คำกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเป็นประธานเปิดการประชุมประจำปี 2561 ของ ศสช.

ข่าวทั่วไป Thursday September 27, 2018 15:06 —สำนักโฆษก

คำกล่าว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเป็นประธานเปิดการประชุมประจำปี 2561 ของ ศสช. เรื่อง “ยุทธศาสตร์ชาติ อนาคตไทย อนาคตเรา”

คำกล่าว

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

เนื่องในโอกาสเป็นประธานเปิดการประชุมประจำปี 2561 ของ ศสช.

เรื่อง “ยุทธศาสตร์ชาติ อนาคตไทย อนาคตเรา”

ณ ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม ศูนย์การแสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน 2561 เวลา 09.20 น.

ท่านรองนายกรัฐมนตรี
ท่านรัฐมนตรี
ท่านประธานกรรมการและกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
ท่านประธานกรรมการและกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ท่านประธานกรรมการและกรรมการปฏิรูปประเทศ
ท่านประธานกรรมการและกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ท่านเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

          ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมในพิธีเปิดการประชุมประจำปี 2561 ของ สศช. ในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ชาติ อนาคตไทย อนาคตเรา” ที่จัดขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้ ความเข้าใจในแนวคิดและสาระสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ให้กับทุกภาคส่วนในสังคม ให้ ระยะยาวของประเทศร่วมกัน ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าด้วยกัน สู่วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”ร่วมกัน โดย “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”
          รัฐบาลได้กำหนดให้มีการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี โดยเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นหลักในการพัฒนาทุกๆ ด้าน เพื่อวางรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ สู่เป้าหมายความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และการมุ่งสู่การเป็นประเทศไทย 4.0 โดยให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบอนาคตและพัฒนาประเทศไปสู่อนาคตดังกล่าว
ร่างยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580

ท่านผู้มีเกียรติครับ

          ผมมั่นใจว่าที่ผ่านมา ทุกท่านก็ได้รับทราบถึงการจัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ โดย (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้ เพราะว่ากรอบระยะเวลาการดำเนินการ 20 ปีนี้ ถือเป็นการกำหนดแนวทางและเป้าหมายของการพัฒนาประเทศในระยะยาว เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนชาวไทยทุกๆ คน อย่างต่อเนื่องและสอดคล้องกันในทุกมิติ และนำไปสู่จุดหมายที่เราจะร่วมกันวางไว้ในทุกๆ 5 ปี ซึ่งเป้าหมายสำคัญของการจัดทำยุทธศาสตร์ชาตินี้ ก็คือนำพาประเทศของเราให้หลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางให้เร็วที่สุด และในอีก 20 ปี เราต้องเป็นประเทศที่มีรายได้ที่มั่นคง เพียงพอต่อความเป็นอยู่ที่ดี และประชาชนมีความสุข
          หลายๆ ท่านอาจมีคำถามว่า การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศระยะยาวจะมี ประเทศระยะยาวหลักๆ จะประโยชน์กับเราหลายข้อ ข้อแรก คือ ทำให้เกิดแนวทางการพัฒนาประเทศที่มีความชัดเจนและเห็นเป้าหมายในอนาคตร่วมกันตั้งแต่แรก และที่สำคัญ ทำให้การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ ข้อที่สอง คือ เป็นการช่วยจัดลำดับความ สำคัญของประเด็นการพัฒนาต่างๆ ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการและสถานะการเงินการคลังของประเทศ ซึ่งจะช่วยให้การแก้ไขปัญหาพื้นฐานและเร่งด่วนได้รับการจัดสรรงบประมาณและ
          นอกจากนั้น การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีนั้น จะดำเนินการควบคู่ไปกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งปัจจุบันเป็นฉบับที่ 12 และนโยบายความมั่นคงแห่งชาติด้วย รวมถึงนโยบายของรัฐบาล แผนบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติการของหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การดำเนินงานสอดประสานและมีพลังในการขับเคลื่อนอย่างเต็มที่

ท่านผู้มีเกียรติครับ
          การดำเนินการจัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติโดยคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ ข้อมูลความรู้ การศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ทั้งภายนอกและภายในประเทศ อย่างรอบคอบ รวมทั้งได้มีการวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่คาดว่าจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ อย่างรอบด้าน เพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ข้อจำกัด และความเสี่ยงของประเทศ นอกจากนี้ ยังได้มีการรับฟังความเห็นจากภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ เพื่อนำข้อคิดเห็นมาประกอบ การจัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติให้มี ความสมบูรณ์มากขึ้นด้วย ทั้งนี้ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 ได้ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะ รัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว

สถานการณ์และแนวโน้มในการพัฒนาประเทศ
          ปัจจุบันประเทศไทยต้องเผชิญกับความท้าทายในการพัฒนาในหลายมิติ ทั้งในมิติเศรษฐกิจที่โครงสร้างเศรษฐกิจยังไม่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยนวัตกรรมอย่างเต็มที่ ผลิตภาพการผลิตของภาคบริการและภาคเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำ คุณภาพและสมรรถนะของแรงงานที่ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการในการขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ มิติทางสังคมที่การยกระดับรายได้ของประชาชนเพื่อแก้ปัญหาด้านยากจนและความเหลื่อมล้ำ การพัฒนาคุณภาพการให้บริการและการขยายโอกาสในการเข้าถึงระบบบริการสาธารณะยังคงมีช่องว่างที่สามารถพัฒนาต่อไปได้ มิติสิ่งแวดล้อม ที่การฟื้นฟูและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังเป็นประเด็นสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศให้ได้อย่างยั่งยืน และมิติของการบริหารจัดการภาครัฐ ที่ยังขาดการทำงานแบบบูรณาการและความยืดหยุ่นในการตอบสนองความต้องการในการแก้ปัญหาของประชาชนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
          สำหรับในส่วนของความท้าทายต่างๆ ที่คาดว่าจะมีผลต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาวนั้นก็พบว่ามีสถานการณ์ที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายมิติ ทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีสัดส่วนประชากรวัยแรงงานลดลงและประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดด ความท้าทายใหม่ๆ ซึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของความสัมพันธ์ระหว่าง การเชื่อมโยงกันอย่างซับซ้อนจากการรวมกลุ่มภายในภูมิภาคและการเปิดเสรีด้านต่าง ๆ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะก่อ ให้เกิดความท้าทายในการพัฒนาประเทศ ทั้งในมิติความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

6 ยุทธศาสตร์การพัฒนาของ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580
          จากเงื่อนไขโครงสร้างประชากร โครงสร้างเศรษฐกิจ สภาพสังคม สภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยการพัฒนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องข้างต้น จะเห็นได้ว่าการพัฒนาประเทศจึงจำเป็นต้องมียุทธศาสตร์การพัฒนาระดับชาติที่ครอบคลุมทุกมิติและทุกด้านการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง มีความร่วมมือในลักษณะ หุ้นส่วนการพัฒนาที่เป็นการดำเนินงานอย่างบูรณาการ โดยจำเป็นต้องมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
          รวมทั้งปัจจัยขับเคลื่อนและปัจจัยสนับสนุนการพัฒนาที่ครอบคลุมทุกมิติ ส่งผลให้เกิดการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติทั้งหมด 6 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านความมั่นคง (2) ด้านการสร้างความ สามารถในการแข่งขัน (3) ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (4) ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม (5) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (6) ด้านการปรับสมดุล โดยการดำเนินการของยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน มีเป้าหมายเพื่อให้ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชน มีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” ซึ่งเป็น เห็นภาพร่วมกัน

ท่านผู้มีเกียรติครับ
ผมจะขอกล่าวถึงยุทธศาสตร์ชาติ ในแต่ละด้านโดยสรุปสั้น ๆ ดังนี้
          ด้านความมั่นคง ซึ่งเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญ คือ ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข ชีวิตความเป็นอยู่ปลอดภัย ซึ่งเป็นผลจากการที่ประเทศมีเอกราช อธิปไตย และมีความสงบเรียบร้อย มุ่งเน้นการพัฒนาคน เครื่องมือ เทคโนโลยี และข้อมูลให้พร้อมรับมือกับภัยคุกคามและภัยพิบัติในทุกรูปแบบ ควบคู่ไปกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่อาจจะเกิดขึ้น ในอนาคต ใช้กลไกการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการ ซึ่งรวมถึงประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศทั่วโลกบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล

ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน มีเป้าหมายการพัฒนาที่มุ่งเน้นการยกระดับศักยภาพของประเทศในหลากหลายมิติ บนพื้นฐานแนวคิด 3 ประการ ได้แก่
          (1) “ต่อยอดอดีต” โดยมองกลับไปที่รากเหง้าทางเศรษฐกิจ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และจุดเด่นทางทรัพยากร ธรรมชาติที่หลากหลาย รวมทั้งความได้เปรียบของประเทศในด้านอื่นๆ และนำมาประยุกต์ผสมผสานกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้สอดรับกับบริบทของเศรษฐกิจและสังคมโลกสมัยใหม่
          (2) “ปรับปัจจุบัน”เพื่อปูทางสู่อนาคต ผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในมิติต่างๆ ทั้งโครงข่ายระบบคมนาคมและขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และดิจิทัล และการปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการอนาคต
          (3) “สร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต” ด้วยการเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการ พัฒนาคนรุ่นใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบธุรกิจ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด บนพื้นฐานของการต่อยอดอดีตและปรับปัจจุบัน พร้อมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐ ให้ประเทศสามารถสร้างฐานรายได้และการจ้างงานใหม่ ขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนในเวทีโลก ควบคู่ไปกับการยกระดับรายได้และการกินดี อยู่ดี รวมถึงการเพิ่มขึ้นของคนชั้นกลางและลดความเหลื่อมล้ำของคนไทยได้ในคราวเดียวกัน
          ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ มีเป้าหมายสำคัญเพื่อพัฒนาคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็น คนดี เก่ง และมีคุณภาพ เป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 มีทักษะสื่อสาร และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยมีสัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง
          ทางสังคม มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญที่ให้ความสำคัญกับการดึงพลังของภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคเอกชน ประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น มาร่วมขับเคลื่อน และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตนเอง และการเตรียมความพร้อมของประชากรไทย ทั้งในมิติสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม ให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพ สามารถพึ่งตนเอง และทำประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้นานที่สุด โดยรัฐให้หลักประกันการเข้าถึงบริการและสวัสดิการ ที่มีคุณภาพอย่างเป็นธรรม ทั่วถึง และยั่งยืน
          ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีเป้าหมายสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ธรรมาภิบาล และความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างกัน ทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างบูรณาการในการผลักดันการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยเป็นการดำเนินการบนพื้นฐานการเติบโตร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต โดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลทั้ง 3 ด้าน อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไปอย่างแท้จริง
          ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ มีเป้าหมายการพัฒนาที่สำคัญเพื่อให้เกิดภาครัฐที่ยึดหลัก “ภาครัฐของประชาชนเพื่อประชาชนและประโยชน์ส่วนรวม” โดยภาครัฐต้องมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ มีการแยกแยะบทบาทหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในการกำกับและการให้บริการ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล ปรับวัฒนธรรมการทำงานให้มุ่งผลสัมฤทธิ์และผลประโยชน์ส่วนรวม มีความทันสมัย และพร้อมที่จะปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกอยู่ตลอดเวลา
          นอกจากนี้ ทุกภาคส่วนในสังคมต้องร่วมกันปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์สุจริต ความมัธยัสถ์และสร้างจิตสำนึกในการไม่ยอมรับการทุจริตประพฤติมิชอบอย่างสิ้นเชิง นอกจากนั้น กฎหมาย กฎระเบียบต้องมีความชัดเจน มีเท่าที่จำเป็น มีความทันสมัย เป็นสากล มีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำและเอื้อต่อการพัฒนา ที่จะเป็นการนำประเทศไปสู่การนำนวัตกรรมมาใช้ได้ดีขึ้น

ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจาก (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580

ท่านผู้มีเกียรติครับ
          ที่ผ่านมาพวกเรามักจะได้ยินกันว่า (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติประกอบด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านใดบ้าง แต่ว่า จะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการพัฒนาประเทศ ตาม (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้ ซึ่งจริงๆ แล้ว มีความเกี่ยวข้องของกับพวกเราทุกคนอย่างใกล้ชิด ผมจึงอยาก จะขอให้ทุกๆ ท่านลองจินตนาการภาพอนาคตประเทศที่เราจะเห็นในแต่ละช่วงวัยของเราในฐานประชาชนของประเทศ ที่เป็นผลจากการพัฒนาตาม (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของพวกเราไปด้วยกัน
          อันดับแรก เราจะเห็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่เริ่มตั้งแต่ครรภ์มารดาถึงปฐมวัย เด็กและมารดาทุกคนจะได้รับการดูแลที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ และสมวัย ผ่านระบบบริการสาธารณะที่มีคุณภาพและกระจายทั่วทุกภูมิภาค โดยเด็กจะเกิดมาท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ปลอดภัย สงบสุข เติบโตในพื้นที่สะอาด อากาศบริสุทธิ์ มีน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภค บริโภค ได้รับการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ผู้ปกครองที่จะมีเวลาให้กับลูกมากขึ้น พร้อมทั้งมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเลี้ยงดูและศูนย์เด็กเล็กที่พ่อแม่ทุกคนสามารถเข้าถึง มีคุณภาพ และเอื้อต่อการเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตได้อย่างดี มีทักษะ สู่ช่วงวัยต่อๆ ไป
          หลังจากปฐมวัย ก็จะเป็นการก้าวเข้าสู่วัยเรียน ทั้งในระดับประถมและมัธยม ที่นักเรียนทุกคนจะได้รับการพัฒนาทักษะ ความรู้ความสามารถผ่านอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนและกระบวนการเรียนการสอนที่ทันสมัยที่เท่าเทียมกัน มี “ครู” ที่จะมีบทบาทมากกว่าการเป็นผู้สอน แต่เป็น “ผู้อำนวยการการเรียนรู้” ที่จะคอยกระตุ้น สร้างแรงบันดาลใจ แนะนำวิธีเรียนรู้และจัดระเบียบการสร้างความรู้ เพื่อให้นักเรียนได้รับการปูพื้นฐานความพร้อมทั้งกาย ใจ และปัญญา ได้รับการปลูกฝังวัฒนธรรมการใช้ชีวิตในสังคมที่ดี ให้เป็นคนดี มีจิตสาธารณะ มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และพร้อมรองรับการพัฒนาของช่วงวัยต่อไป
          ช่วงวัยต่อไปถือเป็นช่วงวัยที่มีความ สำคัญมาก ซึ่งก็คือวัยรุ่น - นักศึกษา ที่จะได้เรียนรู้จากระบบการเรียนการสอนที่มุ่งให้พวกเขาเติบโตมาเป็นวัยแรงงานที่มีคุณภาพและมีความสุข มีอาชีพตามความถนัด ความสนใจ และความชอบ มีทักษะการดำรงชีวิตในโลกศตวรรษที่ 21 ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดงาน มีทักษะชีวิต และทัศนคติที่พร้อมเผชิญและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ มีการเตรียมพร้อมด้านดิจิทัล และตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาร่างกายให้แข็งแรง มีสุขภาวะที่ดี เติบโตเป็นวัยแรงงานที่จะสร้างรายได้และขับเคลื่อนประเทศได้อย่างเต็มที่
          วัยแรงงาน จะเป็นช่วงวัยสำคัญหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศ ซึ่งเราจะได้เห็นการกระจายความเจริญไปสู่ทุกภูมิภาคของประเทศในอนาคต โดยจะมีการพัฒนาแรงงานให้สอดคล้องกับ บริการและท่องเที่ยว และภาคเกษตร ทำให้คนในวัยแรงงานจะสามารถทำงานได้ในภูมิลำเนาของตนเอง ไม่ต้องเดินทางเข้าเมืองหลวงเพื่อแสวงหาโอกาสที่ดีกว่าเฉกเช่นปัจจุบัน สามารถได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว เลี้ยงดูบุตรหลานและดูแลญาติผู้ใหญ่ได้เต็มที่มากขึ้น นอกจากนี้ ยังจะมีโครงสร้างพื้นฐานที่อำนวยความสะดวกต่อการทำงานและเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ทำให้วัยแรงงานได้รับการยกระดับจาก “ผู้ใช้แรงงาน” เป็น “ผู้ใช้พลังสมอง” ที่สามารถเข้าถึงแหล่งทุน นวัตกรรม เทคโนโลยี และข่าวสารข้อมูลได้สะดวก มีความรู้การบริหารจัดการทางการเงิน ที่จะนำไปสู่การมีหลักประกันทางการเงินหลังเกษียณ
          ผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลและบริการสาธารณะที่มีคุณภาพ ครอบคลุม ทั่วถึง และเข้าถึงได้ มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อ อำนวยต่อการดำเนินชีวิต สามารถพึ่งพา ให้มีส่วนร่วมทางสังคม มีสุขภาพกายและ เป็นอีกหนึ่งแรงพลังในการช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศได้เช่นเดียวกับช่วงวัยอื่นๆ
          นอกจากนี้ ประชากรที่เคยขาดโอกาสกลุ่มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ผู้พิการ ผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อาศัยในประเทศ ก็จะได้รับประโยชน์จากการมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ตามแนวคิด “ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง” โดยที่ประชากรกลุ่มนี้ มีรายได้ สามารถใช้ชีวิตประจำวันร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีศักดิ์ศรีในสังคม ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยและมีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง สามารถเข้าถึงกระบวน การยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียม และได้รับการคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสมและครอบคลุม
          ทั้งนี้ ประชาชนทุกช่วงวัยทุกคน จะอยู่อาศัยร่วมกันในประเทศอย่างมีความสุขที่ยั่งยืน ในสังคมที่เปี่ยมไปด้วยความสามัคคีปรองดอง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความสงบและปลอดภัยจากภัยคุมคามต่าง ๆ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สามารถมีความรู้ มีทักษะในการทำงาน มีอาชีพ มีรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืน ขณะเดียวกัน ก็มีภาครัฐที่ทำงานเพื่อประชาชน อย่างสุจริต โปร่งใส่ และใส่ใจการบริการ ทำงานรวดเร็ว โดยบุคลากรภาครัฐที่เป็นคนดีและเก่ง ยึดหลักคุณธรรม และมีความเป็นมืออาชีพ

การร่วมขับเคลื่อน (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 ไปสู่การปฏิบัติ
          ที่ผ่านมา รัฐบาลได้มีการดำเนินนโยบายให้มีความสอดคล้องกับ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี อย่างต่อเนื่อง ผมอยากขอเน้นย้ำว่า (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้ พวกเราทุกคนมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน และการดำเนินงานตาม(ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ จะไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ได้เลย หากขาดความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนชาวไทยในการร่วมกันขับเคลื่อนประเทศ

ผมขอยกตัวอย่างถึงการดำเนินงานที่สำคัญของรัฐบาล อาทิ การลดความเหลื่อมล้ำของสังคมและการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการของรัฐ ผ่านการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนของ
          (1) การเร่งสร้างโอกาส อาชีพ และการมีรายได้ที่มั่นคง ที่ให้ความสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้มีงานทำและมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพผ่านบริการจัดหางานในประเทศ และสนับสนุนกระบวนการเพิ่มทักษะ  การเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับประชาชน
          (2) การฝึกอาชีพแรงงานกลุ่มเฉพาะเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ ประกอบด้วย ทหารก่อนปลดประจำการ ผู้ผ่านการบำบัดยาเสพติด ผู้ต้องขังก่อนพ้นโทษ ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ประสบภัยธรรมชาติ เยาวชนในสถานพินิจ และชนกลุ่มน้อย รวมทั้ง ได้คุ้มครองแรงงาน ผ่านระบบประกันตนตามมาตรา 33 และ มาตรา 39 ของพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไข และระบบประกันตน ตามมาตรา 40 เพื่อให้แรงงานนอกระบบมีหลักประกันความมั่นคงในชีวิต จำนวน 2.34 ล้านคน (ปี 2560)
          (3) การพัฒนาด้านการบริหารจัดการแรงงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การให้บริการตรวจสอบสิทธิ พร้อมข้อมูลข่าวสารผ่านแอปพลิเคชัน SSO Connect การจัดทำ M-Powered Thailand ศูนย์พัฒนา อาชีพออนไลน์ ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับหางานและสมัครงาน (Smart Job Center) และบริการอิเล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะ ความรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ เป็นต้น
          (4) การพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม/ ซึ่งให้ความสำคัญกับการดูแลผู้สูงอายุ เด็ก สตรี คนพิการ และผู้ด้อย โอกาส โดยมีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ซึ่งมีผู้ลงทะเบียน จำนวน 358,607 คน (ปี 2560) เพื่อดำเนินการจ่ายเงินอุดหนุนแก่กลุ่มเป้าหมาย (ทั่วประเทศ) โครงการจัดทำมาตรฐานศูนย์เด็กเล็กแห่งชาติ
          (5) โครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยการแก้ไขปัญหาและสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย ที่ตั้งเป้าจะยกระดับคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อย ให้ได้มีโอกาสมีที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน ครบด้วยบริการพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต โดยตั้งเป้าไว้ว่าภายในไม่เกิน 20 ปี ผู้มีรายได้น้อยจะมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองครบทุกครัวเรือน
          (6) ระบบหลักประกันสุขภาพครอบคลุม ประชากรในทุกภาคส่วนอย่างมีคุณภาพ ผ่านนโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่”(Universal Coverage for Emergency Patients: UCEP) เพื่อเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตและลดความพิการของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตในการเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่อยู่ใกล้ที่สุดหรือไปถึงเร็วที่สุด โดยไม่ต้องสำรอง เงินค่ารักษาพยาบาล ในระยะเบื้องต้น 72 ชั่วโมงแรก
          (7) โครงการ “ไทยนิยม ยั่งยืน” ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ในการสร้างพลังทางสังคม และลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งเป็นการกระจายโอกาสอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม เพื่อการพัฒนาไปสู่ประเทศไทย 4.0 โดยจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเน้นการเสริมสร้าง ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ภายใต้แนวคิด “ประชารัฐ” และยังได้มีการบูรณาการร่วมกับโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐด้วย ในการอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ไม่สามารถเดินทางมาลงทะเบียนได้ (ปี 2560)
          (8) การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกิน การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่ต้องการจัดที่ดินให้แก่ผู้ยากไร้โดยอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินของรัฐเป็นกลุ่มแต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ และส่งเสริมการประกอบอาชีพตามศักยภาพของพื้นที่ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ปัญหาผู้ยากไร้ ควบคู่ไปกับการจัดระบบและระเบียบการใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ
          การเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลได้ดำเนินโครงการ Agri Map หรือแผนที่การเกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกเพื่อบูรณาการข้อมูลพื้นฐาน การเกษตรเชิงพื้นที่จากทุกหน่วยงานในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำหรับใช้เป็นเครื่องมือบริหารจัดการภาคการเกษตร ของไทยให้มีประสิทธิภาพ และนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC  ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ ภายใต้ไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการพัฒนา เชิงพื้นที่ที่ต่อยอดความสำเร็จมาจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ Eastern Seaboard รวมไปถึงการริเริ่มกรอบแนวคิดการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (SEC) ซึ่งจะเชื่อมพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC) กับทะเลอันดามัน ขยายผลการพัฒนาและกระจายเจริญไปสู่ภูมิภาคได้อย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น
          ในส่วนของการศึกษาและเรียนรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รัฐบาลได้ดำเนินการการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้เกิดความทั่วถึงและเท่าเทียม โดยเริ่มตั้งแต่ (1) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย เพื่อเป็นหลักประกันให้เด็กเล็กได้รับการปกป้อง คุ้มครอง ดูแล และพัฒนาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ และด้านสังคม (2) การขับเคลื่อนโครงการลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อเตรียมผู้เรียนให้พร้อมเข้าสู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนทั้งในและนอกห้องเรียน โดยมีโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการรวม จำนวน 21,417 โรงเรียน (ปี 2560) (3) การขับเคลื่อนโครงการพัฒนารูปแบบการจัดการสอนแบบบูรณาการข้ามกลุ่มสาระวิชาหรือ   สะเต็มศึกษา (STEM Education) ซึ่งเน้นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ตามแนวทางสะเต็มศึกษาให้ครอบคลุมทุกสังกัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ
           สิ่งแวดล้อม การจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย รัฐบาลได้จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564) เพื่อใช้เป็น และของเสียอันตรายในภาพรวมของประเทศ และบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน และในส่วนของการรักษาความมั่นคง ได้มีการเร่งแก้ไขปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การพัฒนาพื้นที่ผ่านการสร้างรายได้ให้กับชุมชนเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดผ่าน การพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนในโรงเรียนอนุบาลและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และการส่งเสริมให้สถานประกอบการมีระบบบริหารจัดการด้านยาเสพติด ผ่านเกณฑ์มาตรฐานโรงงานสีขาว เป็นต้น
          ทั้งนี้ การที่เรามีเป้าหมายการพัฒนาระยะยาว 20 ปีตาม (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 อาจมีความกังวลว่าจะทำให้การพัฒนาประเทศของเราขาดความยืดหยุ่น และไม่ทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากทั้งปัจจัยภายใน และภายนอก ผมขอเรียนว่า ยุทธศาสตร์ชาติสามารถแก้ไขได้โดยให้มีการทบทวนทุก 5 ปี หรือในกรณี ประเทศเปลี่ยนแปลงไปจนไม่สามารถหรือไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการตามเป้าหมายหรือยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งด้านใดได้ หรืออีกนัยหนึ่งคือ มีความหยืดหยุ่นตามสถานการณ์ หากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเห็นสมควรแก้ไขเพิ่มเติมยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวก็สามารถดำเนินการได้ โดยให้คณะกรรมการขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนดำเนินการ

ท่านผู้มีเกียรติทุกท่านครับ

          สำหรับการดำเนินการในขั้นต่อไป คือ การแปลงผลของ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไปสู่การปฏิบัติ ผ่านแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติซึ่งท่านเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะได้ชี้แจงรายละเอียดให้ทุกๆ ท่านทราบต่อไป
          เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาประเทศตาม (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีร่วมกัน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศที่ “พัฒนาแล้ว ที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”  เพื่อสร้าง “อนาคตไทย อนาคตเรา” เพราะยุทธศาสตร์ชาติและประเทศไทยเป็นของเราทุกคน
          บัดนี้ ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิด การประชุมประจำปี 2561 ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เรื่อง “ยุทธศาสตร์ชาติ อนาคตไทย อนาคตเรา” ณ บัดนี้  ขอบคุณครับ

          .....................
          สำนักโฆษก

          ที่มา: http://www.thaigov.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ