ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 34.08/09 จับตาตัวเลข Nonfarm สหรัฐฯหากดีกว่าที่ตลาดคาด แนวโน้มบาทสัปดาห์หน้าอ่อนค่าต่อ

ข่าวเศรษฐกิจ Friday July 7, 2017 17:48 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 34.08/09 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า เล็กน้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 34.06 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ โดยระหว่างวันอ่อนค่าสุดที่ระดับ 34.10 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งคืนนี้ตลาดจับตาดูการ รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm Payroll) เดือนมิ.ย.ของสหรัฐ เนื่องจากเป็นตัวเลขสำคัญที่มีผลต่อการ ประกอบการตัดสินใจเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ค่อนข้างมาก และจะมีผลมาถึงตลาดเงิน ด้วย

"ต้องรอดูตัวเลข Nonfarm ของสหรัฐฯ คืนนี้ก่อน ถ้าออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ ดอลลาร์ก็จะปรับแข็งค่าขึ้น สัปดาห์ หน้าเงินบาทก็จะอ่อนค่าต่อ" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า ในต้นสัปดาห์หน้า เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 34.05-34.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 113.66/70 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 113.66 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1413/1416 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1418 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,569.44 จุด ลดลง 0.20 จุด (-0.01%) มูลค่าการซื้อขาย 32,881 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 226.51 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคาร ซี ไอเอ็มบี ไทย คาดว่าเงินบาทในสัปดาห์หน้า(10-14 ก.ค.)จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 33.85-34.20
บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ
  • สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการภาคการ
ค้าและบริการ เดือน พ.ค.60 อยู่ที่ 96.4 ปรับตัวลดลงจาก 101.2 ในเดือน เม.ย.60 เป็นผลจากปัจจัยด้านยอดจำหน่าย การ
ลงทุน การจ้างงาน และกำไรที่ลดลง ทั้งภาคการค้าและบริการ เนื่องจากมีฝนตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ส่งผลให้สถานการณ์ด้าน
ท่องเที่ยวลดลง อีกทั้งเป็นช่วงของการเปิดภาคเรียน ส่งผลให้เกิดการชะลอตัวในด้านการบริโภคโดยรวม
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจของครัวเรือน (KR-ECI) ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลปรับตัวดีขึ้น
ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 46.4 ในเดือนมิ.ย. 2560 จากความกังวลที่ลดลงต่อประเด็นเรื่องภาระหนี้สินและสถานการณ์
ทางด้านราคาสินค้าเป็นสำคัญ
  • นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมว.พาณิชย์ เผยตัวเลขมูลค่าการค้าชายแดนของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านในช่วง 5 เดือน
แรก (ม.ค.-พ.ค.) ของปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เปิดเผยรายงานการประชุมเดือนมิ.ย. โดยระบุว่าเมื่อพิจารณาจากอัตราเงินเฟ้อในยู
โรโซนที่ค่อยๆ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ECB จึงเตรียมพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงิน ซึ่งปัจจุบันได้ตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำ
และเข้าซื้อพันธบัตรจำนวนมาก
  • นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ กำลังเตรียมปรับคณะรัฐมนตรี และเปลี่ยนแปลงผู้นำพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ใน
ช่วงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคมนี้ จากการเปิดเผยของแหล่งข่าวในรัฐบาลและพรรค LDP โดยการตัดสินใจครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่ทาง
พรรคพ่ายแพ้ในการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงโตเกียว เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
  • การประชุมระดับผู้นำกลุ่มประเทศ G20 ที่เมืองฮัมบูร์ก เยอรมนี จะเปิดฉากขึ้นในวันนี้ โดยที่ประชุมจะหารือใน
ประเด็นต่างๆที่ส่งผลกระทบต่อทั่วโลก รวมถึงประเด็นการค้าเสรี ปัญหาโลกร้อน การก่อการร้าย รวมทั้งประเด็นเกาหลีเหนือ โดย
การประชุมดังกล่าวจะจัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) และองค์การการค้าโลก (WTO) ได้เรียกร้อง
ให้ชาติกลุ่ม G20 หามาตรการส่งเสริมการค้าให้แข็งแกร่งมากขึ้น
  • นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนมิ.ย.ของสหรัฐ ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐ
มีกำหนดเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในวันนี้ โดยนักวิเคราะห์คาดว่าตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนมิ.ย.จะเพิ่มขึ้นราว 174,000
ตำแหน่ง หลังจากที่เพิ่มขึ้นเพียง 138,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. ขณะเดียวกันคาดว่าอัตราว่างงานเดือนมิ.ย.จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ
4.4% จากเดือนพ.ค.ที่ระดับ 4.3%

ทั้งนี้ ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเป็นในข้อมูลเศรษฐกิจที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จับตาดูอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก เป็นข้อมูลที่จะบ่งชี้ถึงการตัดสินใจเกี่ยวกับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในวันข้างหน้า

  • สัปดาห์หน้ามีตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าสนใจต้องติดตาม เช่น ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ใน
เดือนมิ.ย.ของจีน, ยอดส่งออก นำเข้า และดุลการค้าของจีนเดือนมิ.ย., รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ (Beige Book) จาก
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), ดัชนีภาวะตลาดแรงงานเดือนมิ.ย.ของสหรัฐ เป็นต้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ