ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 35.24/26 แข็งค่าจากสัปดาห์ก่อน แนวโน้มแกว่งแคบในกรอบ 35.22-35.30

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 30, 2017 09:21 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 35.24/26 บาท/ดอลาร์ แข็งค่า จากเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 35.29 บาท/ดอลลาร์

ทิศทางเงินบาทวันนี้คาดว่าจะยังทรงตัว เนื่องจากไม่มีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินมากนัก

"วันนี้บาทคงจะ sideway ไม่ค่อยมีปัจจัยอะไรสำคัญมาก" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.22-35.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.40 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 114.96 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0730 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ปิดตลาดที่ระดับ 1.06681 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 35.3110 บาท/
ดอลลาร์
  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังเดือน ธ.ค.59 และประมาณการ
เศรษฐกิจไทยปี 2560
  • ธนาคารกสิกรไทย ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทสัปดาห์นี้ (30 ม.ค.-3 ก.พ.)ที่ 35.20-35.50 บาท
ต่อดอลลาร์ฯ โดยจุดสนใจของนักลงทุนน่าจะอยู่ที่ผลการประชุม FOMC และความคืบหน้าเกี่ยวกับนโยบายเศรษฐกิจของทรัมป์ ขณะที่
ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร ดัชนี PMI ภาคการผลิต-ภาคบริการ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภคเดือนม.ค. ยอดสั่งซื้อของโรงงาน รายจ่ายด้านการก่อสร้าง ยอดทำสัญญาซื้อบ้านที่รอปิดการขาย รายได้และการบริโภคส่วน
บุคคลเดือนธ.ค. รวมถึงดัชนีราคาบ้านเดือนพ.ย.

นอกจากนี้ ตลาดอาจรอจับตาผลการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่นและธนาคารกลางอังกฤษด้วยเช่นกัน

  • ธนาคาร ซี ไอเอ็มบี ไทย มองภาวะตลาดเงินในสัปดาห์นี้ (30 ม.ค.-3 ก.พ.) คาดว่าเงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่
ในกรอบ 35.20-35.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในสัปดาห์หน้าธนาคารกลางสหรัฐฯจะมีการประชุมในวันที่ 31 ม.ค.-1 ก.พ.
60
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยการโอนเงินของนักลงทุนต่างชาติและการซื้อคืนพันธบัตรแบบทวิภาคี ทำให้
ปริมาณ-มูลค่าบาทเนตเพิ่มขึ้นเดือนสุดท้ายปี 59 ส่วนใหญ่เป็นปริมาณธุรกรรมบาทเนตช่วงมูลค่าไม่เกิน 1 ล้านบาท และไม่เกิน 10
ล้านบาท
  • กระทรวงการคลังเตรียมขยับจีดีพีปีนี้ใหม่ ลุ้นโตแตะ 4% รับปัจจัยบวกงบกลางปี 1.9 แสนล้านบาท ช่วยกระตุ้น
เศรษฐกิจ 0.5% พ่วงอานิสงส์ส่งออกฟื้นตัวดีขึ้น
  • ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (mai) เปิดเผยว่า เตรียมร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และหน่วย
งานอื่นๆ พัฒนาศักยภาพธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ที่เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ 500,000 ราย
ให้มีความพร้อม ทั้งด้านการ บริหาร, ยอดขาย และเอสเอ็มอีที่มีแนวโน้มธุรกิจที่ดี ก่อนคัดเลือกให้เข้าระดมทุนจดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์เอ็มเอไอ เพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการ และช่วยพัฒนาเศรษฐกิจไทย
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขประมาณการเบื้องต้นของการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(จีดีพี) ประจำไตรมาส 4 อยู่ที่ระดับ 1.9% โดยต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 2.2% ขณะที่ได้รับผลกระทบจาก
การชะลอตัวของการส่งออก และการใช้จ่ายของผู้บริโภค
  • ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2004
โดยอยู่ที่ระดับ 98.5 ในเดือนม.ค. เทียบกับระดับ 98.2 ในเดือนธ.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 98.1
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อวัน
ศุกร์ (27 ม.ค.) เนื่องจากนักลงทุนคาดหวังว่า นโยบายต่างๆของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐให้แข็ง
แกร่ง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าผิดหวังของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด
ในไตรมาส 4 ได้สกัดแรงบวกของดอลลาร์ในระหว่างวัน โดยดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 115.08 เยน
จากระดับของวันพฤหัสบดีที่ 114.41 เยน ยูโรแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 1.0696 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.0695 ดอลลาร์สหรัฐ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดขยับลงเมื่อวันศุกร์ (27 ม.ค.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ส่งผลให้
ความต้องการถือครองทองคำของนักลงทุนลดน้อยลง นอกจากนี้ นักลงทุนยังระมัดระวังการซื้อขายก่อนที่การประชุมของธนาคารกลาง
สหรัฐ (เฟด) จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนก.พ.ลดลง 1.4 ดอลลาร์ หรือ 0.12% ปิดที่ 1,188.40 ดอลลาร์/ออนซ์

  • นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาดูการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายการเงินและอัตรา

ดอกเบี้ยในวันนี้ถึง 31 ม.ค. ตามด้วย FED ประชุมในวันที่ 31 ม.ค.และ 1 ก.พ. เบื้องต้นตลาดส่วนใหญ่คาดว่า BOJ และ FED

จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมคือ -0.1% และ 0.75% ตามลำดับ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ