"พรเทพ"ยันบริหารจัดการน้ำระหว่างศปภ.-กทม.ไม่มีปัญหา เตรียมลงพื้นที่ร่วมกัน

ข่าวทั่วไป Tuesday November 1, 2011 17:19 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายพรเทพ เตชะไพบูลย์ รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานคร(กทม.)เปิดเผยผลการหารือร่วมกันระหว่ากทม.และ ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย(ศปภ.)ว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำที่เป็นปัญหาคือปริมาณน้ำทุ่งที่ยังค้างอยู่กว่า 4 พันกว่าล้าน ลบ.ม. เนื่องจากตอนนี้น้ำหนุนจากน้ำทะเลลดลง ขณะที่น้ำท่าเจ้าพระยาคงที่ โดยทาง กทม.และศปภ.จะทำงานกันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และชี้แจงให้ความเข้าใจกับประชาชน

ในช่วงเย็นวันนี้เตรียมลงพื้นที่บริเวณคลองสามวาเพื่อไปสำรวจความเสียหายและทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ โดยจะพยายามหารูปแบบทำให้ทุกฝ่ายรับได้ เพราะยอมรับว่าจากการเปิดประตูระบายน้ำที่คลองสามวาเพิ่มสูงขึ้นอาจจะส่งผลกระทบไปยังประชาชนที่อยู่บริเวณด้านล่างหรือนิคมอุตสาหกรรมบางชัน และนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง และอาจทำให้เกิดปัญหาการบริหารจัดการน้ำในคลองแสนแสบด้วย

สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาการป้องกันน้ำเหนือลงมาซ้ำเติมสถานการณ์ในขณะนี้คือการนำถุง Big Bag บรรจุทรายนำไปขวางทางน้ำ เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงมาบริเวณด้านใต้ฝั่งดอนเมือง รวมถึงจะพยายามควบคุมให้ปริมาณน้ำระบายออกทางฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกมากที่สุด

ด้านนายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา กรรมการบริหารจัดการน้ำ ศปภ. กล่าวว่า ปัญหาเร่งด่วนในขณะนี้คือการจัดการในพื้นที่ฝั่งตะวันออก โดยมีแนวคิดเห็นตรงกันว่า ต้องบริหารจัดการโดยดูระดับน้ำในภาพรวมเป็นตัวตั้ง จากนั้นจะไปดูเครื่องมือในการจัดการ เช่น คลอง ประตุระบายน้ำ เครื่องสูบน้ำ ฯลฯ โดยทำไปในทิศทางเดียวกัน

ในบ่ายวันนี้จะเดินทางไปพื้นที่เพื่อดูปัญหา ลดระดับประตูระบายน้ำคลองสามวาว่าจะสามารถใช้เครื่องมือบริการจัดการอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ และหากจำเป็นก็ต้องมีการเยียวยาเพื่อหาข้อยุติที่ทุกฝ่ายรับได้

ขณะที่ระยะยาว ต้องดูทางฝั่งตะวันตกด้วย คือ ธนบุรีและปริมณฑล ดูระบบคลองที่มีปัญหา รวมทั้งปัญหาอุปสรรคทางกายภาพ อาทิ วัชชพืช สิ่งก่อสร้างกีดขวางในลำน้ำ

"การทำงานระหว่างกทม.และศปภ.ยังมีกาปรระสานกันอย่างตอ่เนื่อว มีการแลกเปลี่ยนหารือกัน"นายอานนท์ กล่าว

นายสัญญา ชีนิมิตร ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ กทม. กล่าวว่า ขณะนี้คลองสามวายังสามารถบริหารจัดการได้โดยยังไม่ส่งผลกระทบไปพื้นที่อื่น หรือนิคมอุตสาหกรรมบางชัน แต่ยอมรับว่าปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามีมากกว่าปริมาณที่ระบายออก แต่จะพยายามเร่งบริหารจัดการให้เข้าสู่ภาวะสมดุลให้มากที่สุด


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ