
คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท น้ำมัน เพื่อรองรับการปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ประเภทน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล โดยมีเป้าหมายไม่ ให้ราคาขายปลีกน้ำมันหน้าสถานีบริการปรับขึ้น เพื่อช่วยเหลือค่าครองชีพของประชาชนในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว
นายพรชัย จิรกุลไพศาล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (สกนช.) เปิดเผยว่า จาก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและปัจจัยทุกด้านแล้ว ประเมินได้ว่า กองทุนน้ำมันฯ สามารถปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรองรับ การปรับขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน ประเภทน้ำมันเบนซิน และน้ำมันดีเซล ได้จนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2568
อย่างไรก็ตาม หากเกิดสถานการณ์วิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิงจนส่งผลกระทบต่อราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศ ทำ ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงขาดสภาพคล่อง จะเสนอให้กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพสามิต พิจารณาปรับลดภาษีน้ำมันลง เพื่อรักษา เสถียรภาพระดับราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศให้อยู่ในระดับราคาที่เหมาะสม ซึ่ง กบน. ได้พิจารณาเห็นชอบปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิง แบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก ได้แก่
ส่วนที่ 1 การปรับลดอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเท่ากับอัตราภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อราชการส่วนท้องถิ่น ตามมติ คณะรัฐมนตรี
ส่วนที่ 2 การพิจารณาค่าการตลาดที่เหมาะสม ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 พ.ค.68 เป็นต้นไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย:บาทต่อลิตร
ชนิดน้ำมัน อัตราภาษีสรรพสามิต ภาษีราชการส่วนท้องถิ่น อัตราเงินกองทุนน้ำมัน เดิม ใหม่ เดิม ใหม่ เดิม ใหม่ ULG 95 6.50 7.50 0.6500 0.7500 10.7100 10.50 GASOHOL95 E10 5.85 6.75 0.5850 0.6750 4.4000 3.70 GASOHOL91 E10 5.85 6.75 0.5850 0.6750 4.4000 3.70 GASOHOL95 E20 5.20 6.00 0.5200 0.6000 2.7000 2.40 GASOHOL95 E85 0.975 1.125 0.0975 0.1125 3.6000 3.60 H-DIESEL 5.99 6.92 0.599 0.6920 3.4200 3.00
ทั้งนี้ การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จะส่งผลให้รายรับของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงประเภทน้ำมัน ลดลง ประมาณวันละ 49.57 ล้านบาทต่อวัน จากประมาณวันละ 393.97 ล้านบาทต่อวัน เป็นประมาณวันละ 344.40 ล้านบาทต่อวัน ขณะที่ฐานะ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 4 พ.ค.68 ติดลบอยู่ที่ 47,779 ล้านบาท แบ่งเป็น บัญชีน้ำมันติดลบอยู่ที่ 2,540 ล้านบาท และบัญชี LPG ติดลบอยู่ที่ 45,239 ล้านบาท
นายพรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กบน.ยังคงยึดมั่นในการดำเนินงานภายใต้กรอบของ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ. ศ.2562 เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันภายในประเทศ พร้อมยืนยันหลักการดำเนินงานที่ "เปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้" เพื่อให้ ประชาชนมั่นใจว่า ทุกมาตรการมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ และประชาชน อย่างแท้จริง