นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 32.48 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจาก ช่วงเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 32.48 บาท/ดอลลาร์
ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวแคบ ๆ อยู่ในกรอบ 32.45 - 32.54 บาท/ดอลลาร์ โดยเย็นนี้ถือว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็ก น้อย เมื่อเทียบกับท้ายตลาดเย็นวานนี้
"ภาพรวมยังคงเคลื่อนไหวตามภูมิภาค และแข็งค่าเล็กน้อยเมื่อเทียบกับท้ายตลาดวานนี้ วันนี้หุ้นบวกเยอะ น่าจะเป็นความคาด หวังเรื่องการดีลภาษีกับสหรัฐฯ" นักบริหารเงินระบุ
โดยคืนนี้ ตลาดรอดูการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ คือ ยอดขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และยอดค้าปลีก เดือนมิ.ย.
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.40 - 32.60 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 148.73 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 148.38 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1592 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1610 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,198.11 จุด เพิ่มขึ้น 40.48 จุด(+3.50%) มูลค่าซื้อขาย 63,374.58 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,500.35 ล้านบาท
- รมช.คลัง กล่าวถึงแนวทางการเจรจามาตรการภาษีกับสหรัฐฯ โดยยืนยันว่า ทีมไทยแลนด์ มีการชั่งน้ำหนักผลกระทบที่จะ
- โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น แถลงว่า รัฐบาลมีความกังวลต่อความเคลื่อนไหวของตลาดปริวรรตเงินตราในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึง
- สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ อนุมัติกติกาหรือเงื่อนไขการอภิปรายร่างกฎหมายกำกับดูแลคริปโทเคอร์เรนซี รวมถึงร่างกฎหมาย
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขานิวยอร์ก กล่าวว่า แม้นโยบายการเงินที่ "คุมเข้มเล็กน้อย" ของเฟดในขณะนี้
- สภาธุรกิจสหรัฐฯ-จีน (USCBC) เปิดเผยผลสำรวจที่ระบุว่า บริษัทอเมริกันที่ลดการลงทุนในประเทศจีนนั้น มีสัดส่วนสูงสุด
- สื่อต่างประเทศรายงานว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยว่า จะกำหนดอัตราภาษีนำเข้าเป็นอัตราเดียวกันสำหรับ
- ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ เปิดเผยว่า การบรรลุข้อตกลงทางการค้ากับญี่ปุ่น ให้แล้วเสร็จภายในเส้นตายวัน
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ยอดส่งออกเดือนมิ.ย.68 ลดลง 0.5% เมื่อเทียบรายปี นับเป็นการลดลงเดือนที่ 2
โดยมีสาเหตุหลักมาจากยอดส่งออกรถยนต์ และเหล็กที่ลดลง ท่ามกลางแรงกดดันจากมาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ซึ่งการส่งออกที่ยัง
คงซบเซานี้ อาจฉุดเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้หดตัวต่อเนื่องในไตรมาส 2/68 หลังจากหดตัวในไตรมาส 1/68 ซึ่งอาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
เชิงเทคนิคได้