หารือนำเข้าแรงงานบังกลาเทศ แก้วิกฤตขาดคนงานประมงทะเลและก่อสร้างในไทย

ข่าวทั่วไป Thursday September 4, 2014 15:37 —สำนักโฆษก

ปลัดกระทรวงแรงงาน ต้อนรับ รองประธานอาวุโสสมาคมจัดหางานระหว่างประเทศ (BAIRA) หารือคืบหน้า MOU นำเข้าแรงงานแก้วิกฤตขาดแคลนแรงงานภาคประมงทะเลและก่อสร้าง แจ้ง (ร่าง) บันทึกความเข้าใจฯ คืบหน้าไปมาก ล่าช้าเนื่องจากอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน รอนำเข้า ครม.ชุดใหม่พิจารณา เผยยอดจดทะเบียนต่างด้าวตามนโยบาย คสช. เพียง 2 เดือนเศษ พุ่ง 9.6 แสนคน คาดอีกไม่ช้าทะลุ 1 ล้านคน

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ Mr.Ali Haider Chowdhury

รองประธาน BAIRA และคณะ ณ ห้องประชุมปลัดกระทรวงแรงงาน ชั้น 7 อาคารกระทรวงแรงงาน

ในโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะเพื่อหารือข้อราชการเกี่ยวกับการส่งแรงงานบังคลาเทศมาทำงานในประเทศไทย และความคืบหน้า (ร่าง) บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ และรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงานประมงทะเลและก่อสร้าง ว่า (ร่าง) MOU เกี่ยวกับการจัดส่งแรงงานเข้ามาทำงานในไทยมีความคืบหน้ากว่าประเทศอื่นๆ แต่เนื่องจากไทยมีการเปลี่ยนแปลงผ่านรัฐบาล และ คสช.ได้ให้ความสำคัญกับการทำงานของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย

ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีนโยบายที่จะเปิดให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้รู้ว่าปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในไทยเท่าไหร่ ซึ่งดำเนินการมาได้ 2 เดือนเศษแล้ว ปัจจุบันมียอด 9.6 แสนคน คาดว่าภายในต้นเดือนตุลาคมนี้ยอดจะขยับขึ้นมาเป็น 1 ล้านคน สำหรับสาเหตุที่ทำให้แรงงานต่างด้าว

ผิดกฎหมายมารายงานตัวเป็นจำนวนมาก คือ แรงงานต่างด้าวเดิมที่ลักลอบทำงานอยู่แล้ว และอีกส่วนหนึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่มีการเคลื่อนย้ายเข้ามาตามแนวชายแดน เช่น แม่สอด จ.ตาก จ.เชียงราย เป็นต้น ทำให้มีจำนวนมากถึงเกือบ 1 ล้านคน จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ไทยต้องทำการสำรวจความต้องการแรงงานว่านายจ้างมีความต้องการเท่าใด จากนั้นจะนำเข้าแรงงานต่างด้าวตามระบบ MOU ของบังกลาเทศต่อไป

ด้าน Mr.Ali Haider Chowdhury รองประธาน BAIRA กล่าวว่า สมาคมจัดหางานระหว่างประเทศบังกลาเทศ เป็นหนึ่งในองค์กรด้านการค้าส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในบังกลาเทศ ขณะนี้มีแรงงานซึ่งเป็นคนงานที่อยู่ภายใต้การดูแลราว 8.7 ล้านคน คิดเป็น 9.9% ของแรงงานทั้งหมด นอกจากนี้ได้ทำงานร่วมกับ ILO และหน่วยงานที่ทำงานด้านนโยบายของประเทศ ดังนั้นจึงต้องการส่งแรงงานที่มีศักยภาพของประเทศบังกลาเทศออกมาทำงานในต่างประเทศ อีกทั้งมีบทบาทในการส่งเสริมทักษะฝีมือของแรงงาน ปัจจุบัน

มีสมาชิกเป็นบริษัทจัดหางานระหว่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลบังกลาเทศจำนวน 1,200 บริษัท ในการจัดหาและส่งแรงงานไร้ฝีมือ กึ่งฝีมือ และมีฝีมือ ตลอดจนระดับวิชาชีพเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ

กลุ่มงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ