ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.38/41 ทิศทาง Sideway รอดูตัวเลขจ้างงานฯสหรัฐคืนนี้ มองกรอบสัปดาห์หน้า 35.40-35.70

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 10, 2017 17:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.38/41 บาท/ดอลลาร์ จากช่วง เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.40/42 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาท sideway อยู่ในกรอบ 35.35-35.40 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งต้องรอดูการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอก ภาคเกษตรของสหรัฐฯคืนนี้ ในขณะที่แนวโน้มเงินบาทสัปดาห์หน้ายังมีโอกาสอ่อนค่าต่อได้อีก เนื่องจากตลาดส่วนใหญ่ยังคงเชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมสัปดาห์หน้า

"เงินบาทน่าจะยังอ่อนค่าได้ต่อ เพราะตอนนี้เชื่อกันว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า สัปดาห์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.40 - 35.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 115.30/40 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 115.29 ดอลลาร์/ยูโร
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0600/0620 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0580 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,539.91 จุด ลดลง 9.33 จุด (-0.60%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 39,570 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,287.31 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคาร ซี ไอเอ็มบี ไทย คาดเงินบาท สัปดาห์หน้า ( 13-17 มี.ค.) อาจจะอ่อนค่าไปได้ถึงระดับ 36 บาทต่อ
ดอลลาร์สหรัฐฯหากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯออกมาสูงใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่เพิ่ม 227,000 ตำแหน่งและ
ธนาคารกลางสหรัฐฯขึ้นอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 14-15 มีนาคม 2560 ตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์

ในทางตรงกันข้ามหากธนาคารกลางสหรัฐฯยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ก็จะส่งผลให้บาทกลับมาแข็งค่าชั่ว คราวเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะเดียวกันอีกประเด็นที่ต้องจับตาในสัปดาห์หน้าคือการเลือกตั้งทั่วไปในเนเธอร์แลนด์ในวันที่ 15 มีนาคมนี้ซึ่งอาจจะส่งผลให้ค่าเงินยูโรผันผวนมากขึ้น

  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดว่า การประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการ
เงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ในวันที่ 14-15 มี.ค.นี้ FOMC จะตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% โดยเชื่อ
ว่าสหรัฐจะพิจารณาจากปัจจัยข้อมูลเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น เช่น อัตราเงินเฟ้อ และการจ้างงาน ซึ่ง FOMC เชื่อว่า
การตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และอาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้อีกอย่างน้อย
1-2 ครั้งภายในปีนี้ ซึ่งจะทำให้ ณ สิ้นปี อัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐจะอยู่ที่ระดับ 1.25-1.50%
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คงสร้างแรงกดดันต่อค่าเงิน
ของประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งเงินบาทของไทย ให้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่อ่อนค่า อันอาจเป็นตัวกระตุ้นให้มีการไหล
ออกของเงินทุน และอาจกดดันต้นทุนทางการเงินในช่วงสั้นให้ปรับตัวขึ้นได้ อย่างไรก็ดี คงต้องยอมรับว่า ประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่ง
ในประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางการเงิน จากระดับทุนสำรองที่อยู่ในระดับสูง ดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังคงเกินดุลแข็งแกร่งต่อเนื่อง รวม
ทั้งสภาพคล่องในประเทศที่ยังมีอยู่มาก ทำให้ผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดต่อเศรษฐกิจไทย น่าจะอยู่ในระดับที่
จำกัด
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี (TMB Analytics) ชี้หากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยได้
เร็วจะสร้างแรงกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นตาม พร้อมเตือนรับจุดสิ้นสุด
ของดอกเบี้ยขาลง
  • กระทรวงการคลัง รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2560 มีจำนวน 6,059,644.61 ล้าน
บาท หรือคิดเป็น 41.97% ของ GDP
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มองว่าการที่รัฐบาลมีแผนจะคงภาษี VAT ไว้จนถึง ก.
ย.61 น่าจะเป็นกรอบที่เหมาะสมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่โดดเด่นนัก การตัดสินใจขึ้นภาษีในช่วงนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่
เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัวจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิด sentiment ในเชิงลบได้ และถ้าเศรษฐกิจเพิ่งเริ่มฟื้นตัว การขึ้นภาษีในช่วงนั้นอาจทำให้
เศรษฐกิจไทยช็อคได้
  • นายโจว เสี่ยวฉวน ผู้ว่าการธนาคารกลางจีนเปิดเผยว่า จีนจะเดินหน้าเปิดตลาดพันธบัตรสำหรับนักลงทุนต่างชาติต่อ
ไป โดยจะดำเนินการแบบเป็นขั้นเป็นตอน ควบคู่ไปกับการผลักดันเงินหยวนให้เป็นที่นิยมใช้ในตลาดการเงินโลก
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางจีน (PBOC) กล่าวในการแถลงข่าวนอกรอบการประชุมรัฐสภาในวันนี้ว่า แนวโน้มขาลงของทุน
สำรองเงินตราต่างประเทศของจีนนั้น ถือเป็นสถานการณ์ปกติ
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งของจีนในปัจจุบัน จะช่วยใช้จีน
บรรลุเป้าหมายผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ขยายตัว 6.5% ในปี 2560 อย่างไรก็ตาม จีนจะต้องปฏิรูปเพิ่มขึ้นเพื่อมุ่งสู่
แนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืน ทั้งนี้สถานการณ์เงินทุนไหลออกจากจีนในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องน่ากังวล แต่จะน่ากังวลก็ต่อเมื่อทำให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงที่ไร้ระเบียบของอัตราแลกเปลี่ยนและเศรษฐกิจในวงกว้างขึ้น
  • ตลาดการเงินทั่วโลกจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรประจำเดือนก.พ.ของสหรัฐในวันนี้ เวลา 20.30 น.
ตามเวลาไทย โดยข้อมูลดังกล่าวจะบ่งชี้แนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) หลังจากนางเจเน็ต เย
ลเลน ประธานเฟดได้ส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ หากตัวเลขจ้างงานออกมาสอดคล้องกับเป้าหมายของเฟด

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ