"อนุสรณ์"แนะปฏิรูประบบประกันสุขภาพ หวั่นประสบปัญหาการเงินภายใน 10 ปี

ข่าวทั่วไป Sunday December 27, 2015 12:27 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ และคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว

ว่า เห็นด้วยกับความจำเป็นในการปฏิรูประบบประกันสุขภาพเพื่อความยั่งยืนทางการเงินของระบบสวัสดิการสุขภาพในอนาคต โดยหาก

ไม่มีการปฏิรูประบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคย่อมทำให้ระบบสวัสดิการด้านสุขภาพของไทยประสบปัญหา

ทางการเงินภายใน 10 ปีนี้อย่างแน่นอน ประกอบกับโครงสร้างประชากรก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้นตามลำดับ ก็จะทำให้ค่าใช้จ่าย

ทางด้านการรักษาพยาบาลจะเพิ่มสูงมากขึ้นทุกปี

สำหรับปัญหาความไม่ยั่งยืนทางการเงินระบบสวัสดิการสุขภาพสามารถแก้ไขด้วยการพัฒนาระบบการร่วมจ่ายสำหรับ

ประชาชนที่มีศักยภาพในการจ่ายร่วมได้ นอกจากนี้หากรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันได้ในทุกระดับจะสามารถประหยัด

เงินงบประมาณได้ปีละไม่ต่ำกว่า 150,000-200,000 ล้านบาทซึ่งเป็นจำนวนมากเพียงพอที่จะสนับสนุนระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้

มีความยั่งยืน

ทั้งนี้ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีสัมฤทธิ์ผลที่น่าประทับใจในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สามารถทำให้ประชาชนเข้าถึง

บริการสุขภาพที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น อัตราการใช้บริการ ผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราความชุกของการเข้าไม่ถึง

บริการ สุขภาพที่จำเป็น (unmet need) ของประชาชนไทยอยู่ในระดับที่ต่ำมาก ลดภาระ รายจ่ายด้านการรักษาพยาบาลของครัว

เรือนโดยเฉพาะในกลุ่มคนจน ทำให้ลดช่องว่าง ความเหลื่อมล้ำของภาระรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลของครัวเรือนระหว่างกลุ่มคนยาก

จน และกลุ่มคนรวย

นอกจากนั้นระบบนี้ยังทำให้การอุดหนุนงบประมาณภาครัฐไปสู่กลุ่มคนจนเพิ่มขึ้น และอุบัติการณ์ของครัวเรือนที่ยากจนอันเนื่อง

มาจากการจ่ายค่ารักษา พยาบาลลดลงจาก 2.7% ในปี 2543 ก่อนระบบ 30 บาทรักษาทุกโรคและพัฒนามาเป็นระบบประกันสุขภาพ

ถ้วนหน้า มาเป็น 1% ในปี 2557 นับเป็นสถิติตัวเลขที่ดีกว่าประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ

สำหรับข้อเสนอทางนโยบายการปฏิรูประบบสวัสดิการสุขภาพเพื่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเงินนั้น เห็นว่าระบบหลักประกัน

สุขภาพถ้วนหน้าในอนาคต ยังมีเป้าประสงค์หลักเช่นเดิม คือ การสร้างความเป็นธรรมใน การเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นสำหรับคน

ไทยทุกคน แต่ต้องเปลี่ยนแปลงให้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ 1) อิงระบบภาษีและไม่ต้องจ่ายเมื่อไปใช้บริการ 2) ครอบคลุมสิทธิ

ประโยชน์อย่างรอบด้านและให้ความสำคัญกับระบบบริการปฐมภูมิและบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และ 3) ใช้ระบบงบประมาณ

และการจ่ายค่าบริการแบบปลายปิดเพื่อควบคุมค่าใช้จ่าย

รวมถึงมีกลไกลสำหรับการคุ้มครองสิทธิแก่ประชาชน การให้ข้อมูล และการรับเรื่อง ร้องเรียน มีระบบการชดเชยกรณีได้

รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล รวมถึง การกำหนดให้โรงพยาบาลต้องมีระบบพัฒนาคุณภาพบริการ (hospital

accreditation) การใช้ระบบปลายปิดจะเป็นหลักประกันไม่ให้เกิดภาวะล้มละลายของระบบโรงพยาบาลของรัฐ ต้องมีระบบร่วม

จ่ายสำหรับผู้ที่มีศักยภาพในการจ่ายต้องพัฒนาบทบาทการซื้อบริการและส่งเสริมให้มีการแข่งขันระหว่างหน่วย บริการในพื้นที่ และ แยก

บทบาทระหว่างองค์กรซื้อและองค์กรให้บริการ พัฒนาศักยภาพของระบบบริการสาธารณสุขระดับอำเภอ เพื่อให้สามารถให้ บริการ

สุขภาพที่จำเป็นได้อย่างรอบด้านมากยิ่งขึ้น

รวมถึงพัฒนาประสิทธิภาพของระบบการส่งต่อผู้ป่วยพัฒนาศักยภาพในการใช้ข้อมูลเพื่อติดตามกำกับคุณภาพบริการของหน่วย

บริการต่างๆ โดยควรมีตัวชี้วัดและมาตรวัดเปรียบเทียบ เพื่อประเมิน ผลกระทบของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อผลลัพธ์ด้าน

สุขภาพ การเข้าถึงเทคโนโลยี และบริการป้องกันโรคปฐมภูมิและทุติยภูมิในกลุ่มโรค เรื้อรังที่สำคัญ ลดความไม่เป็นธรรมระหว่างกอง

ทุนต่างๆปรับให้แต่ละกองทุนมีลักษณะใกล้เคียงกันหรือไม่ต่างกัน เช่น ชุดสิทธิประโยชน์ ระบบข้อมูลสารสนเทศ และวิธีการจ่ายค่า

บริการ ควรเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการให้บริการเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันต้องมีระบบการกำกับมาตรฐานเดียวกันทั้ง

สำหรับสถานพยาบาล ภาครัฐและเอกชน การปล่อยให้มีสองระบบและมีมาตรฐานในการกำกับที่แตกต่างกัน อาจไม่เป็นผลดีต่อการ

พัฒนานโยบายและระบบสาธารณสุขในระยะยาว เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ