(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.84/86 คาดแข็งค่าต่อ จับตาตัวเลขศก.สหรัฐ-ประชุม ECB พฤหัสนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 20, 2016 11:06 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.84/86 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิด ตลาดที่ระดับ34.89/91 บาท/ดอลลาร์

ทิศทางเงินบาทวันนี้ยังมีโอกาสแข็งค่าได้ต่อ หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ทยอยประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ไม่ค่อยสด ใสนัก อย่างไรก็ดี วันพฤหัสนี้นักลงทุนติดตามตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์ของสหรัฐ รวมทั้งการประชุม ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่จะมีการประชุมนโยบายการเงิน และแถลงมติเรื่องดอกเบี้ย ซึ่งต้องติดตามว่า ECB จะมีมาตรการ อะไรสำคัญออกมาด้วยหรือไม่

"ช่วงนี้บาทคงแข็งค่าต่อ เพราะหลุดแนวรับที่ 34.90 ไปแล้ว จับตาดูพฤหัสนี้ทั้งฝั่งสหรัฐที่จะมีตัวเลขผู้ขอรับสวัสดิการ การว่างงานรายสัปดาห์ และประชุม ECB ว่าเขาจะทำอะไรกับระบบเศรษฐกิฐในยูโรโซนหรือไม่ ถ้าทำอาจจะมีผลให้เงินยูโรอ่อนค่า เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.75-35.00 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 34.8717 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (19 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.48720% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (19 เม.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.51484%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.94/97 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 109.37/39 เยน/ดอลลาร์
  • สเงินยูโรเช้านี้อยู่ที่ระดับ 1.1366/1370 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.3333/3335 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.9360 บาท/
ดอลลาร์
  • นักค้าเงินธนาคารพาณิชย์ เปิดเผยว่า การเคลื่อนไหวของเงินบาทเมื่อวันที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมา ปิดตลาดที่ระดับ
34.89 บาท/เหรียญสหรัฐ ปรับแข็งค่าขึ้นในรอบประมาณ 1 เดือน โดยช่วงเช้าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 35.95/97 บาท/เหรียญ
สหรัฐ เป็นผลสืบเนื่องจากเงินเหรียญสหรัฐฯปรับอ่อนค่าลงจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่ออกมาไม่ค่อยจะดีนัก บวกกับนักลงทุนได้ขายเงิน
เหรียญสหรัฐออกมาด้วย นอกจากนี้ยังมีเงินทุนต่างชาติไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรและตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องด้วย
  • นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทวัน
ที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 34.95-34.97 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าจากวันก่อนที่ปิดตลาด 35.03
บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเงินบาทที่แข็งค่าเป็นการเคลื่อนไหวตามภูมิภาค หลังมีเงินทุนไหลเข้ามาลงทุน โดยประเมินแนวรับค่าเงิน
บาทรอบนี้อยู่ที่ 34.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนในระยะกลางเงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า สิ้นปียังคงประเมินไว้ที่ 37 บาทต่อ
ดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เกิดจากผู้ประกอบการส่งออกได้แห่ซื้อประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน เพราะวิตกว่า
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะอ่อนค่า ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่า หลังธนาคารกลางสหรัฐฯหรือเฟด ส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยปีนี้เพียง 2
ครั้ง จากต้นปีประเมินไว้ที่ 4 ครั้ง
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (EIC SCB) ระบุถึงกรณีที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(IMF) ออกรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (World Economic Outlook) ในเดือนเมษายน 2016 ซึ่งมีการปรับลดการคาดการณ์
เศรษฐกิจโลกในปี 2016 ลงเหลือ 3.2% จากที่คาดการณ์ไว้ระดับ 3.4% โดยเป็นการปรับลดประมาณการทั้งประเทศพัฒนาแล้ว และ
ประเทศตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา รวมทั้งยังเตือนถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น
  • น.ส.รุ่ง สงวนเรือง ผู้อำนวยการผู้บริหารฝ่ายวิเคราะห์ตลาดการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่าแนะนำให้
ผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าสินค้าเร่งทำประกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า เพื่อป้องกันความผันผวนจากค่าเงิน
เนื่องจากแนวโน้มค่าเงินบาทหลังจากนี้จะผันผวนสูง แม้ล่าสุดค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าทะลุ 34.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐแล้ว แต่หลัง
จากนี้ก็มีโอกาสอ่อนค่าลงได้อีก หากธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (เฟด) ขึ้นดอกเบี้ย ประเมินว่าค่าเงินบาททั้งปีอาจผันผวนระหว่าง
34.5-36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19 เม.ย.)
เนื่องจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อนแอเกินคาด
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลง 8.8% ในเดือนมี.ค. สู่ระดับ 1.09 ล้านยูนิต
ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.ปีที่แล้ว นอกจากนี้ การอนุญาตก่อสร้างบ้านลดลง 7.7% ในเดือนมี.ค. สู่ระดับ 1.09 ล้าน
ยูนิต ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมี.ค.ปีก่อน
  • นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ รวมถึงยอดขายบ้านมือสองเดือนมี.ค., สต็อกน้ำมันราย
สัปดาห์จากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA), จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกรายสัปดาห์, ผลสำรวจแนวโน้ม
ธุรกิจเดือนเม.ย.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย, ดัชนีราคาบ้านเดือนก.พ. และดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนเม.ย.โดย
มาร์กิต
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ หลังจากมีรายงานว่าคนงานในอุตสาหกรรมน้ำมัน
ของคูเวตหลายพันคนยังคงเดินหน้าประท้วงผละงาน เพื่อคัดค้านแผนการลดเงินเดือน โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนพ.ค.พุ่ง
ขึ้น 1.30 ดอลลาร์ หรือ 3.3% ปิดที่ 41.08 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนมิ.ย.เพิ่มขึ้น 1.12
ดอลลาร์ หรือ 2.6% ปิดที่ 44.03 ดอลลาร์/บาร์เรล
  • จีนเปิดตัวสัญญาทองอ้างอิงสกุลหยวนเมื่อวานนี้ (19 เม.ย.) ที่ตลาดซื้อขายทองเซี่ยงไฮ้ (SGE) ทั้งนี้ ราคาสัญญา
ทองอ้างอิงเซี่ยงไฮ้ (SHAU) จะเป็นราคาอ้างอิงสำหรับทองคำแท่ง 99.99% น้ำหนัก 1 กก. โดยมีราคาเป็นสกุลหยวนของจีน

นอกจากนี้ การเปิดตัวราคาสัญญาทองอ้างอิงสกุลหยวน จะเป็นการปูพื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากการซื้อขายทอง สปอต เป็นการซื้อขายสัญญาตราสารอนุพันธ์ เพื่อเพิ่มความน่าดึงดูดของการซื้อขายทองคำแท่งสกุลหยวนในฐานะเครื่องมือทางการเงิน สำหรับนักลงทุนจีนและต่างประเทศ

  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจยุโรป (ZEW) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในเยอรมนีที่มีต่อสภาพ

เศรษฐกิจของประเทศ พุ่งขึ้นแตะ 11.2 ในเดือนเม.ย. จาก 4.3 ในเดือนมี.ค. โดยดัชนีความเชื่อมั่นได้พุ่งขึ้น แม้มีความกังวล

เกี่ยวกับความอ่อนแอของเศรษฐกิจจีน และตลาดเกิดใหม่


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ