ภาวะตลาดเงินบาท: เงินบาทปิด 34.75/79 แกว่งแคบไร้ปัจจัยสำคัญ คาดกรอบพรุ่งนี้ 34.75-34.85

ข่าวเศรษฐกิจ Monday August 1, 2016 17:42 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.75/79 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้น เล็กน้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.78/80 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบ ๆ ระหว่างวันทำ low สุดที่ระดับ 34.74 บาท/ดอลลาร์ และทำ high สุดที่ ระดับ 34.79 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากวันนี้ยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมากนัก ซึ่งตลาดฯ รอดูผล การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพุธนี้ โดยคาดว่าจะมีมติคงดอกเบี้ย

"วันนี้ตลาด move แคบๆ ไม่ค่อยมีปัจจัยอะไร เพราะ overnight ก็แข็งค่าขึ้นไปเยอะแล้ว รอดูประชุม กนง.พุธนี้"
นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.75-34.85 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 102.20 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 102.50 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1172 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1170 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,512.62 จุด ลดลง 11.45 จุด (-0.75%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 72,711 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 772.79 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือน ก.ค.59 อยู่ที่ 106.68 ขยายตัว 0.10% เมื่อเทียบ
กับ ก.ค.58 แต่หดตัว -0.35% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ CPI ช่วง 7 เดือนแรกปี 59 หดตัว -0.07% พร้อมคาดว่า
ในช่วงไตรมาส 3/59 อัตราเงินเฟ้อจะเฉลี่ยอยู่ที่ 0.47% โดยกระทรวงพาณิชย์จะมีการทบทวนอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 2559 ใหม่อีกครั้ง
ในช่วงการแถลงเงินเฟ้อของเดือน ส.ค. และล่าสสุดยังคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะขยายตัวสู่กรอบคาดการณ์ของปี 2559 ที่ 0-1% ใน
ช่วงครึ่งปีหลัง
  • สภาผู้ขนส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) คาดการณ์มูลค่าการส่งออกระหว่างเดือนก.ค.-ธ.ค.59 เฉลี่ย
เดือนละ 17,610 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือหดตัวเฉลี่ย -1.75% ทำให้คาดว่ามูลค่าการส่งออกรวมในปีนี้อยู่ที่ประมาณ 210,089 ล้าน
เหรียญ หรือหดตัว -2%

ปัจจัยหลักที่จะส่งผลกระทบกับการส่งออก คือ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของคู่ค้าทั่วโลกที่ส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อ มั่น และทำให้ปริมาณการอุปโภคบริโภคของลูกค้าในตลาดเป้าหมายลดลง, การดำเนินการของประเทศอังกฤษในกรณี BREXIT หาก เข้าสู่กระบวนการตามมาตรา 50 ก่อนสิ้นปีอาจจะมีผลต่อการส่งออกของไทยได้ และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่จะส่งผลต่อ ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าไทยเสียเปรียบสินค้าจากประเทศคู่แข่งมากยิ่งขึ้น

  • รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา คาดแนวโน้มรายได้จากการท่องเที่ยวไตรมาส 3 ที่ 5.97 แสนล้านบาท ขยายตัว 10%
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยบวกมาจากกระแสการท่องเที่ยวตามโครงการ 12 เมืองต้องห้าม...พลาด+พลัส การเพิ่มวันหยุด
พิเศษต่อเนื่องในเดือนก.ค.เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวนอกฤดูกาล และวันหยุดต่อเนื่องในเดือน ส.ค.

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปีจนถึง 31 ก.ค.59 มีรายได้จากการท่องเที่ยว 1.39 ล้านล้านบาท ขยายตัว 13.95% จากช่วงเดียว กันของปีก่อน ขณะที่คาดว่าในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ รายได้รวมจากการท่องเที่ยวจะอยู่ที่ราว 1.848 ล้านล้านบาท คิดเป็น 77% ของเป้ารายได้ทั้งปี จากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ 33 ล้านคน ขณะที่ทั้งปีคาดว่าจะเกินกว่าเป้าที่คาดไว้ที่ 32 ล้านคน

  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขานิวยอร์ก กล่าวว่า แม้ว่าเขาจะมีความระมัดระวังในการแสดงความคิด
เห็นเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เมื่อพิจารณาจากความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจโลกแล้ว แต่เขามองว่ายังคงมีความเป็น
ไปได้ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้
  • ผลสำรวจของมาร์กิตระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของยูโรโซนอยู่ที่ระดับ 52.0 ในเดือนก.
ค. ลดลงจากระดับสูงสุดในรอบหกเดือนที่ 52.8 ในเดือน มิ.ย. และอยู่เหนือระดับ 51.9 ในรายงานเบื้องต้นเดือนก.ค.เพียงเล็ก
น้อย โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตของยูโรโซนอยู่ในกรอบขยายตัวมาเป็นเดือนที่ 37 ติดต่อกันแล้ว
  • ธนาคารกลางจีน เปิดเผยว่า ธนาคารได้อัดฉีดเงิน 900 ล้านหยวน (135.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ผ่านโครงการ
เงินกู้ระยะสั้น (SLF) เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสถาบันการเงินต่างๆ จะมีสภาพคล่องเพียงพอ ในขณะเดียวกัน แบงก์ชาติจีนได้ดูดซับ
สภาพคล่องมูลค่า 4.3 หมื่นล้านหยวนจากระบบการเงินในเดือนก.ค. ด้วยการดำเนินงานทางตลาดเงิน (Open Market
Operations) ผ่านโครงการเงินกู้ระยะกลาง (MLF)
  • ยอดขายรถยนต์ของประเทศญี่ปุ่นในเดือนก.ค. ลดลง 2.2% จากปีที่แล้ว แตะที่ 415,606 คัน โดยเป็นการปรับตัว
ลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19 หลังกรณีอื้อฉาวเรื่องการปลอมผลทดสอบการประหยัดน้ำมันของบริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ ส่งผลกระทบ
ต่อยอดขายรถยนต์ขนาดเล็ก
  • วันพรุ่งนี้ (2 ส.ค.) มีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ญี่ปุ่น รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.

ค., อังกฤษ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการก่อสร้างเดือนก.ค., สหภาพยุโรป (อียู) รายงานดัชนีราคาผู้ผลิต

(PPI) เดือนมิ.ย. และสหรัฐฯ รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนก.ค.โดยมาร์กิต, รายงานดัชนีภาวะ

ธุรกิจนิวยอร์กเดือนก.ค.โดยสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และรายงานสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์ โดยการปิโตรเลียม

สหรัฐ (API)


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ