ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.73/79 แนวโน้มยังแข็งค่าต่อเนื่องจากเงินไหลเข้า คาดกรอบพรุ่งนี้ 34.65-34.80

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 10, 2016 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.73/79 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่า จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.76/82 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทยังมีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่แข็งค่า เป็นเพราะปัจจัยสำคัญที่สุดในช่วงนี้ คือ ยังมีเงินทุนจากต่างชาติ ไหลเข้ามาในประเทศไทย และคาดว่าวันพรุ่งนี้เงินบาทจะยังเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่แข็งค่าได้อีก

"เงินบาทวันนี้แข็งค่าขึ้นอีกจากช่วงเช้า ช่วงนี้คงมีปัจจัยเดียวเรื่อง flow ไหลเข้า" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.65 - 34.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้ เงินเยนอยู่ที่ระดับ 101.30 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 101.20 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโร เย็นนี้อยู่ที่ระดับ 1.1169 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1140 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,548.13 จุด ลดลง 0.08 จุด (-0.01%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 67,743 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,508.94 ลบ.(SET+MAI)
  • คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แถลงผลการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญอย่างเป็นทางการ โดยพบว่า
ในประเด็นที่ 1 เรื่องร่างรัฐธรรมนูญ มีผู้เห็นชอบ 16,820,402 คน หรือคิดเป็น 61.35% ไม่เห็นชอบ 10,598,037 คน หรือคิด
เป็น 38.65% ส่วนประเด็นที่ 2 เรื่องคำถามพ่วงท้าย มีผู้เห็นชอบ 15,132,050 คน หรือคิดเป็น 58.07% ไม่เห็นชอบ
10,926,648 คน หรือคิดเป็น 41.93%

โดยเมื่อวันที่ 7 ส.ค.59 มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียง 29,740,677 คน หรือคิดเป็น 59.40% ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง ทั้งหมด 50,071,589 คน มีบัตรเสียทั้งหมด 936,209 ใบ คิดเป็น 3.15% ส่วนจังหวัดที่มีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงมากที่สุด 5 อันดับ แรก คือ ลำพูน, แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, ตาก และเชียงราย

  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมติดตามและเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐ
วิสาหกิจประจำปี 2559 โดยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีงบประมาณ 2559 ได้เร่งรัดให้รัฐวิสาหกิจเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไป
ตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
  • สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เผยตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงเดือนก.ค.59 สามารถเบิกจ่าย
งบลงทุนได้ 131,081 ล้านบาท คิดเป็น 79% ของแผนการเบิกจ่ายสะสม โดยรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการตามปีงบประมาณ สามารถเบิก
จ่ายสะสมตั้งแต่เดือนต.ค.58 - ก.ค.59 ได้จำนวน 70,764 ล้านบาท หรือคิด 76% ของแผนการเบิกจ่ายสะสม และรัฐวิสาหกิจที่
ดำเนินการตามปีปฏิทินสามารถเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่เดือนม.ค.-ก.ค.59 ได้จำนวน 60,317 ล้านบาท หรือคิดเป็น 84% ของแผนการ
เบิกจ่ายสะสม
  • สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 2/59 หดตัว -1.3% เมื่อ
เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยสาขาพืชรับผลกระทบจากภัยแล้งมากสุด หดตัวถึง -2.5% ส่วนสาขาประมง หดตัว -0.9% และ
สาขาบริการทางการเกษตร หดตัว -1.4%% ขณะที่สาขาประมง ขยายตัว 3.1% และสาขาป่าไม้ ขยายตัว 2.1% ส่วนรายได้
เกษตรกรไตรมาส 2 เพิ่มขึ้น 3.7% เนื่องจากราคาผลิตผลอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ไม้ผล และปาล์มน้ำมัน
  • กระทรวงการคลังญี่ปุ่น เผยยอดหนี้สินของรัฐบาลกลาง ณ สิ้นเดือนมิ.ย.แตะที่ 1,053.47 ล้านล้านเยน (10.4
ล้านล้านดอลลาร์) เพิ่มขึ้น 4.10 ล้านล้านเยนจากช่วงสามเดือนก่อน ซึ่งการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องดังกล่าว แสดงให้เห็นถึง
การขาดแคลนทรัพยากรทางการเงิน ถึงแม้ว่าค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการสังคมจะพอกพูนขึ้นอย่างรวดเร็วในกลุ่มประชากรสูงวัยของญี่ปุ่น

ส่วนหนี้สินต่อหัวของประชากร หรือยอดหนี้สินต่อประชากร 1 คน อยู่ที่ประมาณ 8.3 ล้านล้านเยน เมื่อคำนวนณจาก จำนวนประชากรทั้งหมดของญี่ปุ่นที่ 126.99 ล้านคน ณ วันที่ 1 ก.ค. ทั้งนี้ ยอดหนี้สินของรัฐบาลญี่ปุ่นมีมูลค่าสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศในปีงบประมาณ 2558 ซึ่งอยู่ที่ 500.4 ล้านล้านเยน ส่งผลให้ญี่ปุ่นมีความแข็งแกร่งทางการคลังที่ย่ำแย่ที่สุดใน บรรดากลุ่มประเทศอุตสาหกรรม

  • นักวิเคราะห์ คาดว่า การประชุมอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศ
แอจีเรียในเดือนก.ย.นี้ อาจจะไม่สามารถบรรลุข้อตกลงใดๆ ได้ เนื่องจากประเทศสมาชิกแต่ละรายยังมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันใน
เรื่องโควต้าการผลิตน้ำมัน โดยเฉพาะอิหร่านที่ยังคงผลิตน้ำมันต่ำกว่าความสามารถในการผลิต ในขณะที่ลิเบียและไนจีเรียก็ผลิตน้ำมัน
ในอัตราที่ต่ำกว่าความสามารถในการผลิตของประเทศ ซึ่งการประชุมครั้งนี้คาดว่าจะมีการหารือเรื่องการกำหนดเป้าหมายใหม่ในการ
ผลิตน้ำมัน
  • นักลงทุนจีนแห่ซื้อบ้านพักอาศัยและอาคารพาณิชย์ในอังกฤษ หลังจากเงินปอนด์อ่อนค่าลง อันเป็นผลมาจากการที่อังกฤษ

ถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) โดยผลสำรวจจาก Morris ระบุว่าความต้องการซื้ออาคารและที่พักอาศัยในอังกฤษของนัก

ลงทุนชาวจีนในช่วงสัปดาห์หลังการลงประชามติพุ่งขึ้นกว่า 30-40% เมื่อเทียบกับความต้องการเฉลี่ยในปี 2559


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ