สนพ.ปรับราคา LPG ภาคอุตสาหกรรม ชนเพดาน 30.13 บาท/ก.ก.ตามราคาตลาดโลก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 31, 2012 12:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายสุชาลี สุมามาลย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายปิโตรเลียมและปิโตรเคมี สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) ประกาศปรับราคาก๊าซหุงต้ม(LPG) ภาคอุตสาหกรรมชนเพดานราคาที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)กำหนดไว้ 30.13 บาท ต่อกิโลกรัม เนื่องจากราคา LPG ในตลาดโลกถีบตัวสูงขึ้น

สนพ.ให้ปรับขึ้นราคา LPG ภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย.นี้ จากเดิม 29.56 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 30.13 บาทต่อ กิโลกรัม หลังจากราคา LPG ในตลาดโลกในเดือน ก.ย.55 ปรับตัวสูงขึ้นจาก 775 เหรียญสหรัฐต่อตัน เป็น 954 เหรียญต่อตัน ซึ่ง มีผลทำให้ LPG มีต้นทุนเพิ่มขึ้นเป็น 34 บาทต่อกิโลกรัม

"การปรับราคาครั้งนี้ถือเป็นการปรับขึ้นตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)ที่มอบหมายให้ สนพ. สามารถประกาศปรับราคา LPG ให้สะท้อนราคาต้นทุนก๊าซ LPG ที่ผลิตจากโรงกลั่นได้ประจำทุกเดือน แต่ต้องไม่เกิน 30.13 บาทต่อ กิโลกรัม ซึ่งเป็นราคาสูงสุดตามแนวทางการลอยตัว LPG ภาคอุตสาหกรรมของกระทรวงพลังงาน ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือน ก.ค.54"นาย สุชาลี กล่าว

ราคา LPG ตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบและเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้ก๊าซ LPG สูง ซึ่งหากราคา LPG ตลาดโลกมีการปรับขึ้นราคาอย่างต่อเนื่องจนจำเป็นต้องปรับราคา LPG สูงกว่า 30.13 บาทต่อกิโลกรัม ต้องมีการประชุมคณะ กรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.)ที่มี รมว.พลังงาน เป็นประธาน เพื่อพิจารณาอีกครั้ง

นายมนูญ ศิริวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กล่าวว่า การที่รัฐบาลปรับโครงสร้างราคา LPG ภาคอุตสาหกรรม ให้ เป็นไปตามกลไกของตลาดอาจจะส่งผลเสียในอนาคตได้ เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถที่จะควบคุมต้นทุนการผลิตได้แน่นอน เนื่อง จาก LPG ภาคอุตสาหกรรมอิงราคานำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และมีราคาที่ไม่แน่นอน ซึ่งอาจ ทำให้ศักยภาพในการแข่งขันกับตลาดโลกลดลง โดยเฉพาะ AEC ที่จะมีขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ เพราะกลุ่มประเทศสมาชิก โดย เฉพาะมาเลเชียนำ LPG ที่มีอยู่ในประเทศมาใช้ในภาคอุตสาหกรรม ทำให้สามารถควมคุมราคาทุนได้ ขณะที่ต้นทุนพลังงานของไทย ต้องขึ้นลงตามกลไกตลาดโลก เมื่อเข้าสู่ตลาดเสรี AEC อาจทำให้ไทยเสียเปรียบประเทศเพื่อนบ้าน เพราะภาคอุตสาหกรรม มีต้นทุน ด้านพลังงานที่มีราคาแพง

ดังนั้นรัฐบาลจะต้องปรับโครงสร้างราคาให้สะท้อนต้นทุนการผลิตในประเทศ และการนำเข้า โดยให้มีราคาเดียวกันทั้ง ภาคอุตสาหกรรม ขนส่ง และครัวเรือนภายในปี 57 ควรปรับให้สะท้อนต้นทุนของแหล่งผลิตก๊าซ LPG โดยใช้วิธีเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักจาก แหล่งจัดหาก๊าซทั้ง 3 แหล่งคือ โรงแยกก๊าซ, โรงกลั่นน้ำมัน และ ราคานำเข้า (


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ