานวณเงินเดือนลูกจ้าง การเสียภาษีฯ สวัสดิการประกันสังคมและอุบัติเหตุในที่ทางาน เป็นต้น ซึ่งมีรายละเอียดและขั้นตอนยุ่งยาก ซับช้อนเกินกว่าที่ผู้ประกอบการจะติดตามหรือคานวณเองได้ และหากผิดพลาดก็จะถูกปรับอีกด้วย

สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีคนงานจานวนมากจะจ้างที่ปรึกษาด้านกฏหมายและการจ้างงาน(Commercialista) ประจาบริษัท ส่วนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมักจะจ้างบริษัทที่ปรึกษาและการจ้างงานจากภายนอก (Consultant) ซึ่งรับจ้างทั่วไป โดยคิดค่าใช้จ่ายตามจานวนความมากน้อยของงาน เช่น ตามจานวนลูกจ้าง หรือจานวนของใบเสร็จที่ออก เป็นต้น

4.2 สำหรับชาวต่างชาติ

การเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศอิตาลี ควรศึกษาข้อมูลเบื้องต้นผ่านทางเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเสียก่อน เพื่อทาความเข้าใจในภาพรวม และจาเป็นต้องเดินทางมาสารวจสถานที่จริงให้ได้ข้อมูลอย่างละเอียดเพื่อใช้ในการตัดสินใจและประเมินความเป็นไปได้ในการทาธุรกิจ ดังนี้

1. สารวจความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ ของเมืองที่ตั้งใจจะมาประกอบธุรกิจ เช่น จานวนประชากร ความต้องการสินค้าและบริการ กาลังซื้อ ค่าครองชีพ สาธารณูปโภค เป็นต้น โดยสามารถขอข้อมูลจากหอการค้าประจาเมือง หรือสานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประจาประเทศอิตาลี ในสังกัดกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์

2. ปรึกษาบริษัทตัวแทนจัดหาอสังหาริมทรัพย์ หาทาเลและสถานที่ประกอบธุรกิจ พิจารณาเรื่องค่าเช่า ค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขต่าง ๆ ควรขอไปดูสถานที่ด้วย และสอบถามรายละเอียดให้ถี่ถ้วน เนื่องจากสถานที่บางแห่ง อาเภอไม่อนุญาตให้ประกอบธุรกิจบางประเภท

3. สอบถามหอการค้าของเมืองที่จะจัดตั้งธุรกิจ เอกสารที่ต้องใช้ และที่สาคัญคือความเป็นไปได้หรือไม่ที่จะได้รับใบอนุญาตสาหรับธุรกิจที่ต้องการขอเปิด เนื่องจากหอการค้าต้องพิจารณาและตรวจสอบก่อนว่าเป็นธุรกิจที่ไม่ขัดต่อกฎหมายและไม่ใช่ธุรกิจต้องห้าม โดยเฉพาะธุรกิจประเภท ร้านอาหาร สปาหรือนวด ที่กาหนดให้ผู้ประกอบการต้องมีวุฒิการศึกษาตามที่กฎหมายกาหนด และในส่วนของสถานที่ จะต้องได้รับการตรวจสอบด้านโครงสร้างและสุขอนามัยที่จากสานักงานอนามัยประจาจังหวัดก่อน เช่น ที่ตั้งของครัว ปล่องระบายควัน สุขอนามัยของท่อน้า ห้องครัว ห้องเก็บอาหาร ห้องน้า และห้องทานอาหาร เป็นต้น ส่วนร้านสปาหรือนวด ก็ต้องมีระบบระบายน้าที่ถูกต้อง

4. ในการขอเปิดธุรกิจในอิตาลี หากเป็นชาวต่างชาติที่ทางานหรืออาศัยอยู่ในอิตาลี และมี Permit of Stay แล้วจะดาเนินการด้วยตนเองได้เลย ชาวต่างชาติในสภาพยุโรป 27 ประเทศ กลุ่ม EFTA (ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ ลิกเทนสไตน์) และกลุ่มประเทศ Schengen ไม่ต้องมีวีซ่า และ Permit of Stay แต่จะใช้ Passport หรือบัตรประชาชนแทน

ชาวต่างชาตินอกสหภาพยุโรปที่มีวีซ่าเข้าอิตาลี ประเภทวีซ่าท่องเที่ยว นักเรียน หรือนักธุรกิจ ไม่สามารถแปลงเป็นวีซ่าทางานได้ ยกเว้นวีซ่านักเรียนสามารถขอแปลงเป็นวีซ่าทางานเพื่อประกอบธุรกิจอิสระบางอย่างได้ ซึ่งก็ต้องติดต่อหอการค้าเพื่อขอให้พิจารณาเป็นกรณีไป และหอการค้าจะออก Nulla Osta (หนังสือรับรองว่าสิ่งที่ขอไม่ขัดต่อกฎหมาย) หากอนุญาตให้ทาธุรกิจได้ เพื่อนาไปขอทา Permit of Stay (ประเภทธุรกิจ) ที่สานักงานตารวจ (Questura) ต่อไป

ชาวต่างชาติที่ไม่มีที่พานักถาวรหรือไม่ได้ทางานในอิตาลี และต้องการเปิดธุรกิจในอิตาลี จาเป็นต้องขอวีซ่าเข้าประเทศก่อน และมาขอทา Permit of Stay ที่สานักงานตารวจประจาอาเภอเมื่อเดินทางมาถึงอิตาลีแล้วอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น ก่อนจะมาถึงขั้นตอนนี้ ผู้ประกอบการต้องมั่นใจแล้วว่าการขอเปิดธุรกิจจะมีความเป็นไปได้สูง และได้ศึกษาข้อมูลต่าง ๆ มาเรียบร้อยแล้ว

การขอ Permit of stay (ประเภทธุรกิจ) จาเป็นต้องแต่งตั้งตัวแทนในอิตาลีเพื่อดาเนินการติดต่อทาเอกสารทั้งหมดแทน หอการค้าอิตาลีจะไม่รับเรื่องหรือติดต่อชาวต่างชาติโดยตรง ซึ่งตัวแทนควรเป็นสานักงานที่ปรึกษาด้านกฎหมาย (Commercialista หรือบริษัท consultant รับจ้างดาเนินการจัดตั้งบริษัท) ที่มีความชานาญในการติดต่อหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อความคล่องตัวและรวดเร็วในการให้คาแนะนาและการเตรียมเอกสารต่าง ๆ แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งหน่วยงานและเอกสารทางราชการของอิตาลี จะใช้ภาษาอิตาเลียนเท่านั้น เจ้าหน้าที่จะไม่ให้บริการเป็นภาษาอังกฤษ

5. มอบหมายให้ตัวแทนที่แต่งตั้ง กรอกแบบฟอร์มคาร้อง 2 ฉบับ ได้แก่
  • MO-DA69 เป็นแบบฟอร์มขอ Nulla Osta ของผู้ประกอบการที่ต้องยื่นต่อหอการค้า พร้อมเอกสารแนบคือ สาเนาพาสปอร์ต เอกสารที่เกี่ยวกับข้อมูลผู้ประกอบการและธุรกิจ ที่แปลเป็นภาษาอิตาเลียน และได้รับการรับรองเอกสารจากสถานเอกอัครราชทูตอิตาลี ประจาประเทศไทย หรือ สถานกงสุลไทยในอิตาลีแล้ว
  • MO-DA70 เป็นแบบฟอร์มแจ้งการแต่งตั้งและรายละเอียดตัวแทนที่จะมอบฉันทะให้ดาเนินงานแทน พร้อมเอกสารของตัวแทน เช่น Permit of Stay หากตัวแทนเป็นชาวต่างชาติในอิตาลี หรือบัตรประจาตัว/บัตรประชาชนหากตัวแทนเป็นชาวอิตาเลียน
  • MO-DA70 เป็นแบบฟอร์มแจ้งการแต่งตั้งและรายละเอียดตัวแทนที่จะมอบฉันทะให้ดาเนินงานแทน พร้อมเอกสารของตัวแทน เช่น Permit of Stay หากตัวแทนเป็นชาวต่างชาติในอิตาลี หรือบัตรประจาตัว/บัตรประชาชนหากตัวแทนเป็นชาวอิตาเลียน

สำหรับชาวต่างชาติ หอการค้าอิตาลีจะพิจารณาออก Nulla-Osta ให้สาหรับธุรกิจการค้าส่ง การนาเข้า และการส่งออกที่ไมใช่สินค้าอาหาร และธุรกิจอาชีพอิสระทั่ว ๆ ไป ที่ไม่มีข้อยกเว้นพิเศษ ส่วนการค้าปลีกต้องไปขอ Nulla-Osta จากอาเภอที่ตั้งบริษัท และต้องได้รับความเห็นชอบจากหอการค้าด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงควรสอบถามหอการค้าให้ดีก่อนว่าธุรกิจที่จะมาขอเปิดกิจการสามารถทาได้หรือไม่

6. ธุรกิจบริการบางสาขาอาชีพ เช่น ธุรกิจที่นักลงทุนไทยสนใจมาลงทุน ได้แก่ ร้านอาหาร ร้านสปาและนวดแผนไทย บุคคลที่เป็นเจ้าของธุรกิจจะต้องมีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรืออย่างน้อยประกาศนียบัตรด้านวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง และต้องเป็นสถาบันที่หน่วยงานอิตาลียอมรับ ธุรกิจอาหารจะประสบปัญหาน้อยกว่าธุรกิจสปาและนวด เนื่องจากหากผ่านการศึกษาด้านโภชนาการและการทาอาหารมาจากต่างประเทศก็สามารถเปิดธุรกิจได้ หอการค้าจะพิจารณาจากวุฒิการศึกษาและประสบการณ์ อาจบังคับให้เข้าหลักสูตรอบรมการบริหารจัดการร้านอาหาร ซึ่งหอการค้าเองเป็นผู้จัดขึ้น มีสถานที่เรียนหลายแห่งกระจายตามเมืองต่าง ๆ มีทั้งการสอนในช่วงเช้า กลางวัน เย็น และจานวนชั่วโมงเรียนขึ้นอยู่กับระดับการศึกษาและประสบการณ์ของผู้ประกอบการ (ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.irfi.it หรือ www.coriesami.rm.camcom.it)

ส่วนสปาและนวดนั้น ใบรับรองจากสถาบันนวดของประเทศไทย ยังไม่ได้รับการยอมรับ ผู้ประกอบการ/เจ้าของกิจการ ต้องผ่านเรียนหลักสูตรการนวดของอิตาลี ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี ส่วนหลักสูตรระยะสั้นนั้นสาหรับลูกจ้างหรือพนักงานที่ต้องการเสริมความรู้ใหม่ ๆ ให้กับตัวเองเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถนาใบรับรองไปประกอบธุรกิจในฐานะเจ้าของกิจการได้

7. เมื่อได้ Permit of stay (ประเภทธุรกิจ) (il permesso di soggiorno per lavoro) แล้ว ก็สามารถดาเนินการตามขั้นตอนการขอเปิดบริษัทที่กล่าวไว้ข้างต้นได้

5. การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์

กฎหมายอสังหาริมทรัพย์คุ้มครองโดย Italian Civil Code ผู้ต้องการดาเนินธุรกิจทางด้านการพัฒนาหรือ การปรับปรุงอสังหาริมทรัพย์จะต้องมีใบอนุญาตจากเจ้าหน้าที่

ลักษณะของอสังหาริมทรัพย์ดังนี้

  • เป็นของเจ้าของคนเดียว (Stand alone assets)
  • เป็นสมบัติร่วมกัน (Part of a joint property)
  • เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ (Part of a going concern)

ประเภทของอสังหาริมทรัพย์ มีดังนี้

  • การครอบครองเป็นส่วนตัว (Full Ownership)
  • การให้เช่าระยะยาว (Long Lease)
  • การเช่าเพื่อดาเนินธุรกิจ (Lease of Business)
  • สิทธิการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ (Usufruct and Right of Common)
6. มาตรการภาษี

1. Direct taxes

2. Corporate income tax and tax on other legal institutions (IRES : Imposta sul Reddito delle Societa) คือ ภาษีเงินได้นิติบุคคล จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในอัตราร้อยละ 27.5

3. Persons’ income tax (IRPEF : Imposta sul Reddito delle Persone Fisiche) คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นภาษีที่จัดเก็บบุคคลที่พานักอยู่ในอิตาลี หรือดาเนินธุรกิจในอิตาลีโดยมีอัตราระหว่างร้อยละ 23 - 43

4. Regional Tax on production activities (IRAP : Imposta regionale sulle attivita produttiva) คือ ภาษีเทศบาลที่จัดเก็บเพิ่มเติมโดยแคว้นที่ธุรกิจตั้งอยู่ ระหว่าง 0.9%-1.4% (สาหรับบุคคลธรรมดา) ร้อยละ 3.9 (สาหรับนิติบุคคล)

5. Valued added Tax (IVA : Imposta sul Valore Aggiunto) คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีการขายที่เก็บจากการขายสินค้าและการให้บริการโดยทั่วไป และเก็บจากมูลค่าเพิ่มของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอน

  • สินค้าที่มิใช่อาหาร (Non Food) ร้อยละ 20
  • สินค้าอาหาร ร้อยละ 4-10

6. Inheritance and gift tax

7. Local tax : Communal property tax (ICI), etc

8. Registration tax and other indirect taxes on property transfers

7. อัตราดอกเบี้ย
  • อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย 0.95%
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทั่วไปเฉลี่ย 4.34%
  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการซื้อบ้าน 3.58%

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ