ภาวะตลาดเงินบาท: ปิดตลาด 35.85/89 แกว่งแคบ ไร้ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด มองกรอบพรุ่งนี้ 35.75-35.95

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 19, 2016 17:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.85/89 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลง เล็กน้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.82/83 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทช่วงเย็นนี้ปรับตัวอ่อนค่าจากตอนเปิดตลาดช่วงเช้าเล็กน้อย แต่ภาพรวมระหว่างวันแกว่งตัวอยู่ในกรอบแคบๆ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยที่เข้ามามีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินเท่าใดนัก ขณะที่พรุ่งนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้ายสำหรับปี 59 โดยตลาดคาดการณ์ว่า กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.50% ต่อไป แม้ล่าสุดธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปอีก 0.25% แล้วก็ตาม

"วันนี้บาทแกว่งอยู่แคบๆ ในกรอบ 35.80-35.90 เพราะยังไม่มีปัจจัยอะไรใหม่ๆ เข้ามา ส่วนพรุ่งนี้ ที่จะมีประชุม กน ง.ตลาดก็มองว่าน่าจะยังคงดอกเบี้ยไว้เท่าเดิม" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า เงินบาทวันพรุ่งนี้จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 35.75-35.95 บาท/ดอลลาร์ พร้อมมองว่าในช่วง ใกล้ๆ สิ้นปีอาจจะมีแรงเทขายดอลลาร์ออกมา

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 117.35/55 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 117.55 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0437/0458 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0460 บาท/ดอลลาร์
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,522.40 จุด ลดลง 0.11 จุด (-0.01%) มูลค่าการซื้อขาย 36,233 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 75.43 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารโลก (World Bank) ปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทย (GDP) ของปี 60 เพิ่มขึ้นเป็น
3.2% จากเดิมที่คาดเติบโตได้ 3.1% โดยได้รับปัจจัยหนุนอย่างต่อเนื่องจากการบริโภค การลงทุนของภาคเอกชนในประเทศ และ
การใช้จ่ายภาครัฐที่ยังเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ประกอบกับความสำเร็จในการเริ่มโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
ขนาดใหญ่ ซึ่งจะช่วยดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากภาคเอกชน และเสริมสร้างภาพลักษณ์ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

ขณะที่คาดว่าการส่งออกในปี 60 จะขยายตัวได้ราว 1% ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากการฟื้นตัวของของเศรษฐกิจ สหรัฐฯ โดยจะเห็นการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3/59 ไตรมาส 4/59 และเชื่อว่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องไปจนถึงปี 60 อย่างไรกีดี ปัจจัยที่ยังต้องระมัดระวัง คือ ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายการค้าของประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่ และผลกระทบที่จะ เกิดขึ้นจากกรณีอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit)

  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติ "คง" อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ
1.50% ต่อเนื่องในการประชุม กนง. รอบสุดท้ายของปี 2559 ในวันที่ 21 ธ.ค.นี้ และน่าจะส่งสัญญาณยืนอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ
ต่อไปอีกระยะหลายเดือนข้างหน้า เพื่อรอประเมินสถานการณ์หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งสัญญาณดอกเบี้ยเป็นขาขึ้นต่อเนื่องในปีหน้า
และเพื่อช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (FED) สาขาริชมอนด์ ระบุว่า หากอุปสงค์ภายในประเทศปรับตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่งก็มี
ความเป็นไปได้ว่าเฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปี 60 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อระยะยาวของคณะ
กรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ที่กำหนดไว้ที่ระดับ 2%
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้เริ่มการประชุมนโยบายที่จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วันแล้วในวันนี้ โดยคาดว่าแบงก์ชาติญี่ปุ่น
จะคงนโยบายการเงินไว้เช่นเดิม แต่จะหารือเกี่ยวกับผลกระทบของนโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาล (Yield
Curve Control) ท่ามกลางอัตราดอกเบี้ยระยะยาวที่ปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยระยะยาวของญี่ปุ่นนั้นอยู่ในช่วงขาขึ้น ตามทิศทางการปรับตัวขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอาจจะเพิ่มงบประมาณการใช้จ่ายและออกพันธบัตรมากขึ้น ซึ่ง อาจจะทำให้เงินเฟ้อในสหรัฐฯ สูงขึ้นตามไปด้วย

  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า สินทรัพย์ภาคครัวเรือนของญี่ปุ่น ณ สิ้นเดือน ก.ย. เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกใน
รอบ 3 ไตรมาส แตะระดับ 1,752 ล้านล้านเยน (14.87 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ) หรือเพิ่มขึ้น 0.6% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดย
เมื่อแยกตามประเภทของสินทรัพย์, เงินสด และเงินฝาก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 52.3% ของสินทรัพย์ทางการเงินของภาคครัวเรือน เพิ่ม
ขึ้น 1.4% แตะที่ 916 ล้านล้านเยน ขณะที่หุ้นและหลักทรัพย์อื่นๆ ลดลง 2.2% สู่ระดับ 150 ล้านล้านเยน
  • รัฐบาลญี่ปุ่น มีแผนตั้งงบประมาณทั่วไปสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ประมาณ 97.45 ล้านล้านเยน (8.30 แสนล้าน
ดอลลาร์) ในปีงบประมาณ 2560 ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เดือนเม.ย. โดยมีงบประมาณด้านการประกันสังคมคิดเป็นสัดส่วนราว 1 ใน 3 ทั้ง
นี้ในปัจจุบันญี่ปุ่นกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยคาดว่างบประมาณเบื้องต้นของญี่ปุ่นน่าจะทำสถิติสูงสุดเป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน หลังได้วาง
เงินปีงบประมาณ 2559 ไว้ที่ 96.72 ล้านล้านเยน โดยจะมีการจัดสรรงบประมาณราว 32.47 ล้านล้านเยน เพื่อการใช้จ่ายด้าน
ประกันสังคม
  • Ifo ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวเพิ่มขึ้น

แตะ 111.0 ในเดือนธ.ค. จากระดับ 110.4 ในเดือนพ.ย. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะอยู่ที่ 110.7 โดยผล

สำรวจความเชื่อมั่นล่าสุดนี้ สนับสนุนการคาดการณ์ที่ว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป จะดีดตัวขึ้นในไตรมาส 4


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ