ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.20/22 ตลาดเริ่มคลายกังวลเรื่อง Brexit ลงบ้าง แต่ยังรอความชัดเจน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday June 20, 2016 17:41 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงิน จากธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 35.20/22 บาท/ดอลลาร์ ค่อนข้าง ใกล้เคียงกับตอนเช้าที่เปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 35.21 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวัน High 35.25 Low 35.18

"วันนี้ดูเหมือนคนจะคลายกังวลเรื่อง Brexit ลงไปบ้าง ดูได้จากเงินปอนด์/ดอลลาร์ ที่ขึ้นมาค่อนข้างเยอะ และดูจาก ตลาดหุ้นรอบๆ บ้านเราคลายกังวล พากันบวกกลับกันขึ้นมา ตลาดยุโรปช่วงบ่ายก็เปิดบวกเช่นกัน หลักๆ คือดูเหมือน Theme ที่เล่นกัน วันนี้คือคลายกังวลเรื่อง Brexit ลง" นักบริหารเงิน กล่าว

อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้ยังถือเป็นปัจจัยที่ยังต้องจับตารอดูกันต่อไปจนกว่าจะผลลงประชามติจะออกมาชัดเจนว่าอังกฤษ จะยังอยู่ในอียูหรือไม่ เพราะผลโพลต่างๆ ที่ออกมายังไม่ได้ฟันธงไปทางใดทางหนึ่งแน่ๆ

นักบริหารเงิน ประเมินทิศทางค่าเงินบาทวันพรุ่งนี้คาดว่าจะยังเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 35.10-35.30 บาท/ ดอลลาร์

"น่าจะแกว่งในกรอบนี้ต่อไป ทุกคนรอ Big Event"นักบริหารเงิน กล่าว
  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 104.45 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 104.81 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1331 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1349 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,421.99 จุด เพิ่มขึ้น 0.67 จุด, +0.05% มูลค่าการซื้อขาย 42,949.78 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,186.12 ลบ.(SET+MAI)
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เรียกร้องให้ภาคธุรกิจเอกชนเพิ่มการลงทุนภายในประเทศไทยให้มาก
ขึ้น โดยมองว่าในช่วง 2-3 ปีจากนี้จะเป็นจุดพลิกผันที่สำคัญของประเทศ ซึ่งภาคธุรกิจจะต้องแสดงพลังเพื่อร่วมกันช่วยพลิกฟื้น
ประเทศ
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายกรเงิน (กนง.) ในวันที่ 22 มิ.ย.นี้จะมีมติคงอัตราดอกเบี้ย
นโยบายไว้ที่ระดับ 1.50% ตามเดิม เพื่อติดตามพัฒนาการการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และสถานการณ์ความไม่แน่นอนจากปัจจัยภาย
นอกที่อยู่ในระดับสูง
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) คาดทั้งโลกการเงินจะจับตาไปที่ผลการลงประชามติของสหราช
อาณาจักร(Brexit) ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ และมองว่าทองคำ เงินปอนด์ และเงินเยน จะมีความผันผวนสูงที่สุดในช่วงประกาศผล
ส่วนค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่องจากแนวโน้มการลดความเสี่ยงในสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่ทั้งในกรณี Brexit และ Bremain
  • สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เปิดเผยว่า เบื้องต้น ถ้าอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป จะมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นอย่าง
น้อยเป็นเวลาประมาณ 2 เดือน ถ้าความไม่แน่นอนเกิดขึ้นในภาคธุรกิจมีปัญหาคือ เรื่องอัตราแลกเปลี่ยน หุ้น ตลาดทุน การลงทุนจะ
ปั่นป่วน แต่เรื่องการค้าโดยทั่วไปกับอังกฤษอาจจะไม่กระทบเท่าไหร่ในแง่ของปริมาณและจำนวน
  • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ชี้กรณีประเทศอังกฤษเตรียมทำประชามติว่าจะออกจากการเป็น
สมาชิกกลุ่มสหภาพยุโรป (EU) หรือไม่นั้น สำหรับประเทศไทยคงหลีกเลี่ยงผลกระทบไม่พ้น อาจทำให้ภาวะเศรษฐกิจแย่หนักไปกว่า
ปัจจุบัน แนะใช้เป็นบทเรียนในการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) หรือการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้น
แปซิฟิค (Trans-Pacific Partnership หรือTPP) ที่ต้องไม่ให้สูญเสียอำนาจในการตัดสินใจ
  • สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หากอังกฤษต้องออกจากการเป็นประเทศสมาชิกของสหภาพ
ยุโรป (EU) อาจจะกระทบต่อยอดนักท่องเที่ยวจากยุโรปที่เดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยบ้างเล็กน้อยในภาพรวม เนื่องจากนัก
ท่องเที่ยวอาจจะชะลอการเดินทางท่องเที่ยว เพื่อรอดูผลจากความเปลี่ยนแปลงในกรณีดังกล่าว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษ
อาจจะชะลอดูจนกว่าจะมั่นใจว่าเศรษฐกิจภายในประเทศจะมั่นคงเหมือนกับตอนยังเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปหรือไม่
  • สมาคมค้าทองคำ มองว่า หากผลการลงประชามติของอังกฤษในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ สรุปว่าจะแยกตัวออกจากการเป็น
สมาชิกสหภาพยุโรป (EU) จะส่งผลทำให้ราคาทองคำผันผวน และมีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
  • เจ้าหน้าที่สหภาพยุโรป (EU) เตรียมการจัดประชุมฉุกเฉินกรณีอังกฤษลงมติแยกตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit) เพื่อ
บรรเทาความผันผวนของตลาดการเงิน และป้องกันปรากฏการณ์ลูกโซ่ในสภาวะเศรษฐกิจอ่อนไหว
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของเยอรมนี (Destatis) เปิดเผยว่า ราคาผู้ผลิตของเยอรมนีปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนพ.ค.
เนื่องจากราคาพลังงานปรับตัวขึ้นเมื่อเทียบรายเดือน อย่างไรก็ตาม ราคาผู้ผลิตเดือนพ.ค. ยังคงต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีที่
แล้วอยู่มาก
  • กระทรวงการคลังเยอรมนีเผย เศรษฐกิจประเทศเริ่มต้นไตรมาสสองได้อย่างสดใส และมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น
อีก ถึงแม้จะมีอัตราช้ากว่าในช่วงไตรมาสแรกก็ตาม
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่นดำเนินการปรับแก้ไขนโยบายเศรษฐกิจของนายก

รัฐมนตรีชินโซ อาเบะ หรือที่เรียกว่าอาเบะโนมิกส์ โดยเสนอให้หันไปส่งเสริมนโยบายสร้างรายได้และตลาดแรงงานเป็นหลัก ควบคู่

ไปกับการใช้นโยบายกระตุ้นทางการเงิน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ