ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 36.00/01 แกว่งในกรอบหลังกนง.คงดอกเบี้ยตามคาด มองแนวโน้มพรุ่งนี้ยังอ่อนค่าต่อ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 21, 2016 17:31 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดวันนี้ที่ระดับ 36.00/01 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 36.05 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 35.95-36.06 บาท/ดอลลาร์

สำหรับแนวโน้มวันพรุ่งนี้ คาดว่าเงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อ โดยคาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 35.90- 36.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 117.50 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 117.78 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0398 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.0394 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,508.57 ลดลง 3.08 จุด, -0.20% มูลค่าการซื้อขาย 34,609.97 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,617.30 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) นัดสุดท้ายของปีนี้ วันที่ 21 ธ.ค. 59 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี โดยคงคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยในปี 59 และ 60 ในระดับใกล้เคียงกัน
ที่ 3.2% และมองว่าความเสี่ยงต่อประมาณการเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อโน้มไปด้านต่ำและมีความไม่นอนมากขึ้น
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มองมีความเป็นไปได้ที่ กนง. จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งหลังของปี
2560 หากการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาในระยะแรกของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของนายทรัมป์ร้อนแรงและส่งผลให้
การเคลื่อนย้ายเงินทุนผันผวนมาก

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า กนง.ยังต้องติดตามผลของการดำเนินนโยบายของสหรัฐฯ การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและ เสถียรภาพด้านการเมืองและเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป

  • คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุ เศรษฐกิจไทยในปี 2559 และ
2560 มีแนวโน้มขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ โดยในปี 2559 และ 2560 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้เท่ากันที่
3.2% โดยการบริโภคภาคเอกชน และการส่งออกสินค้าที่ปรับดีกว่าคาดจากข้อมูลจริงในไตรมาส 3 ปี 2559 เป็นสำคัญ รวมทั้ง
มาตรการภาครัฐที่ออกมาเพิ่มเติม ช่วยชดเชยการลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกบริการที่ต่ำกว่าคาด
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยปี 60 ไว้ที่ 3.3% เท่ากับปีนี้ที่เติบโตได้ 3.3% โดย
คาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 60 จะเติบโตได้ 3.2% เท่ากับไตรมาส 4/59 ซึ่งมองว่าในไตรมาส 1/60 ยังมีแนว
โน้มทรงตัวจากไตรมาส 4/59 เพราะมีปัจจัยลบส่งผลต่อเนื่องมา ส่วนในช่วงครึ่งหลังของปี 60 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะมีโอกาสกลับ
มาฟื้นตัว โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ 3.4% แต่มีความเป็นไปได้ที่มีโอกาสทบทวนในช่วงต้นปีหน้า เพราะจะต้องรอดูงบกลางปีที่ตั้งไว้
1.6 แสนล้านบาท จะใช้ได้มากน้อยเท่าไร
  • นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม พ.
ย.59 ปรับตัวสูงสุดในรอบ 20 เดือน อยู่ที่ระดับ 87.6 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 86.5 ในเดือน ต.ค.59 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยค่า
ดัชนีฯ ที่เพิ่มขึ้นมาจากองค์ประกอบยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ
  • รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ในปี 2560 กระทรวงฯ ตั้งเป้าสร้างรายได้ 2.5 ล้านล้านบาท โดยมุ่งให้
ประเทศไทยเป็น 5 ศูนย์กลางการเดินทางท่องเที่ยวในอาเซียน คือ การท่องเที่ยวเชิงกีฬา, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, การจัดงาน
แต่งงาน, การท่องเที่ยวทางน้ำ และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงอาเซียน โดยจะเน้นให้นักท่องเที่ยวสัมผัสประสบการณ์ในท้องถิ่น และ
เพิ่มวันเข้าพัก
  • นายมอริส อ็อบส์ทเฟลด์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า ประเทศต่างๆ
ทั่วโลกควรเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายการเงิน ด้วย
การประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนธ.ค. และยังส่งสัญญาณว่าจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 3 ครั้งในปีหน้า นอกจากนี้ นาย
อ็อบส์ทเฟลด์ยังเตือนด้วยว่า หลายประเทศจะหันมาใช้นโยบายกีดกันทางการค้าหลังจากอัตราแลกเปลี่ยนตกอยู่ในภาวะผันผวน อัน
เนื่องมาจากการที่สหรัฐปรับเปลี่ยนโยบายการเงิน
  • รัฐบาลญี่ปุ่นได้ปรับเพิ่มการประเมินภาวะเศรษฐกิจเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมี.ค. 2558 โดยระบุว่า การอุปโภค
บริโภคของภาคเอกชนและการส่งออกปรับตัวดีขึ้น

รายงานประจำเดือนธ.ค.ของสำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นระบุว่า "เศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวปานกลาง และสามารถเห็นได้ถึง การปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆในบางส่วน" ซึ่งการประเมินดังกล่าวนับว่าดีกว่าการประเมินก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า "เศรษฐกิจมีการฟื้นตัว ปานกลาง ขณะที่ยังมีความอ่อนแอปรากฏให้เห็นในระยะนี้"

  • นายฟูมิโอะ คิชิดะ รัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป อียู) จะเลื่อนการทำข้อตกลง

การค้าเสรี (FTA) ออกไปเป็นปีหน้า จากเดิมที่วางแผนว่าจะบรรลุข้อตกลงดังกล่าวในปีนี้


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ