กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เร่งดำเนินงานและแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในหลายมิติ

ข่าวทั่วไป Saturday August 1, 2015 16:47 —สำนักโฆษก

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานสำคัญต่าง ๆ ตามที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานสำคัญต่าง ๆ ตามที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการไปแล้ว อาทิ มติคณะรัฐมนตรี นโยบายรัฐบาล ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งรัดดำเนินงานในหลายเรื่อง ดังนี้

1. ช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ จ่ายเงินให้เกษตรกรแล้ว 3,586 ล้านครัวเรือน 39,044.86 ล้านบาท เกษตรกรร้อยละ 55 พึงพอใจมาก

2. ชดเชยรายได้ผู้ปลูกยาง ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ จ่ายเงินให้เกษตรกรแล้ว 798,208 ครัวเรือน 8,031.61 ล้านบาท เกษตรกรร้อยละ 77 นำเงินไปใช้ โดยใช้ในการซื้อปุ๋ย/วัสดุอุปกรณ์สวนยาง ร้อยละ 64

3. ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภัยแล้ง (จ้างแรงงาน 44,464 ราย โครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนชุมชนในพื้นที่เกษตรที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบแล้ง ปี 2557/2558 จำนวน 3,051 ตำบล 58 จังหวัด วงเงิน 3,051 ล้านบาท (เบิกจ่ายแล้ว 3004.51 ล้านบาท) ครัวเรือนเกษตรกรที่ได้ประโยชน์ 2.66 ล้านครัวเรือน

4. สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร ดำเนินงาน SME (จดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน 75,548 แห่ง 1.30 ล้านราย พัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 318 แห่ง 5,177 ราย ส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรและสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 17,640 ราย และสร้างผู้ประกอบการแปรรูปผลไม้)

5. จัดตลาดเกษตรกร เพื่อจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์เกษตรโดยเกษตรกร และ/หรือสถาบันเกษตรกรเป็นผู้จัดจำหน่ายโดยตรง ขายผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย เช่น GAP,GMP เปิดตัวผลิตผลหรือผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ภาคเอกชนในจังหวัดได้มีโอกาสร่วมมือในการจัดการตลาดเกษตรกรในลักษณะ CSR ดำเนินการไปแล้ว 77 จังหวัด 87 แห่ง มูลค่าการซื้อ-ขายสินค้าเกษตรผ่านตลาด 26,161,175 บาท (2 ก.พ.-28 มิ.ย.58)

6. การดำเนินงานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรรายย่อย โดยใช้โครงการพระราชดำริและโครงการหลวง เป็นกลไกในการพัฒนาเกษตรด้วยการถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมอาชีพด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ ประมาณ 1 ล้านราย

7. การแก้ปัญหาด้านการประมง

7.1 ดำเนินการเพื่อรองรับกฎระเบียบของประเทศคู่ค้า ตามมติคณะรัฐมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (EU) โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการจดทะเบียนเรือประมง จำนวน 50,970 ลำ ร่วมตรวจควบคุมเรือ 26,761 ลำ จับกุม 8 คดี และทำประมงผิดกฎหมาย 437 คดี ทำการออกใบอนุญาตทำการประมง 28,364 ฉบับ ปรับปรุงร่างแผนระดับชาติในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (NPOA-IUU) ติดตั้งระบบติดตามตำแหน่งเรือ (VMS) ออก พ.ร.บ.การประมง และปรับปรุงกฎหมายลำดับรอง 70 ฉบับ แก้ไขแรงงานประมง (พัฒนาระบบฐานข้อมูลออนไลน์เรือประมงขึ้นทะเบียนแรงงานประมงต่างด้าว)

7.2 การจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ ดำเนินการเกี่ยวกับการป้องกัน ส่งเสริมให้มีการอบรม เผยแพร่ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย สำรวจและจัดเก็บข้อมูล/จัดทำระบบเครือข่ายข้อมูลเรือและแรงงานประมง

7.3 การแก้ไขปัญหาการเกิดโรคระบาดในกุ้ง ดำเนินการตรวจประเมินคัดกรองโรค 300 โรง ตรวจคัดกรอง 97,000 ตัวอย่าง รวมทั้งผลิตและแจกจ่ายหัวเชื้อสูตรผงและสูตรน้ำ 300,000 ซอง/ขวด ส่งผลให้ผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงในช่วงเดือนตุลาคม 2557-มีนาคม 2558 ปรับตัวดีขึ้นเป็น 123,762 ตัน คิดเป็นมูลค่า 25,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นทั้งผลผลิตและมูลค่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งผลผลิตกุ้งอยู่ที่ 96,506 ตัน มูลค่า 24,455 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.24 และ 2.24 ตามลำดับ

นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังได้ดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวกับงานด้านต่างประเทศ อาทิ การลงนาม MOU เช่น ความร่วมมือในกรอบอาเซีบยเกี่ยวกับแผนส่งเสริมสินค้าเกษตรและป่าไม้ พิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดการตรวจสอบกักกันโรคและสุขอนามัยสำหรับผลิตภัณฑ์รังนกที่ส่งออกจากไทยไปจีน เป็นต้น การตกลงขายสินค้า (เปิดตลาดเนื้อสัตว์สุกรส่งออกไปรัสเซีย) การเจรจาความร่วมมือด้ารเกษตร (อินโดนีเซียและมาเลเซีย-ผลักดันราคายางพาราให้สูงขึ้น เมียนมา-จัดตั้งเขตปลอดโรคบริเวณชายแดนฯลฯ การประชุมระดับรัฐมนตรี เช่น ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ (AMAF), Berlin Agricultural Minister Summit

รวมทั้งการเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเพิ่มศักยภาพด่านสินค้าเกษตรชายแดน โดยดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับด่านสินค้าเกษตรทั้งด่านพืช ประมง ปศุสัตว์ ใน 7 ด่าน ประกอบด้วย (1) อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก (2) อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (3) พื้นที่ชายแดนจังหวัดตราด (4) พื้นที่ชายแดนจังหวัดมุกดาหาร (5) พื้นที่ชายแดนจังหวัดหนองคาย (6) อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา (7) อำเภอปาดังเบซาร์ จังหวัดสงขลา ให้มีศักยภาพในการนำเข้า/ส่งออกสินค้าได้มาตรฐาน

การเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (National Single Window) โดยเพิ่มประสิทธิภาพระบบการออกใบอนุญาต/ใบรับรองเพื่อรองรับระบบ NSW ด้วยการให้บริการผู้ประกอบการในการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-CESS) ของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ให้บริการออกใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออกสัตว์น้ำผ่านระบบ Fisherie Single Window แล้ว 174,332 ฉบับ เป็นต้น

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ