(เพิ่มเติม) พาณิชย์ เผย CPI เดือน เม.ย.60 ขยายตัว 0.38%, Core CPI ขยายตัว 0.50%

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 1, 2017 15:23 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ (CPI) เดือนเม.ย.60 อยู่ที่ 100.49 เพิ่มขึ้น 0.38% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.16% จากเดือนมี.ค.60 โดยตัวเลข CPI เฉลี่ย 4 เดือนแรกของปีนี้ (ม.ค.-เม.ย.) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.03%

ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศ (Core CPI) เดือนเม.ย.60 อยู่ที่ 101.13 เพิ่มขึ้น 0.50% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.02% จากเดือนมี.ค.60 ส่งผลให้ Core CPI เฉลี่ย 4 เดือนแรก (ม.ค.-เม.ย.) ขยายตัว 0.61%

ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ในเดือนเม.ย.60 อยู่ที่ 101.02 ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 0.26% แต่เพิ่มขึ้น 0.29% จากเดือนมี.ค.60 ส่วนดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ในเดือนเม.ย.60 อยู่ที่ 100.20 เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 0.73% และเพิ่มขึ้น 0.08% จากเดือนมี.ค.60

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อปี 60 ยังคงขยายตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป อยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ โดยมีช่วงประมาณการที่ 1.5-2.2% โดยมีสมมติฐานหลัก คือ 1) GDP ขยายตัวร้อยละ 3.0 – 4.0 เศรษฐกิจปี 2560 ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2559 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากรายได้จากการส่งออกที่มีทิศทางการขยายตัวอย่างชัดเจน และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นตามราคาสินค้าเกษตร เป็นผลดีต่อเนื่องต่ออุปสงค์ภายในประเทศ อาทิ การใช้จ่ายภาคครัวเรือนและภาคเอกชน นอกจากนี้ การการลงทุนภาคเอกชนสูงขึ้นจากนโยบายการเงินที่ผ่อนปรน และการส่งเสริมนักลงทุนรายย่อยตามแนวทางประชารัฐ

2) ราคาน้ามันดิบดูไบ อยู่ในช่วง 50 – 60 ดอลล่าร์สหรัฐฯต่อ อุปสงค์และอุปทานน้ามันดิบในตลาดโลกจะมีความสมดุลมากขึ้น ผลจากการควบคุมก้าลังการผลิต ขณะที่ความต้องการน้ามันดิบทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ตลาดยังเผชิญกับความเสี่ยงจากการปฏิบัติตามข้อตกลงของผู้ผลิตกลุ่มโอเปคที่อาจก่อให้เกิดอุปทานส่วนเกินและส่งผลให้ราคาน้ามันปรับลดลง

3) อัตราแลกเปลี่ยน อยู่ในช่วง 35.5–37.5 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ ตามการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ เดือนธันวาคม 2559 และคาดว่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 2 ครั้งในปี 2560 ขณะที่ธนาคารกลางอื่นๆ ยังตรึงอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้เงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ทั้งนี้ ในเดือนเมษายน 2560 อัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 34.44 บาทต่อดอลลาร์ และราคาน้ามันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 52.45 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (ข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 27 เมษายน 2560)

ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ อุปสงค์ภาคครัวเรือนเริ่มฟื้นตัวสอดคล้องกับการการผลิตและรายได้เกษตรกร ประกอบกับภาระหนี้ครัวเรือนที่ลดลงหลังจากหมดระยะเวลาการช้าระมาตรการรถคันแรก รายได้จากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน มาตรการภาครัฐสนับสนุนก้าลังซื้อส้าหรับครัวเรือนรายได้น้อยและการลดหย่อนภาษี เงินได้บุคคลธรรมดาปี 2017

ส่วนปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของคู่ค้าส้าคัญส่งผลกระทบต่อการส่งออก ราคาน้ามันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น กระทบราคาน้ามันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าส่งผลกระทบต่อความสามารถทางการแข่งขันของภาคการส่งออกและต้นทุนการน้าเข้าสินค้าวัตถุดิบ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ