ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.22/24 แนวโน้มอ่อนค่าหลังดอลล์แข็ง มองกรอบวันนี้ 35.20-35.30

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 6, 2016 09:22 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.22/24 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า ลงจากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 35.12/14 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทมีแนวโน้มจะอ่อนค่าต่อเนื่อง เป็นผลจากที่เงินดอลลาร์สหรัฐปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโร และเงิน ปอนด์ ซึ่งทำให้มีนักลงทุนหันมาถือเงินดอลลาร์ และเงินเยน

"เมื่อคืนเงินยูโรกับเงินปอนด์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะเงินปอนด์อ่อนค่าลงไปมาก เงินจึงไหลมา ทางฝั่งดอลลาร์ รวมทั้งเยน ซึ่งถือเป็น safe haven" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.20-35.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เปิดตลาดเช้านี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 100.84 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ 101.66 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรเช้านี้ อยู่ที่ระดับ 1.1040 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ 1.1146 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.1260 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกประกาศผ่อนคลายหลักเกณฑ์การโอนเงินออกนอกประเทศเพิ่มเติมตามแผน
แม่บทเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ โดยผ่อนคลายหลักเกณฑ์การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศให้แก่ผู้ลงทุน รวมทั้งผ่อนคลาย
หลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจศูนย์บริหารเงิน โดยขยายขอบเขตการบริหารเงินเพื่อให้มีความคล่องตัวในการบริหารสภาพคล่องให้แก่
บริษัทในเครือมากขึ้น
  • ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)เห็นควรปรับลดประมาณการมูลค่าการส่งออกในปี 59 ลง
มาเป็น -2.0% ถึง 0.0% จากเดิมที่ 0.0-2.0% ซึ่งไม่ต่ำมากจากที่หดตัว 1.9% ในช่วง 5 เดือนแรกของปี และน่าจะยังเป็นอัตรา
การหดตัวที่น้อยกว่าอีกหลายประเทศในภูมิภาค
  • กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ชี้แจงการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการแหล่งสัมปทานที่จะสิ้นสุดอายุว่า ขณะนี้
กระทรวงพลังงานโดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ อยู่ระหว่างการยกร่างกฎกระทรวง 5 ฉบับ และประกาศอีก 1 ฉบับ ซึ่งต้องสอดคล้อง
กับพระราชบัญญัติปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ที่อยู่
ระหว่างกระบวนการพิจารณาของ คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ
  • สกุลเงินปอนด์ร่วงลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (5 ก.ค.) เนื่องจากนักลง
ทุนวิตกกังวลหลังจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เปิดเผยในรายงานเสถียรภาพทางการเงินเมื่อวานนี้ว่า เสถียรภาพทางการเงิน
ของสหราชอาณาจักรในขณะนี้ กำลังเผชิญภาวะท้าทาย โดยเงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1072 ดอลลาร์
สหรัฐ จากระดับ 1.1121 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่เงินปอนด์ลดลงแตะระดับ 1.3024 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.3258 ดอลลาร์
สหรัฐ ส่วนดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบเยนที่ระดับ 101.54 เยน จากระดับ 102.53 เยน
  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) เปิดเผยรายงานเสถียรภาพการเงินรอบครึ่งปี ซึ่งเป็นการเปิดเผยรายงานครั้งแรกนับ
ตั้งแต่ที่สหราชอาณาจักรลงประชามติแยกตัวจากสหภาพยุโรปเมื่อเดือนที่แล้ว โดยระบุว่าความเสี่ยงจาก Brexit เริ่มก่อตัวขึ้นแล้ว
และสถานการณ์ด้านเสถียรภาพทางการเงินของสหราชอาณาจักรในขณะนี้กำลังเผชิญภาวะท้าทาย ซึ่งสหราชอาณาจักรต้องใช้เวลาใน
การสร้างความสัมพันธ์ใหม่กับสหภาพยุโรป และประเทศอื่นๆ ขณะที่จะเกิดความผันผวนต่อเศรษฐกิจ และตลาดในช่วงที่กระบวนการดัง
กล่าวดำเนินไป
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเกือบ 5% เมื่อคืนนี้ เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า
เศรษฐกิจทั่วโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากผลกระทบของ Brexit นั้น จะทำให้อุปสงค์พลังงานอ่อนแรงลงด้วย นอกจากนี้ ตลาดยัง
ได้รับแรงกดดันจากรายงานที่ว่า ไนจีเรียและซาอุดิอาระเบียผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น

โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 2.39 ดอลลาร์ หรือ 4.9% ปิดที่ 46.60 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วน สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนส.ค.ร่วงลง 2.14 ดอลลาร์ หรือ 4.3% ปิดที่ 47.96 ดอลลาร์/บาร์เรล

  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของสหรัฐลดลง 1.0% ในเดือนพ.ค. เนื่องจากอุปสงค์ที่
อ่อนแอในภาคการขนส่ง และสินค้าทุน
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซานฟรานซิสโก กล่าวว่า ตลาดสหรัฐมีปฏิกริยาตามที่คาดการณ์ไว้ ต่อการ

ที่อังกฤษลงประชามติออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) และผลกระทบต่อเศรษฐกิจสหรัฐก็มีน้อยกว่าเหตุการณ์อื่นๆ ที่เคยเกิดขึ้นในช่วง

หลายปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันมองว่า เศรษฐกิจสหรัฐและระบบการเงินเผชิญความเสี่ยง ถ้าหากเฟดตรึงดอกเบี้ยในระดับต่ำเกินไป

เป็นเวลานานเกินไป


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ