ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.26/28 แนวโน้มแกว่งกรอบแคบ หลังหมดปัจจัยกระตุ้นระยะสั้น

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 17, 2016 09:10 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.26/28 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า ลงเล็กน้อยจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 35.23 บาท/ดอลลาร์

วันนี้คาดว่าเงินบาทจะแกว่งในกรอบแคบๆ เนื่องจากปัจจัยที่สำคัญในสัปดาห์นี้ได้ผ่านไปแล้ว ทั้งการประชุมธนาคารกลาง สหรัฐ (เฟด) และการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งทั้ง 2 แห่งมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิม ขณะที่ปัจจัยใน ประเทศเองยังไม่มีผลกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินเท่าใดนัก

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.20-35.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 104.60 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 104.26 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรเช้านี้ อยู่ที่ระดับ 1.1260 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1237 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.199 บาท/ดอลลาร์
  • สมาคมค้าทองคำ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 59 ได้ประกาศปรับราคารับซื้อและขายทองคำในประเทศ 5
ครั้ง หรือเพิ่มขึ้น 350 บาทภายในวันเดียว ส่งผลให้ราคารับซื้อทองคำแท่งอยู่ที่บาทละ 21,650 บาท ราคาขายออกบาทละ
21,750 บาท ซึ่งสูงสุดในรอบ 34 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 28 ส.ค. 56 ที่ราคาทองคำแท่งรับซื้อที่บาทละ 21,800 บาท และราคา
ขายออกที่บาทละ 21,900 บาท ส่วนราคาทองรูปพรรณ ราคารับซื้อที่บาทละ 21,254.32 บาท และราคาขายออกที่บาทละ
22,250 บาท เนื่องจากอานิสงส์จากธนาคารกลางสหรัฐหรือเฟดประกาศคงอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้กองทุนต่าง ๆ ขายทำกำไรตลาด
หุ้นแล้วหันมาลงทุนในสินค้าที่มีความปลอดภัยหรือความเสี่ยงต่ำอย่างทองคำแทน
  • สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2558 - 2579 (Energy
Efficiency Plan : EEP 2015) ตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการอนุรักษ์พลังงานทั้งในภาพรวมของประเทศและในภาคเศรษฐกิจ
หลัก โดยเฉพาะการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีเป้าหมาย คือ 89,672 ล้านหน่วย(GWh) ในปี 2579 โดยแบ่งออกเป็นเป้าหมายใน
ภาคอุตสาหกรรม 31,843 ล้านหน่วย ภาคอาคารธุรกิจ 37,052 ล้านหน่วย ภาคที่อยู่อาศัย 13,633 ล้านหน่วยและภาครัฐ 7,144
ล้านหน่วย
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (16 มิ.ย.) หลังสหรัฐเปิด
เผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนพ.ค. ในขณะที่นักลงทุนได้ซึมซับการปรับลดมุมมองเศรษฐกิจของธนาคารกลางสหรัฐ
(เฟด) แล้ว
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ขยับขึ้น 0.2% ในเดือนพ.ค. เมื่อเทียบรายเดือน
ส่วนดัชนี CPI พื้นฐานซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ดัชนี CPI พื้นฐานขยับขึ้น 0.2% ในเดือนพ.ค.เช่นกัน
  • นักลงทุนจับตานางเจเน็ต เยลเลน ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะแถลงเกี่ยวกับนโยบายการเงิน และ
ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ ต่อคณะกรรมาธิการการธนาคารประจำวุฒิสภาในวันอังคารหน้า และจะแถลงต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงิน
ประจำสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐในวันพุธหน้า เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสหรัฐเป็นครั้งแรกในปีนี้ หลังจากเฟดปรับขึ้น
อัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 10 ปีเมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลว่าหากอังกฤษแยก
ตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit) ก็จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจทั่วโลก และจะฉุดอุปสงค์พลังงานให้อ่อนแอลง
ด้วย นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และรายงานของเบเกอร์ ฮิวจ์ที่ระบุว่า แท่นขุด
เจาะน้ำมันในสหรัฐปรับตัวสูงขึ้น

โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ร่วงลง 1.80 ดอลลาร์ หรือ 3.8% ปิดที่ 46.21 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่ง เป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค.ปีนี้ ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 1.78 ดอลลาร์ หรือ 3.6% ปิดที่ 47.19 ดอลลาร์/บาร์เรล

  • นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของ Brexit ขณะที่ผลการสำรวจของ Ipsos MORI ระบุว่า จำนวนผู้ที่สนับ

สนุนให้อังกฤษแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก่อนการลงประชามติในวันที่ 23 มิ.ย. ทั้งนี้ Ipsos

MORI ได้ทำการสำรวจผู้ใหญ่ 1,257 คนทั่วอังกฤษในระหว่างวันที่ 11-14 มิ.ย. บ่งชี้ว่าผู้มีสิทธิลงประชามติจำนวน 51% ต้องการ

ออกจาก EU ขณะที่ 49% ต้องการอยู่ใน EU


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ