ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 35.31/33 ใกล้เคียงช่วงเช้าหลังรับข่าวเฟดขึ้นดอกเบี้ยรอยนี้ มองกรอบพรุ่งนี้ 35.20-35.40

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 13, 2017 17:49 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 35.31/33 บาท/ดอลลาร์ ใกล้เคียง จากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.32 บาท/ดอลลาร์

หลังจากเปิดตลาดในช่วงเช้า เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นบ้างเล็กน้อยตามทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค แต่หลังจากนั้น เงินบาทได้ปรับตัวอ่อนค่าลงมา ซึ่งอาจะเป็นเพราะวันนี้ flow ไม่ค่อยหวือหวามากนัก กรณีที่ธนาคารสหรัฐ (เฟด)จะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยนโยบายก็เป็นปัจจัยที่ตลาดรับรู้แล้ว และเชื่อว่าจะเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์ ซึ่งตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของ สหรัฐที่ออกมาดี ก็ยิ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนว่าโอกาสที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยมีมากขึ้น

"วันนี้ flow ไม่ค่อยหวือหวาเท่าไร ตลาดก็อิ่มตัวแล้วจากข่าวที่ว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้ และยิ่งเมื่อคืนวันศุกร์ตัว เลข Nonfarm Payroll ออกมาดี ก็ยิ่งเป็นตัวหนุนมากขึ้นว่าเฟดจะตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย" นักบริหารเงิน ระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.20-35.40 บาท/ดอลลาร์

*ปัจจัยสำคัญ

  • ช่วงเย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 114.55/58 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 114.84/85 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.0667/0670 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0685 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,535.51 จุด ลดลง 4.40 จุด (-0.29%) โดยมีมูลค่าการซื้อขาย 35,931 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 260.03 ลบ.(SET+MAI)
  • นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เชื่อว่าหากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ขึ้นอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมเดือน มี.ค.นี้ จะไม่กระทบต่อตลาดการเงินไทยมากนัก เพราะเป็นไปตามกลไก และตลาดรับรู้ไป
แล้ว นอกจากนี้ ธปท.ยังไม่พบการเคลื่อนย้ายเงินทุนที่ผิดปกติ หลังจากตลาดมั่นใจมากขึ้นว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม
รอบนี้ ซึ่งธปท.จะติดตามการเคลื่อนไหวของตลาดเงินอย่างใกล้ชิดต่อไป
  • ธนาคารโลก ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอรายงานเรื่อง "กลับสู่เส้นทาง : ฟื้นฟูการเติบโตและ
ประกันความมั่งคั่งสำหรับทุกคน" โดยได้นำเสนอ 3 แนวทางสำคัญที่จะช่วยสร้างการเติบโตให้ประเทศไทยได้อย่างทั่วถึงและยั่งยืน
เพื่อให้เครื่องยนต์เศรษฐกิจของไทยกลับมาขับเคลื่อนได้อีกครั้ง
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงผลการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ
ภาคตะวันออก (EEC) ว่า ได้มีการสั่งการให้มีการเตรียมความพร้อมและความคืบหน้าแผนปฏิบัติการ EEC ในแต่ละโครงการให้มี
ความชัดเจน เพื่อที่จะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมนโยบายฯ ในวันที่ 5 เม.ย.นี้
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) คาดว่าจะเห็นการเติบโตของสินเชื่อที่ดีขึ้นอย่างชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ เนื่อง
จากโครงการลงทุนต่างๆของภาครัฐจะมีความชัดเจนมากขึ้นในครึ่งปีหลังมากกว่าครึ่งปีแรก ทำให้ความต้องการใช้สินเชื่อเพิ่มขึ้น ซึ่ง
ธนาคารคาดว่าการเติบโตของสินเชื่อในปีนี้ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เติบโตได้ 4-6%
  • ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ตั้งเป้าสินเชื่อปี 60 เติบโต 3-5% จากปีก่อนที่สินเชื่อเติบโต 3.9% โดยมีปัจจัยหนุนจาก
การลงทุนโครงการของภาครัฐ โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเติบโตไม่ต่ำกว่า 3% และ
ความต้องการใช้สินเชื่อที่เพิ่มขึ้น
  • ธนาคารกรุงไทย เชื่อว่าสินเชื่อในปีนี้จะค่อยๆเห็นการฟื้นตัวขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายที่ธนาคารตั้งไว้เติบ
โตมากกว่า 5%
  • ธนาคารทหารไทย (TMB) ยังมั่นใจว่าการเติบโตของสินเชื่อในปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้เติบโต 8%
  • สื่อสหรัฐรายงานว่า สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐจากพรรครีพับลิกันกำลังร่างแผนปฏิรูประบบภาษีฉบับทางเลือก เพื่อแทนที่แผน
ปฏิรูปที่เสนอโดยประธานสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคาดว่าจะไม่ผ่านการรับรองในสภา สืบเนื่องจากวุฒิสมาชิกจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับการ
จัดเก็บภาษีตามแหล่งที่มาของสินค้า
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ได้กลับมาดำเนินงานทางตลาดเงิน (Open Market Operations) หรือ OMO อีก
ครั้ง เพื่ออัดฉีดเงินเข้าระบบธนาคาร โดยธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเงิน 3 หมื่นล้านหยวน (ประมาณ 4.35 พันล้านดอลลาร์) ผ่าน
ทางข้อตกลงซื้อคืนธบัตรโดยมีสัญญาขายคืน (reverse repo) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ธนาคารกลางเข้าซื้อหลักทรัพย์จากธนาคาร
พาณิชย์ด้วยข้อตกลงที่จะขายคืนในอนาคต
  • คณะกรรมการว่าด้วยกิจการระหว่างประเทศประจำรัฐสภาอังกฤษ เตือนว่า หากรัฐบาลอังกฤษไม่มี "แผนสอง" ใน
การรับมือกรณีเจรจาเรื่องการถอนตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit) ล้มเหลวแล้ว ก็จะถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่ ขณะที่นายเดวิด เด
วิส รัฐมนตรีฝ่ายกิจการ Brexit ยืนยันว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังหาแผนการฉุกเฉินเพื่อรับมือ หากการเจรจากับ EU เกิดความล่าช้า
แต่เขาเชื่อว่าจะมีความเป็นไปได้น้อยมากที่การเจรจาของทั้งสองฝ่ายจะหยุดชะงักลงอย่างสิ้นเชิง
  • ความเคลื่อนไหวที่นักลงทุนจับตาในสัปดาห์นี้ ได้แก่ การประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันที่ 14-15 มีนาคม

และการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันที่ 16 มีนาคมนี้ นักวิเคราะห์คาดว่า ที่ประชุม BOJ จะมีมติในการคงอัตราดอกเบี้ยและ

นโยบายควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทน (yield-curve) ไว้เช่นเดิม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ