ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.21/27 นลท.รอลุ้นโหวต Brexit-ประชุมกนง.ในสัปดาห์หน้า

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 17, 2016 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.21/27 บาท/ดอลลาร์ จากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.26/28 บาท/ดอลลาร์

วันนี้ตลาดค่อนข้างนิ่ง เพราะไม่มีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งนักลงทุนต่างรอปัจจัยสำคัญในสัปดาห์หน้า คือ การลง ประชามติของอังกฤษว่าจะแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปหรือไม่ (Brexit) โดยขณะนี้ผลโพลล์ที่ออกมายังค่อนข้างก้ำกึ่งระหว่างแยกกับ ไม่แยก

ขณะที่ปัจจัยในประเทศที่ต้องติดตามอีกตัว คือ การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แต่ส่วนใหญ่แล้วตลาด คาดการณ์ว่า กนง.จะยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่ 1.50%

"วันนี้ตลาดนิ่งๆ ไม่มีปัจจัยอะไรมาเพิ่มเติม คงต้องไปรอดูสัปดาห์หน้าเรื่องโหวต Brexit ซึ่งตอนนี้โพลล์ยังสูสีระหว่าง ออกกับไม่ออกจาก EU และปัจจัยในบ้านเรา คือ ประชุม กนง. แต่ตลาดยังเชื่อว่าจะคงดอกเบี้ย" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า ต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.15 - 35.35 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ปิดตลาดเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 104.20/35 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 104.60 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรช่วงเย็นอยู่ที่ระดับ 1.1250/1256 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1260 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,421.32 จุด เพิ่มขึ้น 10.13 จุด (+0.72%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 42,394 ล้าน
บาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 703.65 ลบ.(SET+MAI)
  • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุคาดเดายากถึงผลการลงประชามติของอังกฤษเกี่ยวกับการถอนตัว
ออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) แต่หากผลออกมาว่าอังกฤษออกจาก EU จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อตลาดการเงินในระยะกลางถึง
ระยะยาว โดยอาจจะเกิดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน การเคลื่อนย้ายสินทรัพย์ เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ที่ได้ทราบผลจะมีการ
เคลื่อนย้ายสินทรัพย์จากที่มีความเสี่ยงสูงไปที่มีความเสี่ยงต่ำ ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวัง

พร้อมแนะภาคธุรกิจควรบริหารความเสี่ยงอย่างระมัดระวัง ขณะที่ ธปท.เองจะเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และ เตรียมเครื่องมือรองรับ เพื่อไม่ให้ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินมากระทบการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจไทย

  • กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) แนะยิ่งใกล้วันลงประชามติกรณี Brexit ข้อมูลจะมี
ความผันผวนไปมาค่อนข้างมาก อาจจะมีผลให้ผู้ลงทุนตระหนกได้บ้าง แต่เชื่อว่าหากเป็นผู้ลงทุนที่ลงทุนในระยะยาวก็คงได้ตัดสินใจลง
ทุนไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่ถ้าเป็นผู้ลงทุนใหม่หรือผู้ลงทุนเพิ่มเติม อยากให้ติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด และพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐานของ
บริษัทจดทะเบียนที่จะลงทุนเป็นหลัก เพราะไม่ว่าจะมีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น แต่ปัจจัยพื้นฐานจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) คาดที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่
22 มิ.ย.นี้ จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับเดิมที่ 1.50% หลังเงินเฟ้อมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นเร็วกว่าคาด เนื่องจากปัญหาภัย
แล้ง และฐานราคาน้ำมันในระดับสูงทยอยหมดไป
  • รัฐบาลญี่ปุ่น คงการประเมินเศรษฐกิจภายในประเทศไว้เป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน โดยระบุว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัว
ปานกลาง อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้ปรับลดมุมมองผลกำไรของบริษัทเอกชน เนื่องจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ร่วงลง และเงินเยนแข็งค่า
ขึ้น
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยว่า ยูโรโซนมียอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 3.62 หมื่นล้านยูโร (4.075 หมื่นล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ) ในเดือนเม.ย. ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเมื่อเดือนมี.ค.ที่เกินดุล 2.63 หมื่นล้านยูโร ทั้งนี้ เมื่อคิดเป็นสัดส่วนเทียบกับ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศแล้ว ยูโรโซนเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นสัดส่วน 3.1% ในรอบ 12 เดือนสิ้นสุด ณ เดือนเม.ย. เมื่อ
เทียบกับปีก่อนหน้าที่เกินดุลเป็นสัดส่วน 2.8%
  • กองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) อนุมัติให้เงินกู้งวดใหม่แก่กรีซมูลค่า 7.5 พันล้านยูโร (8.4 พันล้าน
ดอลลาร์สหรัฐ) ภายหลังจากที่กีรซสามารถดำเนินการปฏิรูปได้ตามที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ การให้เงินช่วยเหลืองวดที่ 3 ดังกล่าว เกิดขึ้น
หลังจากที่รัฐสภากรีซอนุมัติมาตรการรัดเข็มขัดต่างๆ ภายใต้ข้อตกลงในการการให้เงินช่วยเหลือ 8.6 หมื่นล้านยูโรแก่กรีซ
  • รัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น แสดงความกังวลเกี่ยวกับเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกับให้คำมั่นว่าจะมีการดำเนิน
มาตรการ หากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็น โดยวันนี้รัฐบาลและธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้ประชุมคณะที่ปรึกษาสมัยสามัญ
เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในตลาดโลก ซึ่งรวมถึงตลาดปริวรรตเงินตราต่างประเทศด้วย
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า สินทรัพย์ของภาคครัวเรือนญี่ปุ่น ณ สิ้นสุดเดือน มี.ค.ปรับตัวลงจากช่วงเดียว

กันของปีก่อน 0.6% มาสู่ระดับ 1,706 ล้านล้านเยน (16 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) เนื่องจากผลกระทบของเงินเยนที่แข็งค่า และ

ตลาดหุ้นที่ร่วงลงอย่างหนัก โดยสินทรัพย์ภาคครัวเรือนในช่วงเวลาดังกล่าวปรับตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี หรือนับตั้งแต่สิ้นเดือน

มิ.ย.53 หลังจากที่ทำสถิติในไตรมาสก่อนไว้ที่ 1,740 ล้านล้านเยน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ