ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.00/04 แนวโน้มแข็งค่าจากแรงขายดอลล์-ลุ้นผลประชุม ECB ในสัปดาห์นี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 20, 2016 09:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.00/35.04 บาท/ดอลลาร์ อ่อน ค่าลงเล็กน้อยจากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.93/95 บาท/ดอลลาร์

สำหรับวันนี้เงินบาทมีโอกาสกลับมาแข็งค่าขึ้นหลังจากช่วงวันหยุดยาว ซึ่งอาจจะทำให้ลูกค้าที่เป็นฝั่ง Export ทยอยขายดอลลาร์ออกมา ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ที่สำคัญคือ การประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB)

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.90-35.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 105.80 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 106.02/04 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรเช้านี้อยู่ที่ระดับ 1.0007 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.1140 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.9810 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ (18-22 ก.ค.)ที่ 34.80-35.10 บาทต่อ
ดอลลาร์ โดยตลาดอาจรอติดตามผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่
สำคัญ ได้แก่ ผลสำรวจแนวโน้มธุรกิจของเฟดสาขาฟิลาเดลเฟียเดือนก.ค. ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน การขออนุญาตก่อสร้าง และยอด
ขายบ้านมือสองเดือนมิ.ย. ตลอดจนข้อมูลเงินทุนไหลเข้าสุทธิสู่ตลาดการเงินสหรัฐฯ เดือนพ.ค
  • บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ภาพรวมกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) ในช่วงครึ่ง
ปีแรก พบว่ามีเงินไหลออกถึง 10,623 ล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีเงินไหลออก 7,026 ล้านบาท เนื่องจากนักลงทุน
ขายทำกำไร หลังจากถือครองมาครบ 5 ปี หากนักลงทุนซื้อแอลทีเอฟในปี 2555 และขายในปี 2559 จะได้ผลตอบแทนประมาณ 7-
8% ต่อปี โดยเงินไหลออกจากกองแอลทีเอฟทั้งสองประเภทคือ กองที่ลงทุนในหุ้น 100% และกองที่ลงทุนในหุ้น 70% และตราสารหนี้
30%
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำลังปรับปรุงนิยามและรายละเอียดการนับหนี้ครัวเรือนใหม่ให้ครอบคลุมมากขึ้น
จะได้สามารถนำตัวเลขและข้อมูลรายละเอียดของหนี้ไปใช้เปรียบเทียบกับประเทศอื่น หรือสามารถนำไปกำหนดนโยบายได้อย่าง
เหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีหนี้บางประเภทที่ไม่ควรนำมารวม เช่น กู้สินเชื่อบุคคลแต่นำเงินไปใช้ทำธุรกิจด้วย
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินยูโรและสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (19
ก.ค.) ขานรับข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐสดใส ขณะที่ค่าเงินยูโรอ่อนแรงลงหลังจากสหภาพยุโรป (EU) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัว
ทางเศรษฐกิจของยูโรโซน เนื่องจากปัจจัย Brexit
  • ดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงหนุนหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านเพิ่มขึ้น 4.8%
ในเดือนมิ.ย. สู่ระดับ 1.19 ล้านยูนิต ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.พ. และมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ราว 1.17
ล้านยูนิต ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านสำหรับครอบครัวเดี่ยวเพิ่มขึ้น 4.4% ในเดือนมิ.ย. แตะ 778,000 ยูนิต มากที่สุดนับตั้งแต่
เดือนก.พ. ขณะที่การก่อสร้างที่อยู่อาศัยแบบหลายครอบครัว ซึ่งรวมถึงอพาร์ทเมนท์และคอนโดมิเนียม เพิ่มขึ้น 5.4% สู่ระดับ
411,000 ยูนิต มากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย. ซึ่งข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสดังกล่าวกระตุ้นการคาดการณ์ที่ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยาย
ตัวอย่างต่อเนื่องในไตรมาสที่ 2
  • สกุลเงินยูโรอ่อนค่าลงหลังจาก EU ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของยูโรโซน เนื่องจากปัจจัย
Brexit ทำให้ความไม่แน่นอนเพิ่มสูงขึ้นและอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ EU คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายใน
ประเทศ (GDP) ของกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร 19 ประเทศ จะชะลอตัวมาอยู่ที่ 1.3-1.5% ในปี 2559 จากที่คาดการณ์ไว้ที่
1.7% ในเดือนพ.ค. และคาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะขยายตัวในอัตราเดียวกัน
  • รัฐมนตรีคลังกลุ่มประเทศ G20 เตรียมออกแถลงการณ์กระชับความร่วมมือในสัปดาห์นี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพทาง
เศรษฐกิจและตลาด หลังจากที่อังกฤษได้ลงประชามติออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) เมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยการประชุมที่จะเปิด
ฉากวันเสาร์นี้ที่เมืองเฉิงตู ประเทศจีน รัฐมนตรีคลังของกลุ่ม G20 มีแนวโน้มที่จะออกมายืนยันว่า แต่ละประเทศจะใช้ "เครื่องมือ
ด้านนโยบายทุกช่องทาง" เพื่อป้องกันผลกระทบด้านลบจากเหตุการณ์ Brexit ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกยังฟื้นตัวซบเซา
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจอังกฤษในปี 2559 และ
2560 ระบุว่าการลงประชามติออกจากสหภาพยุโรป ทำให้ความไม่แน่นอนในเศรษฐกิจโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจของ
ประเทศอังกฤษเองนั้นจะได้รับผลกระทบหนักที่สุด

ทั้งนี้ IMF คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกจะขยายตัว 3.1% ในปี 2559 และ 3.4% ในปี 2560 ซึ่งลดลง 0.1% จากการ คาดการณ์ในเดือนเม.ย. ที่ระดับ 3.2% และ 3.5% ตามลำดับ

  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ จากการคาดการณ์ที่ว่าการผลิตน้ำมันในสหรัฐอาจ
ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังจากที่มีการเปิดเผยข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทน้ำมันในสหรัฐได้เริ่มกลับมาเปิดใช้งานแท่นขุดเจาะอีกครั้ง

โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน ส.ค.ลดลง 59 เซนต์ หรือ 1.3% ปิดที่ 44.65 ดอลลาร์/บาร์เรล ส่วนสัญญา น้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือน ก.ย.ลดลง 30 เซนต์ หรือ 0.6% ปิดที่ 46.66 ดอลลาร์/บาร์เรล


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ