(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.60/62 แนวโน้มยังแข็งค่าจากเงินไหลเข้า คาดมีโอกาสทดสอบ 34.50

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday August 16, 2016 11:15 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 34.60/62 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัว จากช่วงเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 34.60 บาท/ดอลลาร์

วันนี้ยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทมากนัก แต่มีโอกาสที่เงินบาทจะไปในทิศทางที่แข็งค่า จาก flow ที่ยังไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

"วันนี้ไม่มีปัจจัยอะไรสำคัญ แต่ทิศทางน่าจะแข็งค่าต่อ เพราะยังมี Flow ไหลเข้าอยู่" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะมีโอกาสไปทดสอบที่ระดับ 34.50 บาท/ดอลลาร์ มองการเคลื่อนไหวในกรอบ 34.50-34.65 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 34.6050 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (15 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.30698% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (15 ส.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.54685%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 101.03/05 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 101.00 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรเช้านี้อยู่ที่ระดับ 1.1179/1182 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1165 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.6960 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า เท่าที่ติดตามดูระดับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในภาพรวม
ของระบบสถาบันการเงิน เฉพาะกิจของรัฐ หรือธนาคารรัฐ พบว่ามีแนวโน้มขยับขึ้นบ้าง ทั้งนี้ หากดูในแต่ละธนาคาร เอ็นพีแอลยังมี
ทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง แต่ส่วนใหญ่เอ็นพีเอ็นจะเป็นไปตามฤดูกาล เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ใน
ฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตก็จะมีการมาจ่ายหนี้คืนมาก แต่พอถึงฤดูการเพาะปลูกก็จะมาขอสินเชื่อใหม่ทำให้เอ็นพีแอลขึ้นลงตามฤดูกาล
  • การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)คาดเหตุระเบิด 7 จังหวัดภาคใต้ ทำนักท่องเที่ยวหาย 2 แสนคน สูญราย
ได้หมื่นล้านบาท เผยต่างชาติเลื่อนเดินทางบ้าง เร่งอัดกิจกรรมขออนุมัติหยุดยาว 4 วันตั้งแต่ 26 ก.ย.รับวันท่องเที่ยวโลก เตรียม
เสนอ 3 มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (15 ส.ค.) เนื่องจากนัก
ลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้ หลังสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวัง
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ลดลง 0.4% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่ง
เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือน และยังเป็นการลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนก.ย.58 หลังจากที่พุ่งขึ้น 0.5% ในเดือนมิ.ย.
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกเดือนก.ค.ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนมิ.ย. ซึ่งผิดไปจากที่นัก
เศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.4% หลังจากที่ปรับตัวขึ้นมา 3 เดือนติดต่อกัน
  • นักลงทุนจับตาดูรายงานการประชุมประจำวันที่ 26-27 ก.ค.ของเฟดในวันพุธนี้ตามเวลาสหรัฐ เพื่อหาสัญญาณเรื่อง
แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด
  • ติดตามข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่จะมีการเปิดเผยในวันนี้ ได้แก่ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้าน-การอนุญาตก่อสร้าง
เดือนก.ค., อัตราเงินเฟ้อเดือนก.ค. และการผลิตภาคอุตสาหกรรม-อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนก.ค.
  • สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นเมื่อคืนนี้ โดยได้แรงหนุนจากข่าวที่ว่า รัสเซียและซาอุดิอา
ระเบียกำลังหารือกันเกี่ยวกับการรักษาเสถียรภาพของตลาดน้ำมัน ขณะที่นักลงทุนจับตาดูการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของกลุ่ม
ประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ในวันที่ 26-28 ก.ย.นี้ที่ประเทศแอลจีเรีย

โดยสัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ย.พุ่งขึ้น 1.25 ดอลลาร์ หรือ 2.8% ปิดที่ 45.74 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็น ระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนต.ค.เพิ่มขึ้น 1.38 ดอลลาร์ หรือ 2.9% ปิดที่ 48.35 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 12 ก.ค.

  • ผลการสำรวจล่าสุดของ USA Today/Rock the Vote พบว่า ผู้ที่มีสิทธิลงคะแนนเลือกตั้งที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี
จำนวน 56% ระบุว่า พวกเขาจะลงคะแนนให้กับนางฮิลลารี คลินตัน ผู้สมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐจากพรรคเดโมแครต โดย
มีเพียง 1 ใน 5 ในกลุ่มดังกล่าวที่ระบุว่าจะลงคะแนนเสียงให้แก่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้สมัครจากพรรครีพับลิกัน
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาซาน ฟรานซิสโก กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ธนาคารกลางและรัฐบาลชาติต่างๆ
จะต้องคิดนโยบายใหม่ในการป้องกันเศรษฐกิจประเทศต่ออัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน ซึ่งจะส่งผลกระทบทำให้ภาวะถด
ถอยในอนาคตมีความรุนแรงมากขึ้น และหลีกเลี่ยงได้ยากขึ้น

พร้อมเห็นควรให้มีการตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อในระดับที่สูงขึ้น, ผูกนโยบายการเงินเข้ากับผลผลิตทางเศรษฐกิจ และการ ให้รัฐบาลดำเนินโครงการใช้จ่ายอย่างอัตโนมัติทันทีที่เศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะซบเซา ซึ่งหากไม่มีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เจ้าหน้าที่จะ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ