นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.67 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากช่วงเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 34.66 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทแกว่งตัวในกรอบ 34.65-34.70 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อน ไหวสวนทางกับค่าเงินในภูมิภาค
"บาทอ่อนค่าสวนทางกับภูมิภาค ซึ่งน่าจะส่งผลทางจิตวิทยาให้ผู้ส่งออกขายดอลลาร์ ส่วนต่างชาติแม้ขายหุ้นไปมากแต่ยัง ไม่มีเงินทุนไหลออก แต่โยกไปลงทุนในตลาดพันธบัตรแทน" นักบริหารเงิน กล่าว
คืนนี้ตลาดจับตาดูผลประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าอาจคงอัตราดอกเบี้ยและขยายระยะเวลา ในการซื้อพันธบัตรออกไปไกลกว่าเดือน มี.ค.2560
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ระหว่าง 34.65-34.80 บาท/ดอลลาร์
- เงินเยนอยู่ที่ระดับ 101.62 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 101.65 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1278 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1246 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,455.38 จุด ลดลง 31.82 จุด, -2.14% มูลค่าการซื้อขาย 81,642.89 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 645.27 ล้านบาท(SET+MAI)
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ส.ค.59 อยู่ที่ 73.2
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 62.2 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 67.6 และดัชนีความ
เชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 89.7 ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังจากประชาชนลงมติ
รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากการสำรวจความเห็นของภาคเอกชนมอง
ว่าเงินบาทในระดับที่เหมาะสมควรอยู่ที่ระดับใกล้เคียงกับ 35 บาท/ดอลลาร์ เพราะหากแข็งค่ากว่านี้จะไม่สามารถแข่งขันกับประเทศ
เวียดนาม ซึ่งถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทยในขณะนี้ได้ และสามารถรักษาระดับค่าเงินด่องให้ค่อนข้างคงที่ได้
- นายสันติ กีระนันทน์ รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานผู้ออกหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กล่าว
ว่า ภาวะตลาดในช่วงนี้ที่ปรับตัวดลงน่าจะมาจากการที่ตลาดในช่วงก่อนหน้านี้ได้ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ตลาดมีการพักฐาน
ประกอบกับการปล่อยข่าวเชิงลบต่อตลาดเพื่อขายทำกำไร โดยยืนยันว่าผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนยังคงแข็งแกร่ง เห็นได้
จากไตรมาส 2/59 ที่ตัวเลขออกมาสะท้อนสัญญาณการฟื้นตัว ทำให้เห็นถึงความแข็งแรงของบริษัทจดทะเบียนได้ดี
- นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ คาด
แนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปียังมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ใน
ช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะเติบโตได้ราว 3.5% ซึ่งถือว่าดีขึ้นเล็กน้อยจากช่วงครึ่งปีแรกที่เติบโตได้ 3.4% จากการลงทุนภาครัฐที่มีความ
ชัดเจน และมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณออกมามากขึ้น เป็นปัจจัยหนุนหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้กลับมา
- สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง แถลงผลการประชุม Annual PDMO Market
Dialogue ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ระบุว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 สบน. วางแผนที่จะระดมทุนผ่านการออก
พันธบัตรรัฐบาลที่ใช้ในการสร้างอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง (Benchmark Bond) เป็นหลัก ประกอบด้วย พันธบัตรรุ่นอายุ 5 ปี
(LB226A) 10 ปี (LB26DA) 15 ปี (LB316A) 20 ปี (LB366A) 30 ปี (LB466A) และ 50 ปี (LB666A) ทำให้มีปริมาณวง
เงินพันธบัตรรัฐบาล (Bond Supply) วงเงินรวม 550,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 57 ของประมาณการความต้องการระดม
ทุนทั้งหมด 957,722 ล้านบาท
- สำนักคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในไตรมาส 2/2559
เป็นขยายตัว 0.7% จากระดับ 0.2% ในรายงานเบื้องต้นที่ได้มีการเผยแพร่ไปเมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมา
จากการที่รัฐบาลได้ปรับเพิ่มการประมาณการใช้จ่ายด้านทุนของภาคเอกชน ซึ่งปรับตัวลดลง 0.1% แต่ดีกว่าการประมาณการครั้งก่อนที่
ระบุว่าลดลง 0.4%
- รัฐบาลญี่ปุ่นเผยดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศในเดือนก.ค.เกินดุลติดต่อกันเป็นเดือนที่ 25 โดยมีสาเหตุมาจากการนำ
เข้าที่ปรับตัวลดลง หลังราคาน้ำมันดิบร่วงและเงินเยนแข็งค่า โดยยอดเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 8.0% เมื่อเทียบเป็น
รายปี สู่ระดับ 1.94 ล้านล้านเยน (1.90 หมื่นล้านดอลลาร์)
- -นายฮิโรชิ นากาโสะ รองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) แถลงแนวโน้มนโยบายการเงินในวันนี้ โดยระบุว่า
การขยายขอบเขตนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบยังคงเป็นมาตรการสำคัญที่จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับ 2% อย่างไรก็
ตาม นายนากาโสะก็ได้เน้นย้ำถึงผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นจากนโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบด้วยเช่นกัน
- กระทรวงยุทธศาสตร์และการคลังเกาหลีใต้ระบุในรายงานเศรษฐกิจประจำเดือนว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจเกาหลี
ใต้กำลังชะลอตัว เนื่องจากถูกกดดันจากการยุติมาตรการปรับลดภาษีบริโภคสำหรับรถยนต์ ส่งผลให้ฉุดการบริโภคภาคเอกชนโดยรวม
ลง
- ไชน่า อินเตอร์เนชั่นแนล แคปิตอล คอร์ปอเรชั่น (CICC) คาดการณ์ว่า อัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนจะยังคงมี
เสถียรภาพเป็นส่วนใหญ่ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2559 แม้ว่าทุนสำรองระหว่างประเทศ (FX) ปรับตัวลดลง
--อินโฟเควสท์ โดย ธนวัฏ เสือแย้ม/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์:
[email protected]