ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.00 ทรงตัว/แกว่งแคบ ยังรอความชัดเจนเกี่ยวกับปัจจัยตปท.

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 9, 2017 17:46 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.00 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวใน ระดับเดียวกับเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ผ่านมา ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวระหว่าง 34.99-35.02 บาท/ดอลลาร์ นักลงทุนน่าจะรอดู ทิศทางที่ชัดเจน ทั้งเรื่องนโยบายของสหรัฐ และการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส

"บาทปิดตลาดทรงตัว ระหว่างวันแกว่งตัวในกรอบแคบมากแค่ 3 สตางค์ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา นักลงทุนรอ ดูความชัดเจนจากปัจจัยเดิม" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.95-35.05 บาท/ดอลลาร์เช่นเดิม

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ 112.23 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 112.07 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ 1.0695 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0685 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,583.25 จุด ลดลง 6.04 จุด, -0.38% มูลค่าการซื้อขาย 58,472.75 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 137.82 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนาด้านเศรษฐกิจและการลงทุน THE WISDOM
Wealth Avenue : จับจังหวะโลก เจาะจังหวะการลงทุนว่า เศรษฐกิจไทยจะยังเผชิญภาวะ 3 ต่ำ 2 สูง ได้แก่ อัตราการขยาย
ตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) ต่ำ เงินเฟ้อต่ำ อัตราดอกเบี้ยต่ำ ส่วน 2 สูง ได้แก่ ความผันผวนตลาดเงิน-ตลาดทุน และความเหลื่อมล้ำ
สูงไปอีกระยะ แต่มองว่าความรุนแรงน้อยกว่าหากเทียบในต่างประเทศ เพราะเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยเงินเฟ้อแม้จะต่ำแต่
เริ่มเข้าสู่กรอบเป้าหมายแล้ว
  • สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) เปิดเผยว่า ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยกำลังเข้าสู่ยุค
สงคราม เป็นสงครามเศรษฐกิจที่ก่อตัว ทวีความรุนแรงและเตรียมปะทุขึ้นในปีนี้ ดังนั้นประเทศไทยควรติดตามใกล้ชิดเพื่อเตรียมตัวตั้ง
รับให้ดี เพราะสงครามรอบนี้ ประเทศมหาอำนาจมีกลไกหลายรูปแบบในการชิงความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง มีความเสี่ยงที่ประเทศไทย
รวมถึงประเทศเกิดใหม่ทั้งหลายจะตกเป็นเหยื่อ หรือหากเคราะห์ร้ายอาจถึงขั้นตกเป็นเชลยของสงครามในช่วงที่มหาอำนาจอย่าง
สหรัฐ และจีนรบพุ่งกัน สำหรับสงครามสี่ทัพ ประกอบด้วย สงครามการค้า-สงครามค่าเงิน-สงครามราคา-สงครามจิตวิทยา
  • ธนาคารซิตี้แบงก์ ระบุว่านักวิเคราะห์ของซิตี้แบงก์ประเมินว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในปี
60 จะเติบโตในระดับ 3.3% ดีขึ้นจากในปี 59 ที่เติบโตได้ 3% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 2.2%
โดยมองว่าปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในปีนี้ คือ การลงทุนภาครัฐ และการบริโภคของประชาชนที่น่าจะดีขึ้นกว่าปีก่อน แต่
ทั้งนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามเช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค คือ นโยบายของรัฐบาลใหม่สหรัฐ ภายใต้การนำของนายโดนัล
ด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐว่าจะมีผลกระทบต่อการค้าของโลกมากน้อยเพียงใด
- นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในปี 60 จะเร่งผลักดันโครงการรถไฟฟ้า 10 สายให้ผ่านการอนุมัติจากที่
ประชุมคณะรัฐมนตรี (ค.ร.ม.) และมีระยเวลาก่อสร้าง 6 ปี และในอังคารหน้า(14 ก.พ.)จะนำส่วนเชื่อมต่อสถานีบางซื่อของ
รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินกับสถานีเตาปูน ของรถไฟฟ้าสายสีม่วง ระยะทาง 1 กม. เสนอเข้าค.ร.ม.
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เชื่อว่าแนวโน้มสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ในปี 60 จะดีขึ้นเนื่องจากมีสัญญาณ
การขยายตัวสินเชื่อในบางกลุ่มธุรกิจตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังปี 59 แม้ว่าสินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์ของปี 59 จะขยายตัว 2% ชะลอ
ลงจากปี 58 ที่ขยายตัว 4.3% เป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบ 7 ปี
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เปิดเผยว่า สกุลเงินวอนของเกาหลีใต้ผันผวนเพิ่มขึ้นในเดือนที่ผ่านมา เนื่องจาก
สถานการณ์ความไม่แน่นอนต่างๆ เกี่ยวกับรัฐบาลใหม่ของสหรัฐ
  • นายกราอีม วีลเลอร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางนิวซีแลนด์ กล่าวว่า มาตรการกีดกันทางการค้าของนายโดนัลด์ ทรัมป์
ประธานาธิบดีสหรัฐ จะทำให้ราคาสินค้าในสหรัฐสูงขึ้น ก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ และส่งผลให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ต้องบังคับ
ใช้มาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น
  • รองผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะใช้มาตราการผ่อนคลายทางการเงินเชิงรุกต่อไป
เพื่อผลักดันเงินเฟ้อสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% แม้ว่าจะถูกนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ วิจารณ์ว่า ญี่ปุ่นจงใจลดค่าเงินของ
ประเทศก็ตาม
  • สำนักงานสถิติเยอรมนี (Destatis) เปิดเผยว่า ยอดเกินดุลการค้าปี 2559 ของเยอรมนีพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดเป็น
ประวัติการณ์

ทั้งนี้ ยอดเกินดุลการค้าในปี 2559 อยู่ที่ 2.529 แสนล้านยูโร (2.70 แสนล้านดอลลาร์) ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดนับตั้งแต่ มีการบันทึกสถิติไว้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

  • นางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เรียกร้องให้ชาติสมาชิกกองทุน IMF

เปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสมากขึ้น ซึ่งจะช่วยยกระดับความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจให้สามารถในการฟื้นตัวจากผลกระทบด้านลบได้ดียิ่ง

ขึ้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ