นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 31.06/07 บาท/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 31.04/06 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินในภูมิภาค
"ปรับตัวอ่อนค่าตามแรงรีบาวoNกลับหลังจากบาทแข็งค่าในช่วงปลายสัปดาห์ก่อนค่อนข้างเยอะ" นักบริหารเงิน กล่าว
ปัจจัยที่ส่งผลต้องรอดูตัวเลขเศรษฐกิจของจีนและสหรัฐที่จะทยอยประกาศออกมาหลังกลับมาเปิดทำการอีกครั้ง และทิศทางการไหลเข้า-ออกของเงินทุนจากต่างประเทศ
นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ในกรอบระหว่าง 31.05-31.20 บาท/ดอลลาร์
"ทิศทางยังไม่ชัดเจน วันนี้คงไปไหนไม่ไกล แต่มีแรงซื้อ(ดอลลาร์)มากกว่า" นักบริหารเงิน กล่าว
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 97.95 เยน/ดอลลาร์ อ่อนจากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 97.64/68 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.3672 ดอลลาร์/ยูโร อนค่าจากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.3692/3695 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.วันนี้อยู่ที่ 31.0310 บาท/ดอลลาร์
- China Foreign Exchange Trading System(CFETS) รายงานว่า เงินหยวนแข็งค่าขึ้น 0.20% แตะที่ 6.1352 หยวนต่อดอลลาร์เช้าวันนี้ ทำสถิติสูงสุดครั้งใหม่นับตั้งแต่เดือน ก.ค.2548 หลังจีนปฏิรูปกลไกของอัตราการแลกเงินครั้งใหญ่
- ตลาดหุ้นเอเชียปรับตัวเพิ่มขึ้นเช้านี้ ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะชะลอการปรับลดมาตรการ QE ออกไปก่อน โดยดัชนี MSCI Asia Pacific เพิ่มขึ้น 0.2% แตะระดับ 143.76 จุด เมื่อเวลา 9.48 น.ตามเวลาโตเกียว, ดัชนี NIKKEI 225 ตลาดหุ้นญี่ปุ่นเปิดวันนี้ที่ 14,624.03 จุด เพิ่มขึ้น 62.49 จุด, ดัชนี SSE Composite ตลาดหุ้นจีนเปิดวันนี้ที่ 2,198.11 จุด เพิ่มขึ้น 4.33 จุด, ดัชนี HSI ตลาดหุ้นฮ่องกงเปิดวันนี้ที่ 23,494.37 จุด เพิ่มขึ้น 154.27 จุด, ดัชนี TAIEX ตลาดหุ้นไต้หวันเปิดวันนี้ที่ 8,456.68 จุด เพิ่มขึ้น 15.49 จุด, ดัชนี KOSPI ตลาดหุ้นเกาหลีใต้เปิดวันนี้ที่ 2,054.16 จุด เพิ่มขึ้น 1.76 จุด, ดัชนี FTSE STI ตลาดหุ้นสิงคโปร์เปิดวันนี้ที่ 3,206.01 จุด เพิ่มขึ้น 13.11 จุด, ดัชนี PSE Composite ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เปิดวันนี้ที่ 6,607.83 จุด ไม่เปลี่ยนแปลง, ดัชนี FBMKLCI ตลาดหุ้นมาเลเซียเปิดวันนี้ที่ 1,798.92 จุด ลดลง 0.67 จุด และดัชนี S&P/ASX 200 ตลาดหุ้นออสเตรเลียเปิดวันนี้ที่ 5,330.30 จุด เพิ่มขึ้น 8.80 จุด
- กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เผยญี่ปุ่นมียอดขาดดุลการค้าที่ 9.321 แสนล้านเยนในเดือน ก.ย. ทำสถิติขาดดุลการค้าเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน โดยมียอดส่งออกเพิ่มขึ้น 11.5% จากปีก่อน ขณะที่ยอดนำเข้าขยายตัว 16.5%
- นายจาค็อบ ลิว รมว.คลังสหรัฐ ให้สัมภาษณ์ว่า การที่สหรัฐต้องปิดหน่วยงานของรัฐเป็นเวลานานนับสัปดาห์และความเสี่ยงที่สหรัฐจะเผชิญกับการผิดนัดชำระหนี้นั้นอาจสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ แต่ก็คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีความยืดหยุ่นมากพอที่จะสามารถต้านทานวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้
- ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ ขณะที่ S&P 500 ปิดที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน ส่วน Nasdaq ก็ปิดที่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2543 เพราะได้แรงหนุนจากการรายงานผลประกอบการที่แข็งแกร่งของหลายบริษัท เช่น กูเกิล จีอี และมอร์แกน สแตนลีย์ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลจีดีพีจีนที่ขยายตัวเร็วขึ้นในไตรมาส 3 ประกอบกับกระแสคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะชะลอการปรับลดมาตรการกระตุ้นออกไปก่อน โดยดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 28.00 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 15,399.65 จุด ดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้น 11.35 จุด หรือ 0.65% ปิดที่ 1,744.50 จุด และดัชนี Nasdaq พุ่งขึ้น 51.13 จุด หรือ 1.32% ปิดที่ 3,914.28 จุด
- สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส(WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากเศรษฐกิจจีนที่ขยายตัวเร็วขึ้นในไตรมาส 3 ทำให้มีความหวังว่าอุปสงค์น้ำมันจากประเทศผู้บริโภคน้ำมันรายใหญ่จะเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ราคาน้ำมันยังได้ปัจจัยหนุนจากดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง ท่ามกลางกระแสคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐจะคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณต่อไป โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ย.ปรับตัวขึ้น 14 เซนต์ หรือ 0.14% ปิดที่ 100.81 ดอลลาร์/บาร์เรล ขณะที่ตลอดสัปดาห์ราคาลดลง 1.2% ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์(BRENT) ส่งมอบเดือน ธ.ค.ที่ตลาดลอนดอน ดีดขึ้น 83 เซนต์ หรือ 0.76% ปิดที่ 109.94 ดอลลาร์/บาร์เรล
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อวันศุกร์ เนื่องจากนักลงทุนระยะสั้นเริ่มขายทำกำไร ประกอบกับเป็นการปรับฐานลงทางเทคนิค หลังจากที่ราคาทองพุ่งแรงถึง 3.17% เมื่อวันพฤหัสบดี โดยสัญญาทองคำตลาด COMEX(Commodity Exchange) ส่งมอบเดือน ธ.ค.ปรับตัวลง 8.4 ดอลลาร์ หรือ 0.63% ปิดที่ 1,314.6 ดอลลาร์/ออนซ์ อย่างไรก็ดี ตลอดสัปดาห์สัญญาทองคำพุ่งขึ้น 3.7% ส่วนสัญญาโลหะเงินส่งมอบเดือนธ.ค.ขยับลง 3.4 เซนต์ หรือ 0.15% ปิดที่ 21.913 ดอลลาร์ ขณะที่สัญญาพลาตินัมส่งมอบเดือน ม.ค.เพิ่มขึ้น 2.9 ดอลลาร์ หรือ 0.2% ปิดที่ 1,437.8 ดอลลาร์/ออนซ์ และสัญญาพัลลาเดียมส่งมอบเดือน ธ.ค.ปิดเพิ่มขึ้น 28.50 ดอลลาร์ หรือ 0.4% ปิดที่ 740.65 ดอลลาร์/ออนซ์
- ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักเมื่อวันศุกร์ ขณะที่มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) จะตัดสินใจชะลอการลดวงเงินซื้อพันธบัตรออกไปก่อน หลังจากที่การปิดหน่วยงานรัฐบาลได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจ และอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัว โดยเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 97.800 เยน จากระดับ 97.890 เยน เมื่อวันก่อน และอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 0.9017 ฟรังค์ จากระดับ 0.9023 ฟรังค์ ส่วนเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3685 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3675 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ดอลลาร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 0.9671 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9631 ดอลลาร์สหรัฐ