ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าแรงส่งของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ที่ดีกว่าคาด และปัจจัยสนับสนุน อุปสงค์ในประเทศที่มีมากขึ้นในระยะข้างหน้า ส่งผลให้การคาดการณ์เศรษฐกิจส่าหรับทั้งปี 55 และปี 56 ปรับสูงขึ้นเล็กน้อยจากการประชุมครั้งก่อน มาอยู่ที่ร้อยละ 5.9 และร้อยละ 4.9 ต่อปี ตามล่าดับ โดยการส่งออกจะทยอยกลับมามีบทบาทต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ควบคู่ไปกับอุปสงค์ในประเทศ ตามแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ค่อยๆปรับดีขึ้น
สำหรับความเสี่ยงด้านต่ำต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจปรับลดลงชัดเจนจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่ลดลง แต่ยังคงมากกว่าความเสี่ยงด้านสูง ในส่วนของแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะต่อไป ยังทรงตัวอยู่ในระดับต่ำใกล้เคียงกับการประชุมครั้งก่อน
คณะกรรมการฯ ประเมินว่า ตลอดปีที่ผ่านมานโยบายการเงินที่ผ่อนปรนมีส่วนสำคัญในการสนับสนุน การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจากอุทกภัยและรองรับผลกระทบของเศรษฐกิจโลกที่อ่อนแอได้อย่างน่าพอใจ ภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปและยังคงมีความไม่แน่นอน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อยัง ทรงตัวอยู่ในกรอบเป้าหมาย นโยบายการเงินที่ผ่อนปรนยังเป็นนโยบายที่เหมาะสมในการสนับสนุนให้ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงได้หารือเกี่ยวกับทางเลือกที่เหมาะสมในการดำเนินนโยบายการเงิน และมีข้อสรุปดังนี้ (1)เศรษฐกิจโลกในภาพรวมมีเสถียรภาพมากขึ้น จากเศรษฐกิจสหรัฐฯและจีนที่เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวชัดเจน และเศรษฐกิจเอเชียที่ขยายตัวดีจากแรงส่งของอุปสงค์ในประเทศ แม้คาดว่าปัญหาหนี้สาธารณะ ในกลุ่มประเทศยูโรและปัญหาฐานะการคลังของสหรัฐฯจะยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในระยะต่อไป แต่แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวมีแนวโน้มคืบหน้าเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ความเสี่ยง Tail risk ของเศรษฐกิจโลกลดลงชัดเจน
(2) เศรษฐกิจไทยขยายตัวในเกณฑ์ดี จากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนกอปรกับมีแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ ซึ่งจะทำให้แรงส่งของเศรษฐกิจในประเทศเป็นไปได้อย่างต่อเนื่องอย่างน้อยถึงกลาง ปี 2556 ขณะที่การส่งออกเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวในเกือบทุกหมวดสินค้าและตลาด
(3) ภาวะการเงินในปัจจุบันอยู่ในระดับผ่อนปรนเพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศที่ยังเหลืออยู่ สะท้อนจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงที่ยังติดลบเล็กน้อย และสินเชื่อภาคเอกชนที่ ยังขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่อง ขณะที่การเร่งตัวของสินเชื่อภาคเอกชนโดยเฉพาะสินเชื่อภาคครัวเรือน บางประเภทอาจก่อให้เกิดการเร่งตัวของหนี้ครัวเรือน และนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุลในระบบการเงินได้
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบางท่านให้ข้อสังเกตว่าแม้ระดับอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันมีความเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจการเงินของประเทศ แต่จำเป็นต้องระมัดระวังและติดตามประเด็นความเสี่ยงที่อาจกระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศในระยะข้างหน้าด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเร่งตัวของสินเชื่อและหนี้ภาคครัวเรือน ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายในภาวะที่ประเทศหลักยังดำเนินนโยบายการเงินผ่อนปรนต่อเนื่อง และระดับหนี้สาธารณะของภาครัฐที่แม้ปัจจุบันยังอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลังแต่ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งคณะกรรมการฯ จะติดตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะข้างหน้า