กรมการข้าวร่วมกับสถาบันนิวเคลียร์ฯผุด4แนวทางปราบเพลี้ยกระโดดอย่างยั่งยืน

ข่าวทั่วไป Tuesday May 22, 2012 17:37 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายชาญพิทยา ฉิมพาลี รองอธิบดีกรมการข้าว เปิดเผยว่า กรมการข้าวได้หารือร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ถึงแนวทางในการทำงานวิจัยร่วมกันในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้าตาล สรุปได้ 4 แนวทาง คือ

แนวทางที่ 1 การทำหมันแมลง โดยจะเป็นการทำหมันเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในลักษณะนำแมลงชนิดเดียวกันมาเลี้ยง ให้รังสีแกมมาควบคุมอัตราการเกิดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ทำให้เป็นหมันแล้วปล่อยสู่ธรรมชาติ ผลที่ได้ประชากรของแมลงต่อไปเป็นหมัน ข้อดีไม่ทำลายธรรมชาติ ประสิทธิภาพการกำจัดสูงกว่า โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในธรรมชาติน้อยทำให้เกิดการสูญพันธุ์ได้ ขณะที่พื้นที่ที่มีประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะมีประสิทธิภาพต่ำเนื่องจากต้องแข่งขันกับประชากรในธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม ในระยะยาวจะมีความคุ้มทุนมากกว่าเทคโนโลยีอื่น ลดการใช้สารเคมีฆ่าแมลงเกิดสมดุลใหม่ในระบบนิเวศ ซึ่งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จะเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ

แนวทางที่ 2 การทดสอบผลของน้ำหมักสะเดาและน้ำคั้นสับปะรดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลโดยใช้ร่วมกับวิธีการจัดระบบการปลูกข้าว ซึ่งเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลจะอ่อนแอต่อน้ำมันสะเดาทาให้หยุดกินอาหาร ตัวเต็มวัยลดการผสมพันธุ์วางไข่น้อยลง ไข่ฝ่อไม่ฟักเป็นตัว ตัวอ่อนไม่ลอกคราบ รวมทั้งขับไล่ตัวเต็มวัย ส่วนน้ำคั้นผลสับปะรดมีผลในการทาลายผนังลำตัวและเปลือกไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ซึ่งกรมวิชาการเกษตรและกรมการข้าวสนใจทดสอบเพื่อนำข้อมูลไปสู่การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากสารธรรมชาติในด้านการอารักขาพืชต่อไป

แนวทางที่ 3 การใช้สารซิลิก้า เพื่อควบคุมการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลซึ่งเป็นการดำเนินงานต่อจากงานวิจัยเดิมของศูนย์วิจัยข้าวพระนครศรีอยุธยา ซึ่งคาดหวังว่า จะสามารถลดจานวนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล รวมทั้งหนอนกอ และโรคข้าวได้ ทั้งนี้ถ้าต้นข้าวไม่มีสารซิลิก้า ต้นข้าวจะอ่อนแอต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล การดำเนินการจะยึดหลักควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้อยู่ในระดับไม่สร้างความเสียหาย โดยการทำให้น้ำเลี้ยงต้นข้าวเป็นพิษต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

แนวทางที่ 4 การสร้างประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่อ่อนแอต่อสารเคมีและสภาพแวดล้อมนำไปผสมพันธุ์กับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในธรรมชาติ เพื่อให้ได้กลุ่มประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่มีความอ่อนแอ ซึ่งจะเป็นการลดความต้านทานของเพลี้ยต่อสารเคมีและสภาพแวดล้อม รวมกับการสร้างพันธุ์อ่อนแอโดยดำเนินการร่วมกับการใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ