ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.38 แข็งค่าสุดรอบเกือบ 1 เดือน คาด Flow ไหลเข้า มองกรอบต่อไป 34.20-34.60

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 19, 2017 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 34.38 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากตอน เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.53 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 34.36-34.54 บาท/ดอลลาร์

"34.38 เป็นระดับที่แข็งค่าสุดนับตั้งแต่ 25 เม.ย.60 เป็นต้นมา โดยช่วงบ่ายมีแรงขายดอลลาร์เข้ามาเยอะมาก พอ หลุดระดับ 34.45 ก็ลงรวดเดียวจนมาปิดตลาด เข้าใจว่าน่าจะมี Flow เข้ามาแต่ยังไม่มีปัจจัยอื่นเข้ามาเสริม" นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับทิศทางสัปดาห์หน้า ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้กว้างๆ ระหว่าง 34.20-34.60 บาท/ ดอลลาร์ โดยปัจจัยที่ต้องติดตามคือการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) วันพุธที่ 24 พ.ค. และรายงานผลการประชุม FOMC รอบล่าสุดที่ผ่านมา

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.45 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 111.27 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1160 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1109 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,549.64 จุด เพิ่มขึ้น 3.76 จุด, +0.24% มูลค่าการซื้อขาย 34,179.90 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 818.48 ลบ.(SET+MAI)
  • สัปดาห์หน้าจะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 24 พ.ค. 60
  • ธนาคาร ซี ไอเอ็มบี ไทย คาดว่าเงินบาทในสัปดาห์หน้า (22-26 พ.ค.) จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 34.30-
34.80 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยมองว่าในช่วง 1-2 เดือนข้างหน้าดอลลาร์สหรัฐฯจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับ
ค่าเงินบาทและสกุลเงินอื่นๆ ส่วนใหญ่เนื่องจากคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯจะยังคงขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไปตามแผนและเริ่มลดขนาด
ของงบดุลลงในปีนี้เนื่องจากที่ผ่านมาตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯที่ออกมาโดยรวมยังออกมาดีอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่
เพิ่มขึ้นทั้งการเมืองสหรัฐฯและภูมิภาคอื่นๆก็อาจส่งผลลบต่อดอลลาร์สหรัฐฯได้ในบางช่วง และอาจหนุนเงินเยนให้แข็งค่าในบางช่วง
เช่นกัน
  • กระทรวงการคลังเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในเร็วๆ นี้ เพื่อพิจารณาขยายเวลาการใช้ภาษีมูลค่า
เพิ่ม (VAT) ที่อัตรา 7% ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย.นี้ ทั้งนี้เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยยังสามารถขยายตัวได้
อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีสะดุด
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย (TMB Analytics) คาดว่า การส่งออกของไทยในปีนี้จะขยายตัวได้ดี
ต่อเนื่องที่ 3.7% สูงกว่าคาดการณ์เดิมที่ 2% ซึ่งเป็นผลจากปัจจัยด้านราคาที่สูงขึ้นทั้งสินค้าโภคภัณฑ์และราคาน้ำมัน และปัจจัยด้าน
ปริมาณจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก
  • นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ยืนยันว่าเศรษฐกิจมหภาค (macro) ของไทยยังแข็งแกร่งอย่างแท้จริง
ในทุกด้าน ทั้งเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ย ฐานะการคลัง ดุลบัญชีเดินสะพัด สภาพคล่อง และอัตราการ
ว่างงาน เหล่านี้เป็นข้อมูลยืนยันว่า ภาพใหญ่ของเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่ง แต่สิ่งที่ยังขาดหายไปในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย
ขณะนี้ คือการลงทุนของภาคเอกชนที่แค่เพียงกระเตื้องขึ้นมาบ้าง แต่ยังไม่มากเท่าที่ควร
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1/2560 ขยายตัวเร่งตัวขึ้นจาก
ไตรมาสที่ 4/2559 ส่วนหนึ่งเกิดจากการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐโดยเฉพาะการลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ปรับตัวเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง
จะช่วยสร้างความเชื่อมั่น และผลักดันให้เศรษฐกิจไทยปี 2560 ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน ยังขอให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสหกิจไตร มาส 2/2560 ให้ขยายตัวต่อเนื่อง หลังจากที่ไตรมาส 1/2560 ขยายตัวได้ 17%

  • ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา
(MLR) ลงอีก 0.15% ต่อปี จากเดิม 6.40% ต่อปี ลดลงเหลือ 6.25% ต่อปี และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิก
เกินบัญชี (MOR) ลดลง 0.25% ต่อปี จากเดิม 7.25% ต่อปี เหลือ 7.00% ต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป
  • ธนาคารออมสิน ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี (MOR)
จาก 7.125% ต่อปี และ 7.10% ต่อปี ตามลำดับ ลงเหลือ 7.00% ต่อปี เท่ากัน เพื่อเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และช่วย
ลดภาระให้แก่ลูกค้าสินเชื่อ SMEs สินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อบุคคลของธนาคารฯ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2560 เป็นต้น
ไป
  • นายสตีเวน มนูชิน รมว.คลังสหรัฐ กล่าวในระหว่างการประชุมหอการค้าสหรัฐว่า เขาหวังว่าการปฏิรูปภาษี
ตามนโยบายของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในปีนี้
  • รัฐสภากรีซมีมติอนุมัติร่างกฎหมายมาตรการรัดเข็มขัด เพื่อเดินหน้าปรับลดเงินบำนาญและปรับขึ้นภาษีรอบใหม่จนถึงปี
2563 ก่อนที่การประชุมยูโรกรุ๊ปจะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 22 พ.ค.นี้ เพื่อปูทางสู่การอนุมัติเงินกู้รอบใหม่และเริ่มหารือเกี่ยวกับมาตรการ
บรรเทาหนี้สินของกรีซ

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ