เอสเอ็มอีแบงก์แต่งตั้งกรรมการผู้จัดการคนใหม่

ข่าวทั่วไป Monday January 5, 2015 15:45 —สำนักโฆษก

คณะกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ได้มีมติแต่งตั้ง นายสุพจน์ อาวาส ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการธนาคาร มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป

นายสุพจน์ อายุ 54 ปี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก และ ประกาศนียบัตรบัณฑิต (Dip.TESOL) ปริญญาโท ภาษาศาสตร์ประยุกต์ (M.A.) จากมหาวิทยาลัยวิคตอเรีย กรุงเวลลิงตัน (Victoria University of Wellington) ประเทศนิวซีแลนด์ และ ปริญญาโท ด้านการจัดการ (M.M.) จาก สถาบันศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้ง ยังได้รับ ปริญญาบริหารดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบัญชี จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ประสบการณ์ทำงาน

ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สายงานสินเชื่อชุมชน กลุ่มสินเชื่อรายย่อย

คณะกรรมการประกวดแผนธุรกิจ OTOP ดีเด่นระดับประเทศปี 2557

ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร

กรรมการผู้จัดการสำนักงานกองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค ธนาคารออมสิน

คณะอนุกรรมการยกร่างแผนแม่บทการเงินระดับฐานราก กระทรวงการคลัง

คณะทำงานแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชน (หนี้กองทุนหมู่บ้าน) กระทรวงการคลัง

ผู้อำนวยการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม โทร.02-265-4564-5

ประวัติ และ ผลงานสำคัญ

นาย สุพจน์ อาวาส

กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว. หรือ SME Bank)

นาย สุพจน์ อาวาส สำเร็จการศึกษาระดับชั้น ปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) จาก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก และ ประกาศนียบัตรบัณฑิต (Dip.TESOL) ปริญญาโท ภาษาศาสตร์ประยุกต์ (M.A.) จาก Victoria University of Wellington ประเทศนิวซีแลนด์ และ ปริญญาโท ด้านการจัดการ (M.M.) จาก สถาบันศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้ง ยังได้รับ ปริญญาบริหารดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบัญชี จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

นาย สุพจน์ อาวาส มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนกลไกเพื่อหนุนเสริมระบบเศรษฐกิจฐานราก โดยใช้การพัฒนา หรือ การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่ม หรือ องค์กร การเงินชุมชน และ สมาชิก โดยกระบวนการและกลไก ธนกิจรายย่อย หรือ Microfinance ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ในลักษณะ แบบบูรณาการ (integrated approach) หรือ ผสมผสาน การให้บริการทางการเงิน ตลอดจน บริการอื่นๆ อาทิ (ก) การสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้มีรายได้น้อย ในรูปแบบ และ มิติต่างๆ ทั้งแนวดิ่ง และ แนวระนาบ (ข) การพัฒนาอาชีพ และ (ค) การสนับสนุน และ สร้างความผาสุกของชีวิตให้กับผู้มีรายได้น้อย ในรูปแบบของการให้ และ/หรือ การส่งเสริมและให้ความรู้ทางการเงิน ทักษะการดำรงชีพ หรือ การดำรงตน แบบพอเพียง ทั้งนี้ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย ข้างต้น ได้มีโอกาสสร้างรายได้ หรือ สร้างงาน และ อาชีพ รวมถึง สามารถแก้ปัญหาในยามที่ต้องประสบกับสภาวะที่จำเป็น และ เร่งด่วน หรือ ฉุกเฉิน ผ่านนโยบาย และ การขับเคลื่อนภารกิจของรัฐบาล อาทิ โครงการธนาคารประชาชน โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โครงการพัฒนาศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ โครงการพัฒนาบทบาทสตรี เป็นต้น

นอกจากนี้ นาย สุพจน์ อาวาส ยังเคยดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (คนที่หนึ่ง) รวมถึง เป็นกลไกในการขับเคลื่อนโครงการธนาคารประชาชน และ การพัฒนาเกณฑ์การกำกับดูแลความมั่นคงทางการเงินของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) ภายใต้การกำกับของกระทรวงการคลัง รวม 8 แห่ง และ กระทรวงการคลัง ได้กำหนดที่จักใช้เกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดขึ้น อาทิ (1) การดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำ ตามหลัก BASEL I และ BASEL II (2) การบริหารและจัดการความเสี่ยง (3) การตั้งตัวแทน (4) ธรรมาภิบาล (5) การแยกบัญชีธุรกรรมตามนโยบายรัฐ (PSA) ฯลฯ เป็นเครื่องมือในการควบคุม และ/หรือ กำกับดูแลการขับเคลื่อนภารกิจของ SFIs นับแต่ปี 2558 เป็นต้นไป รวมถึง ยังได้ยกร่าง และจัดทำยุทธศาสตร์ของดีชายแดนใต้ ระหว่างปี 2557 - 2561 และ เป็นกลไกในการขับเคลื่อนโครงการฟื้นฟูนาร้างเป็นนาข้าวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ตลอดจน กิจกรรมอื่นๆ ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้อย่างต่อเนื่อง และ นายสุพจน์ อาวาส อยู่ระหว่างเตรียมการจัดตั้ง กลไกทางการเงิน หรือ องค์กรอิสระ และ/หรือ องค์กรภาครัฐที่เรียกเป็นอย่างอื่น เพื่อแก้ไขหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษาแบบองค์รวม รวมถึง การป้องกัน หรือ แก้ข้อขัดข้องในการดำเนินชีวิต หรือ การเรียน การสอน ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาระหนี้สินอย่างเป็นระบบ ตลอดจน หนุนเสริม ยุทธศาสตร์ ว่าด้วย การสนับสนุนให้มี หรือ เกิดชุมชนที่เข้มแข็ง หรือ สังคมสุขภาวะ โดยใช้ ภาคีการพัฒนาและการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจน ทุนทางสังคม ทุกประเภท หรือ ทุกรูปแบบ เป็นกลไก

ที่มา : กระทรวงการคลัง

ผู้นำเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ