
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกประกาศเตือนให้เฝ้าระวังน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม จากคาดการณ์มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะมีกำลังแรงขึ้น กับมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบน ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในช่วงวันที่ 23-26 พ.ค.68 ดังนี้
1.พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินโคลนถล่ม ดังนี้
1.1 ภาคเหนือ
- จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อำเภอแม่ลาน้อย แม่สะเรียง และสบเมย)
- จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย แม่สาย ขุนตาล เชียงของ ดอยหลวง แม่จัน แม่ลาว และเวียงป่าเป้า)
- จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเชียงดาว พร้าว แม่แตง แม่อาย สะเมิง และอมก๋อย)
- จังหวัดลำพูน (อำเภอเมืองลำพูน)
- จังหวัดลำปาง (อำเภอเกาะคา และสบปราบ)
- จังหวัดพะเยา (อำเภอปง)
- จังหวัดน่าน (อำเภอเชียงกลาง ท่าวังผา ทุ่งช้าง บ่อเกลือ ปัว ภูเพียง แม่จริม เวียงสา และสองแคว)
- จังหวัดแพร่ (อำเภอลอง วังชิ้น และสูงเม่น)
- จังหวัดอุตรดิตถ์ (อำเภอน้ำปาด และบ้านโคก)
- จังหวัดสุโขทัย (อำเภอศรีสัชนาลัย และสวรรคโลก)
- จังหวัดตาก (อำเภอท่าสองยาง พบพระ วังเจ้า และอุ้มผาง)
- จังหวัดกำแพงเพชร (อำเภอลานกระบือ)
- จังหวัดพิษณุโลก (อำเภอชาติตระการ นครไทย และบางระกำ)
- จังหวัดเพชรบูรณ์ (อำเภอหล่มเก่า)
- จังหวัดอุทัยธานี (อำเภอบ้านไร่)
1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- จังหวัดเลย (อำเภอภูกระดึง ภูเรือ ภูหลวง และวังสะพุง)
- จังหวัดหนองคาย (อำเภอเมืองหนองคาย และโพนพิสัย)
- จังหวัดบึงกาฬ (อำเภอเซกา และบึงโขงหลง)
- จังหวัดกาฬสินธุ์ (อำเภอกุฉินารายณ์ ดอนจาน และร่องคำ)
- จังหวัดอุดรธานี (อำเภอบ้านผือ และเพ็ญ)
- จังหวัดสกลนคร (อำเภอเมืองสกลนคร โคกศรีสุพรรณ เต่างอย โพนนาแก้ว ภูพาน และอากาศอำนวย)
- จังหวัดนครพนม (อำเภอนาแก นาทม นาหว้า บ้านแพง และศรีสงคราม)
- จังหวัดมุกดาหาร (อำเภอเมืองมุกดาหาร ดงหลวง นิคมคำสร้อย และหนองสูง)
- จังหวัดชัยภูมิ (อำเภอเมืองชัยภูมิ เกษตรสมบูรณ์ คอนสวรรค์ และคอนสาร)
- จังหวัดขอนแก่น (อำเภอบ้านแฮด ภูผาม่าน แวงน้อย และแวงใหญ่)
- จังหวัดมหาสารคาม (อำเภอกุดรัง โกสุมพิสัย บรบือ พยัคฆภูมิพิสัย และยางสีสุราช)
- จังหวัดร้อยเอ็ด (อำเภอพนมไพร โพธิ์ชัย โพนทอง เมยวดี สุวรรณภูมิ เสลภูมิ และหนองพอก)
- จังหวัดยโสธร (อำเภอเมืองยโสธร กุดชุม ค้อวัง ทรายมูล และเลิงนกทา)
- จังหวัดอำนาจเจริญ (อำเภอเมืองอำนาจเจริญ ชานุมาน ปทุมราชวงศา พนา และลืออำนาจ)
- จังหวัดนครราชสีมา (อำเภอปากช่อง วังน้ำเขียว)
- จังหวัดศรีสะเกษ (อำเภอเมืองศรีสะเกษ ขุนหาญ และราษีไศล)
- จังหวัดอุบลราชธานี (อำเภอเมืองอุบลราชธานี นาจะหลวย และวารินชำราบ)
1.3 ภาคตะวันตก
- จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอทองผาภูมิ ไทรโยค ศรีสวัสดิ์ และสังขละบุรี)
- จังหวัดราชบุรี (อำเภอบ้านคา)
- จังหวัดเพชรบุรี (อำเภอแก่งกระจาน)
1.4 ภาคตะวันออก
- จังหวัดนครนายก (อำเภอเมืองนครนายก ปากพลี และบ้านนา)
- จังหวัดปราจีนบุรี (อำเภอเมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม กบินทร์บุรี และนาดี)
- จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา และบ้านโพธิ์)
- จังหวัดสระแก้ว (อำเภอตาพระยา)
- จังหวัดชลบุรี (อำเภอบางละมุง พนัสนิคม และพานทอง)
- จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง ท่าใหม่ นายายอาม และแหลมสิงห์)
- จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด เขาสมิง คลองใหญ่ บ่อไร่ และแหลมงอบ)
1.5 ภาคใต้
- จังหวัดชุมพร (อำเภอเมืองชุมพร ท่าแซะ ละแม สวี และหลังสวน)
- จังหวัดระนอง (อำเภอเมืองระนอง ละอุ่น และสุขสำราญ)
- จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอชัยบุรี บ้านตาขุน บ้านนาสาร และพนม)
- จังหวัดพังงา (อำเภอเมืองพังงา กะปง เกาะยาว คุระบุรี ตะกั่วป่า และท้ายเหมือง)
- จังหวัดกระบี่ (อำเภอคลองท่อม ปลายพระยา เหนือคลอง และอ่าวลึก)
- จังหวัดภูเก็ต (อำเภอถลาง)
- จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ท่าศาลา และพรหมคีรี)
- จังหวัดสงขลา (อำเภอสะเดา และสะบ้าย้อย)
- จังหวัดยะลา (อำเภอบันนังสตา เบตง และยะหา)
- จังหวัดนราธิวาส (อำเภอจะแนะ แว้ง และสุไหงปาดี)
2.เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่า 80% บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน น่าน แพร่ พะเยา สุโขทัย พิษณุโลก นครสวรรค์ หนองคาย สกลนคร ชัยภูมิ มุกดาหาร นครพนม นครราชสีมา ศรีสะเกษ อุบลราชธานี สระแก้ว ชลบุรี ตราด สุพรรณบุรี สระบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา
ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้
1.ติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ตลอด 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วม รวมถึงพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน
2.ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ปรับการบริหารจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก น้ำในลำน้ำ รวมถึงเขื่อนระบายน้ำและประตูระบายน้ำ ให้สอดคล้องกันตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำและ อิทธิพลของการขึ้น-ลงของน้ำทะเลโดยการเร่งระบายและพร่องน้ำรองรับสถานการณ์ฝนที่คาดว่าจะตกหนัก
3.เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสาร เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
4.ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการขนของขึ้นสู่ที่สูงหรืออพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์