นายกฯเผยเลขาฯยูเอ็น.เยือนไทย26ต.ค.นี้ ประชุมผู้นำเอเซีย-ยุโรปฉลุย

ข่าวทั่วไป Sunday October 10, 2010 11:06 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ"เชื่อมั่นประเทศไทยกันนายกฯอภิสิทธิ์" กล่าวถึงการเดินทางเข้าร่วมประชุมผู้นำเอเซียยุโรป ครั้งที่ 8 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ว่า ในการเดินทางไปร่วมประชุมครั้งนี้ ตนได้มีโอกาสหารือกับประเทศต่างๆ ในเรื่องความร่วมกันระหว่างภูมิภาค ร่วมทั้งในเรื่องประเทศพม่า และประเทศกัมพูชา ซึ่งบรรยากาศหารือก้เป็นไปด้วยความเข้าใจกัน รวมทั้งทางเลขาธิการองค์การสหประชาติ(ยูเอ็น.) ได้ประกาศว่าพร้อมที่จะให้ความร่วมในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เพื่อต้องการให้ประเทศได้กลับเข้าสู่ภาวะความมั่นคง

เนื่องจากที่ผ่านมาทางยูเอ็น.มีความคาดหวังกับประเทศไทยอย่างมาก ซึ่งในโอกาสนี้ตนจึงได้เชิญเลขาธิการยูเอ็น.ให้เดินทางเข้ามาเยือนประเทศไทย โดยท่านเลขาธิการยูเอ็น.ได้ตอบรับมาแล้วว่าจะเดินทางมาเยือนประเทศไทยวันที่ 26 ต.ค. ที่จะถึงนี้ เพราะในช่วงเวลาดังกล่าวท่านเลขาธิการยูเอ็น.จะต้องเดินทางมาร่วมประชุมอาเซียนสหประชาชาติที่กรุงฮานอย

การหารือในกาประชุมครั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการหยิบยกปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ถึงแม้ว่าหลายประเทศได้เริ่มคลี่คลายไปแล้วก็ตาม แต่หลายประเทศก็มีความเป็นห่วงและมีความห่วงใยร่วมกัน รวมทั้งการปฎิรูประบบการเงิน และฟื้นฟูสถาบันการเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะธนาคารโลก กองทุนระหว่างประเทศ จำเป็นจะต้องเพิ่มสัดส่วนอำนาจของประเทศกำลังพัฒนา และที่สำคัญในเรื่องของปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนถือว่าเป็นอีกปัญหาที่มีความสำคัญในเวลานี้ เนื่องจากความไม่สมดุลย์ของอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในเวลานี้ โดยเพอย่างยิ่งการอ่อนตัวของค่าเงินดอลล่าร์ทำให้ค่าเงินในภูมิภาคของเรามีความแข็งตัวมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาที่จำเป็นจะต้องมีการประสานงานร่วมกัน ในประเด็นต่างๆ ทางแกนนำประเทศกลุ่มจี 20 ได้มีความเห็นร่วมกันว่าปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเวลานี้สมควรจะต้องนำไปหารือกันที่ประชุมประเทศเกาหลีใต้ และยังเห็นพ้องกันว่าในการประชุมดังกล่าวจำเป็นจะต้องมีข้อยุติที่เป็นรูปธรรมออกมา

"ในการหารือในตลอดสองในการประชุม ถึงแม้ว่าจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันบ้างในบางเรื่อง เช่น ความเห็นของผู้นำยุโรูป กับผู้ทางเอเซีย ในเรื่องของพม่า แต่ในภาพรวมแล้วถือว่าบรรยากาศเป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งผลการประชุมในครั้งนี้ผมมีความเชื่อว่าจะทำให้การประชุมจี 20 และกาประชุมเอเปค และประชุมอาเซียก็ดี น่าจะทำให้ภาพรวมของระบบเศรษฐกิจของโลกน่าจะสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งจะเป็นผู้ดีต่อประเทศไทย เนื่องจากระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยมีความผูกพันธ์กับเศรษฐกิจค่อนข้างมาก" นายกฯกล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวต่อว่า ระหว่างการประชุมในครั้งที่ผ่านมา ตนได้มีโอกาสหารือทวิภาคีกับสหภาพยุโรป ซึ่งประธานสหภาพยุโรป และประธานคณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป มีความต้องการให้การเจรจาในการเป็นหุ้นส่วนระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศไทย การเจรจาการค้าระหว่างกันสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ซึ่งในส่วนประเทศไทยเราเองในเวลานี้กำลังอยู่ระหว่างการทำกรอบการเจรจา และการทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เพื่อให้ข้อตกลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างสูงสุด

อย่างไรก็ตามการภาพรวมในการหารือถือว่าเป็นไปด้วยบรรยากาศที่ดี โดยในหลายเรื่องทางสหภาพยุโรปพร้อมที่จะนำไปพิจารณาแก้ไข ไม่ว่าจะปัญหาการส่งออกผลิตภัณฑ์ไก่สดแช่แข็ง และการต่ออายุสิทธิพิเศษทางการค้า(จีเอสพี.)ของไทยที่กำลังจะหมดอายุในสองสามปีข้างนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ