ได้แก่ โครงการทางราง ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งเป็นเรื่องที่จะดำเนินการต่อเนื่อง โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (รังสิต-บางซื่อ)ที่อยู่ระหว่างการปรับแบบ และโครงการรถไฟทางคู่ และปรับปรุงซ่อมทางรถไฟ , ทางถนน ของกรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท อาทิเช่น แผนจะขยาย 2 เลนเป็น 4 เลน รวมปรับปรุงคุณภาพดีขึ้น และซ่อมแซมทางหลวง , โครงการมอเตอร์เวย์ พัทยา-มาบตาพุด ส่วนทางอากาศยังไม่นับรวมในนี้
ทั้งนี้ โครงการที่จัดทำในงบประมาณในปี 58 นับเป็นเฟสแรกของยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่งของไทย ในช่วงปี 58-65 หรือแผน 8 ปี โดยเฟสแรกนี้คิดเป็นงบลงทุนประมาณ 1.1 แสนล้านบาท หรือ 75% ของงบประมาณปี 58
"กระทรวงคมนาคมจะตั้งงบประมาณเสนอให้สำนักงบประมาณกำลังปรับปรุงอีกครั้งเพื่อให้เป็นไปตามกรอบที่วงเงินงบประมาณกำหนด จะได้ตัวเลขชัดเจนภายใน มิ.ย.และชี้แจงงบประมาณรายกระทรวงในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ส.ค.คงจะแล้วเสร็จในสัปดาห์แรกของเดือน ก.ย."พล.อ.อ.ประจิน กล่าว
ขณะที่งบที่ใช้ในทางอากาศ ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ของบมจ.ท่าอากาศยานไทย (AOT) จะทำคู๋ขนาน โดยคตร. จะตรวจสอบแผนงาน ขณะเดียวกัน ให้ทอท. ได้เตรียมแผนงานมานำเสนอให้คสช.ได้ทราบ ส่วนที่ตรวจสอบไปขึ้นอยูกับ คตร. รวมทั้งเรื่องการจัดซื้อเครื่องบินใหม่ของบมจ.การบินไทย (THAI) ก็จะทบทวนก่อน ส่วนที่ได้สั่งซื้อรอรับมอบก็ต้องดำเนินการต่อไป
ส่วนโครงการรถเมล์เอ็นจีวี กว่า 3 พันคันโดยระหว่างนี้ ให้ คตร. ตรวจสอบทีโออาร์ และตั้งบประมาณ อาจเสนอในงบปี 58 หรือ ปี 59 โดยเท่าที่ได้รับทราบความจำเป็นของโครงการนี้ เพราะสภาพรถเมล์ส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่ดีหากดำเนินโครงการจะรถสภาพที่ดีกว่า ทันสมัย ปลอดภัยมากขึ้น โดยโครงการนี้ก็จะใช้เงินกู้
สำหรับงบประมาณที่ใช้ในยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคม ระยะเวลา 8 ปี ขณะนี้ยังพิจารณาไม่เสร็จ แต่คาดว่าจะสรุปส่วนงบประมาณในเฟสที่ 1 หรืองบประมาณปี 58 ส่วนที่ 2 เป็นโครงร่างยุทธศสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม คาดนำเสนอที่ประชุม คสช.คาดว่า ร่างดังกล่าวจะสรุปได้ในเดือน ก.ค. จากนั้นแล้วแต่ คสช.จะมอบหมายให้คณะปฏิรูปประเทศที่จะดูในภาพรวมทุกด้าน หรือจะจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาใหม่ และเห็นว่าก่อนที่จะวาระปฎิรูปโครสร้างพื้นฐานของประเทศครั้งใหญ่ เรื่องนี้จะมีความชัดเจน
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม กำหนด 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ ยุทธศาตร์รถไฟ 2.ยุทธศาสตร์ขนส่งสาธารณะในกรุงเทพและปริมณฑล 3.ยุทธศาสตร์ถนน 4. ยุทธศาสตร์ทางน้ำ และ ยุทธศาสตร์ทางอากาศ โดยงานส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น 3 เฟส ๆละ 2-3 ปี
งบลงทุนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมจะทำให้สอดคล้องกับความจำเป็น ภายใต้ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และมีมาตรฐานสูงขึ้น เช่น รถไฟทางคู่เมื่อแล้วเสร็จจะทำให้รถไฟวิ่งได้เร็วขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลารอสับหลีกสถานี อีกทั้งมีความแข็งแรงตามมาตรฐานทางเส้นทาง และหัวรถจักร รวมโบกี้ก็มีความเหมาะสม สะดวกกับผู้โดยสารกับการบรรทุกสินค้า
"คสช.ได้กำหนดทำยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เพราะฉะนั้น ยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานจะต้องเชื่อมโยงกับกระทรวงคมนาคม และลงไปถึงเป้าหมายและแผนงานโครงการ ...มีการใช้เม็ดเงินได้อย่างคุ้มค่า"พล.อ.อ. ประจิน กล่าว
ด้านนายสมชัย ศิริวัฒนโชค ปลัดกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ทางสำนักงบประมาณได้เสนอกรอบวงเงินประมาณปี 58 ที่ 1.41 แสนล้านบาท แต่หลังจากหารือกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมแล้วความต้องการงบประมาณ 1.54 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม คาดว่าภายในสัปดาห์นี้น่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน