ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.24/26 อ่อนค่าจากดอลล์แข็งหลังปธ.เฟดชิคาโกให้มุมมองเชิงบวกในการขึ้นดอกเบี้ย

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 10, 2016 09:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.24/26 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิด ตลาดที่ระดับ 35.12/14 บาท/ดอลลาร์

เช้านี้เงินบาทอ่อนค่าลงจากเมื่อเย็นวาน หลังจากที่ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก ออกมาให้ความ เห็นในเชิงบวกเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ แต่ทั้งนี้ยังคงต้องรอดูตัวเลขเศรษฐกิจอีกระยะ ขณะที่ปัจจัยใน ประเทศเองต้องติดตามการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพรุ่งนี้ (11 พ.ค.) ว่ากนง.จะตัดสินใจปรับ อัตราดอกเบี้ยจากระดับปัจจุบันที่ 1.50% หรือไม่

"บาทอ่อนค่าลง หลังจากที่ประธานเฟด สาขาชิคาโก ออกมาให้มุมมองในเชิงบวกเรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ ซึ่งทำ ให้ดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้น" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน มองว่า วันนี้เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่า โดยคาดว่าจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.20-35.40 บาท/ ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 108.65/70 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 107.80 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1378/1382 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1400 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.1240 บาท/
ดอลลาร์
  • นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กน
ง.) ในวันที่ 11 พฤษภาคมนี้คาดว่า กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ต่อเนื่อง เพราะก่อนหน้านี้ธนาคารพาณิชย์ปรับลด
อัตราดอกเบี้ยไปแล้ว ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีผลกับตลาดจริง อย่างไรก็ตาม กนง.ยังมีรูมที่จะลดอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก แต่ กนง.
อาจเก็บกระสุนไว้ใช้ในระยะต่อไป และเน้นดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม รวมทั้งค่าเงินบาทด้วย ซึ่งค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์
สหรัฐปรับแข็งค่าสูงขึ้น 3% เทียบกับปลายปีก่อน ถือว่าเป็นการแข็งค่าสอดคล้องกับประเทศอื่นในภูมิภาค และยังสามารถแข่งขันด้าน
การส่งออกได้ นอกจากนี้ยังต้องติดตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับขึ้นดอกเบี้ย 1-2 ครั้งใน
เดือนกันยายนและธันวาคม
  • แบงก์ชาติกระตุ้นความต้องการบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ของคนไทย เพิ่มเครื่องรูดบัตรทั่วประเทศ หวังปริมาณการใช้
ช่วยลดต้นทุนบริหารจัดการเงินสด ทำให้ค่าธรรมเนียมการให้บริการลดลง ประเดิมจะปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่าง
ธนาคารต่ำกว่า 25 บาทต่อครั้งในปัจจุบัน
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า เดือน มี.ค.59 สินเชื่อของระบบสถาบันการเงิน (ทั้งธนาคาร
พาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ) มียอดคงค้างอยู่ที่ 16.14 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราการขยายตัว 4.3% เมื่อเทียบกับ
ช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราขยายตัวที่ชะลอลงจากเดือน ม.ค. และ ก.พ.ที่ผ่านมา ที่มีอัตราการขยายตัวที่ 5.3% และ
4.8% ตามลำดับ
  • นายรณดล นุ่มนนท์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า
สถานการณ์ในขณะนี้ ธปท.พยายามดูแลให้สินเชื่อขยายตัวและมีเพียงพอที่จะรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่แล้ว แต่การดูแลคงไม่ใช่
การเข้าไปสั่งให้เร่งปล่อยกู้ หรือหยุดปล่อยกู้แต่อย่างใด
  • คลังจับตาใกล้ชิด 3 กองทุนนอกงบประมาณทั้งสปสช.-ประกันสังคม และกยศ. ชี้เป็นกองทุนใหญ่หากมีปัญหาจะกระทบ
ทั้งประเทศ โดยประกันสังคมให้คุมการใช้จ่ายหรือเพิ่มอายุการเกษียณ สปสช. ศึกษาแนวทางการเพิ่มรายได้-ลดค่าใช้จ่าย และกยศ.
เข้มงวดปล่อยกู้และทวงหนี้
  • สถาบันจัดอันดับเครดิตชั้นนำของโลก สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ประเมินบรรยากาศด้านนโยบายใน
ประเทศไทยยังไม่ดีขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เช่นเดียวกับความไม่แน่นอนอย่างมากทางการเมือง โดยครบรอบ 2 ปีหลังรัฐประหาร
เดือน พ.ค. 2557 รัฐบาลทหารยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นว่าจะปฏิรูปประเทศไปในทิศทางใด โดยมีความพยายามที่จะยืดอายุ
การเลือกตั้งออกไปจากที่เคยกำหนดไว้กลางปี 2560
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (9 พ.ค.) หลัง
จากนายชาร์ลส์ อีแวนส์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นในด้านบวกเกี่ยวกับแนวโน้ม
เศรษฐกิจสหรัฐ โดยกล่าวว่า ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของสหรัฐยังคงแข็งแกร่งและมีแนวโน้มที่จะขยายตัวราว 2.5% ในปีนี้ พร้อม
กับคาดว่า อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐจะปรับตัวลดลงสู่ระดับ 4.75%
  • สกุลเงินยูโรอ่อนแรงลง หลังจากสำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกในยูโรโซน
ร่วงลง 0.5% ในเดือนมี.ค. เมื่อเทียบรายเดือน หลังจากที่ปรับตัวขึ้น 4 เดือนติดต่อกัน
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ จากข่าวที่ว่ารัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้ปลดนาย
อาลี อัล-ไนมี รัฐมนตรีกระทรวงน้ำมัน หลังจากที่ซาอุดิอาระเบียได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภาวะราคาน้ำมันตกต่ำ นอกจากนี้
สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า วิกฤตไฟป่าที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำมันจากชั้นทราย (oil sand) ในแคนาดา
เริ่มบรรเทาลงแล้ว

โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย.ร่วงลง 1.22 ดอลลาร์ หรือ 2.7% ปิดที่ 43.44 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 1.74 ดอลลาร์ หรือ 3.8% ปิดที่ 43.63 ดอลลาร์/บาร์เรล

  • บรรดารัฐมนตรีคลังของยุโรปได้นัดประชุมกันวานนี้ เพื่อหาทางบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการปล่อยเงินกู้งวดใหม่แก่
กรีซ และลดหย่อนหนี้บางส่วน อย่างไรก็ดี การหารือนัดแรกดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุป ซึ่งบรรดา รมว.คลังยุโรปจะกลับมาหารือกันใหม่
อีกครั้งในวันที่ 24 พ.ค.
  • สถาบันวิจัย Sentix เปิดเผยว่า ความเชื่อมั่นของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ในยูโรโซนปรับตัวขึ้นในเดือน พ.ค.

โดยดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 6.2 จากระดับ 5.7 ในเดือนเม.ย. และสูงกว่าที่นักวิคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 6.1 ส่วนดัชนีย่อยเกี่ยวกับสภาวะ

ปัจจุบันในยูโรโซนปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 7.0 จาก 6.0 ในเดือนเม.ย. ซึ่งถือว่าพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในปีนี้ ขณะที่ดัชนีคาดการณ์ใน

อนาคตทรงตัวที่ 5.5


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ