ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.67/69 แกว่งแคบ ตลาดรอจับตาตัวเลข GDP Q3/59 ของสหรัฐฯในสัปดาห์หน้า

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 25, 2016 17:45 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.67/69 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียง จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.68/70 บาท/ดอลลาร์

การเคลื่อนไหวของเงินบาทตลอดทั้งวันนี้ยังแกว่งอยู่ในกรอบแคบๆ โดยระหว่างวันทำ low สุดที่ระดับ 35.62/64 บาท/ดอลลาร์ และทำ high สุดที่ระดับ 35.67/69 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากวันนี้ยังไม่มีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่า เงินบาทมากนัก อาจจะต้องรอสัปดาห์หน้าที่สหรัฐฯ จะประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญหลายรายการ

"วันนี้บาทแกว่งแคบๆ เพราะไม่ค่อยมีปัจจัยอะไรมาก ต้องรอดูสัปดาห์หน้า เพราะสหรัฐฯ จะประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่ น่าสนใจ เช่น GDP ไตรมาส 3/2016" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า ช่วงต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.50 - 35.80 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.08/10 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 113.80 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรเย็นนี้ออยู่ที่ระดับ 1.0595/0597 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0544 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,500.40 จุด เพิ่มขึ้น 10.29 จุด (+0.69%) มูลค่าการซื้อขาย 36,867 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 523.77 ลบ.(SET+MAI)
  • นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เปิดเผยว่า จะเสนอมาตรการของขวัญปีใหม่ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา
ใน 1-2 สัปดาห์นี้ โดยมาตรการมีอยู่แล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้
  • นางนันทวัลย์ ศกุนตนาค อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงการปรับขึ้นค่าแรงงานอีกวันละ 5-10 บาท ซึ่งจะมีผล
ในวันที่ 1 ม.ค.60 จากการศึกษาโครงสร้างต้นทุนราคาสินค้านั้น พบว่าสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการครองชีพของประชาชนได้รับผล
กระทบเพียงเล็กน้อย โดยในภาพรวมแล้วจะทำให้ราคาสินค้าปรับขึ้นเพียง 0.01-1.02% เท่านั้น ซึ่งไม่ใช่เหตุที่ทำให้ผู้ผลิตจะอ้าง
ปรับขึ้นราคาสินค้าแต่อย่างใด
  • นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขอให้สมาชิก สนช.เตรียมพร้อมสำหรับการประชุม
นัดพิเศษตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย.นี้ จากก่อนหน้านี้ที่ไม่ได้มีกำหนดนัดประชุมไว้ เนื่องจากเป็นการประสานงานร่วมกันของวิป สนช.และ
คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (วิป สปท.)
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำหนดให้วันอังคารที่ 3 มกราคม 2560 เป็นวันหยุดทำการของสถาบันการเงิน
และสถาบันการเงินเฉพาะกิจเป็นกรณีพิเศษ เพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม
  • นักวิเคราะห์มองว่า การที่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นอย่างแข็งแกร่งนั้น เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เงินหยวนอ่อน
ค่าลงอย่างต่อเนื่องในเดือนนี้ นอกจากนี้ยังคาดว่าเงินหยวนจะเคลื่อนไหวผันผวนต่อไป ในขณะที่ดอลลาร์ยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอีก
ท่ามกลางกระแสการคาดการณ์ที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธ.ค.นี้

อย่างไรก็ดี ผู้เชี่ยวชาญหลายคนมองว่า หากเปรียบเฉพาะกับดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นมากนั้น เงินหยวนยังค่อนข้างที่จะมี เสถียรภาพ หรืออาจมีแนวโน้มแข็งค่ามากกว่าด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับเงินตราสกุลอื่นๆ

  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีน (NBS) เปิดเผยว่า NBS กำลังจัดทำดัชนีตัวใหม่เพื่อทำการประเมิน "ภาวะเศรษฐกิจ
แบบใหม่" ภายในประเทศ ซึ่งกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งดัชนี้ชี้วัดตัวใหม่นี้จะใช้ในการวิเคราะห์และประเมินวัดผลเศรษฐกิจใหม่
ในมิติต่างๆ เช่น ความรู้ ความคึกคักทางเศรษฐกิจ นวัตกรรม กระบวนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัล การปฏิรูปโครงสร้าง การยก
ระดับทางเทคโนโลยี ตลอดจนความสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินงาน
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติฝรั่งเศส (Insee) รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย. ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 98
ในเดือนพ.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของฝรั่งเศสประจำเดือนพ.ย.นี้อยู่ในระดับเดียวกับเดือนต.ค. และสอดคล้องกับที่บรรดานัก
ลงทุนได้คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี ดัชนียังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวที่ระดับ 100 นับตั้งแต่ปี 2550
  • กระทรวงแรงงานของฝรั่งเศส เปิดเผยว่า จำนวนผู้ว่างงานที่ลงทะเบียนหางานทำในเดือน ต.ค. ปรับตัวลงอีกครั้ง
เป็นเดือนที่ 2 โดยลดลง 0.3% จากเดือนส.ค. สู่ระดับ 3,478,800 คน และลดลง 2.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่
แล้ว โดยจำนวนผู้ว่างงานที่ลดลงนี้ ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่านายฟรองซัวส์ ออลลองด์ ประธานาธิบดีฝรั่งเศส อาจจะลงสมัครรับ
เลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้งในเดือนพ.ค.ปีหน้า หลังจากที่เขาเคยให้คำมั่นว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง หากไม่สามารถทำให้อัตรา
ว่างงานลดลงได้ภายในสิ้นปีนี้
  • นักลงทุนติดตามการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญหลายรายการ โดยทางฝั่งสหรัฐฯ เช่น ดัชนีภาคการผลิต (PMI)

เดือนต.ค., GDP ไตรมาส 3/59, ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และตัวเลขการจ้างงานภาคเอกชนเดือนพ.ย. เป็นต้น ส่วนญี่ปุ่น

เช่น อัตราการว่างงาน, การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. ขณะที่ทางฝั่งยุโรป เช่น ความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ, ภาค

อุตสาหกรรม, ภาคบริการ, ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ เดือน พ.ย. และดัชนีราคาผู้บริโภค เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ