(เพิ่มเติม) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.05/07 ตลาดรอผลประชุมเฟดวันพรุ่งนี้ ประเมินกรอบวันนี้ 33.95-34.05

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 13, 2017 11:16 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 34.05/07 บาท/ดอลลาร์ จากเย็น วานนี้ที่ปิดตลาดอยู่ที่ 34.07/08 บาท/ดอลลาร์

"ล่าสุดขยับมาอยู่ที่ 34.00/01 รอปัจจัยเดียวคือ FOMC คืนนี้และพรุ่งนี้ แต่ Highlight จะอยู่ที่คืนพรุ่งนี้"นักบริหาร
เงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 33.95-34.05 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด SPOT อยู่ที่ระดับ 33.9750 บาท/ดอลลาร์ ส่วน THAI BAHT FIX 3M (12 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.32899% ส่วน THAI BAHT FIX 6M (12 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 1.48874%

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 109.98 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 109.91/93 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1193 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่อยู่ที่ระดับ 1.1218/1221 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.0710 บาท/
ดอลลาร์
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สนับสนุนแนวคิดการใช้สกุลเงินท้องถิ่นในการแลกเปลี่ยนโดยตรงระหว่างกัน
(Local Currency) ตามที่ประเทศญี่ปุ่นมีแนวคิดจะส่งเสริม โดยเฉพาะการผลักดันใช้เงินบาท-เยนโดยตรงการชำระค่าสินค้าและ
บริการระหว่างกัน แต่ต้องหารือกันในรายละเอียดต่อไป
  • สำนักวิจัย ศก.อาเซียนมองเศรษฐกิจไทยไม่โตพรวด เอกชนไม่ลงทุนเป็นเหตุ เจอปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา หนี้ครัว
เรือน-เอ็นพีแอลเอสเอ็มอีพุ่งไม่หยุด กดจีดีพีโตต่ำกว่าศักยภาพแท้จริง
  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) อยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
(บจ.) ที่ออกตั๋วเงินระยะสั้น (บีอี) รวมถึงแนวโน้มการชำระเงินอย่างใกล้ชิด เบื้องต้นส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการชำระหนี้หรือ
แนวโน้มการผิดนัดชำระหนี้ เนื่องจากมีสถานภาพการเงินดี ขณะที่บริษัทที่มีปัญหาด้านการเงินและสภาพคล่องมีน้อย ดังนั้น ขอให้นักลง
ทุนศึกษาข้อมูลของบริษัทที่จะเข้าลงทุนอย่างเข้าใจก่อนที่จะเข้าลงทุน เช่น ศึกษาข้อมูลที่เผยแพร่ในตลาดหลักทรัพย์ และจากบท
วิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ที่เปิดบัญชีซื้อขาย
  • มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ระบุว่า ผลการเลือกตั้งในอังกฤษ ซึ่ง
พรรคอนุรักษ์นิยมของนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรี ไม่สามารถครองเสียงข้างมากในสภาสามัญชน จะเป็นปัจจัยลบต่ออันดับความ
น่าเชื่อถือของประเทศ

มูดี้ส์ระบุว่า ผลการเลือกตั้งดังกล่าวจะสร้างความซับซ้อน และสร้างความล่าช้าต่อการเจรจาแยกตัวจากสหภาพยุโรป (Brexit) รวมทั้งกระทบความพยายามของรัฐสภาอังกฤษในการแก้ไขปัญหาด้านการคลังของประเทศ

  • โฆษกของนางเทเรซา เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวว่า นางเมย์จะไม่ยอมรับข้อตกลงแยกตัวจากสหภาพยุโรป
(Brexit) หากข้อตกลงดังกล่าวสร้างความเสียหายต่ออังกฤษมากกว่าการที่อังกฤษไม่มีการบรรลุข้อตกลงใดๆกับ EU
  • สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดนิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (12 มิ.ย.) ก่อน
หน้าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะเริ่มต้นการประชุมกำหนดนโยบายเป็นเวลา 2 วันในวันนี้ตามเวลาสหรัฐ ขณะที่มีกระแสคาดการณ์
เป็นวงกว้างว่า เฟดจะมีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ โดยยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1200
ดอลลาร์ จากระดับ 1.1197 ดอลลาร์ ยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ที่ระดับ 1.1200 ดอลลาร์ จากระดับ 1.1197
ดอลลาร์
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นวันที่ 4 เมื่อคืนนี้ (12 มิ.ย.) โดยได้รับแรงกดดันจากการ
คาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมสัปดาห์นี้
  • นักวิเคราะห์ของดอยช์แบงก์ระบุว่า สหรัฐมีโอกาสน้อยมากที่จะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วง 12 เดือนข้าง
หน้า ถึงแม้เส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐได้ทรงตัวในระยะนี้ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณถึงความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถด
ถอยที่เพิ่มมากขึ้น
  • นักลงทุนจับตาการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 13-14 มิ.ย. โดยมีกระแสคาดการณ์
เป็นวงกว้างว่า เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้

นอกจากนี้ นักลงทุนจะจับตาดูว่าเฟดจะส่งสัญญาณการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้ง หรือ 4 ครั้งในปีนี้ รวมทั้งจะปรับ ลดงบดุลบัญชีหรือไม่

  • นักลงทุนยังจับตาข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐในสัปดาห์นี้ โดยในวันนี้จะมีการเปิดเผยดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนพ.
ค. ส่วนในวันพรุ่งนี้จะมีการเปิดเผยยอดค้าปลีกเดือนพ.ค., ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนพ.ค. และสต็อกสินค้าคงคลังภาคธุรกิจ
เดือนเม.ย.
  • นักลงทุนจับตาการประชุมของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันที่ 15-16 มิ.ย.นี้ เพื่อรอดูมุมมองเศรษฐกิจในปีนี้และ

ปีหน้า


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ