ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.18 ทรงตัวจากช่วงเช้า จับตาตัวเลขจ้างงานสหรัฐฯคืนนี้ มองกรอบสัปดาห์หน้า 33.10-33.25

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 1, 2017 17:43 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นวันนี้ที่ระดับ 33.18 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัว จากตอนเช้า โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบแคบระหว่าง 33.17-33.20 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวันเงินบาทขึ้นลงสลับกันแต่อยู่ในกรอบแคบเช่นเดียวกับสกุลอื่นในภูมิภาค และแช่อยู่แถวๆ 33.17/18 ก่อนจะ ปิดตลาดในที่สุด" นักบริหารเงินกล่าว

สำหรับทิศทางค่าเงินบาทวันจันทร์ ขึ้นอยู่กับตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯที่จะประกาศออกมาในคืนนี้ ได้แก่ ตัวเลขการ จ้างงานนอกภาคเกษตรและตัวเลข ISM ของสหรัฐฯ

เบื้องต้นประเมินกรอบเงินบาทในวันจันทร์ระหว่าง 33.10-33.25 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 110.11 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 110.07 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1912 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1907 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,618.42 จุด เพิ่มขึ้น 2.26 จุด, +0.14% มูลค่าการซื้อขาย 44,762.35 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 147.65 ลบ.(SET+MAI)
  • กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในเดือนส.ค.60 ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) อยู่ที่ 100.64 ขยายตัวจากช่วง
เดียวกันของปีก่อน 0.32% และขยายตัว 0.11% จากเดือนก.ค.60 ส่งผลให้ CPI ช่วง 8 เดือนปี 60 ขยายตัว 0.56%

ส่วน Core CPI เดือน ส.ค.60 อยู่ที่ 101.35 ขยายตัว 0.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว 0.05% จากเดือนก.ค.60 ส่งผลให้ Core CPI ช่วง 8 เดือนปี 60 ขยายตัว 0.54%

  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับประมาณการเงินเฟ้อทั่วไปปี 60 ลงมาที่ 0.6%
จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 1.0% เนื่องจากราคาอาหารสดขยายตัวน้อยกว่าคาด รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นก็มีส่วนทำให้ราคาสินค้านำ
เข้ามีราคาถูกลง ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 8 เดือนแรกอยู่ที่ 0.57% ซึ่งมีแนวโน้มทรงตัวในช่วงที่เหลือของปี 2560

ขณะเดียวกัน EIC ปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยทั้งปี 2560 มาอยู่ที่ 0.5% จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 0.6% เนื่องจากกำลังซื้อในประเทศยังอ่อนแอ โดยเฉพาะรายได้ภาคเกษตรที่หดตัว 2.7% ในเดือนกรกฎาคม ตามราคาสินค้าเกษตรหลาย ชนิดที่ลดลง ขณะที่การจ้างงานนอกภาคเกษตรก็ยังซบเซา โดยหดตัวลง 1.2% ในช่วง 7 เดือนแรก ส่งผลให้การบริโภคในประเทศ ยังคงชะลอลงและราคาสินค้ายังไม่ปรับขึ้นมากนัก

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ในเดือนสิงหาคม 60 ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจทรงตัวใกล้เคียงเดือน
ก่อนที่ระดับ 50.7 แม้ความเชื่อมั่นด้านปริมาณการผลิตและการค้าปรับดีขึ้นในเกือบทุกภาคธุรกิจยกเว้นภาคขนส่งและคมนาคม ตามยอด
ขายและคำสั่งซื้อที่ปรับเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับดัชนีด้านการลงทุนที่ปรับดีขึ้นทั้งในภาคการผลิต การค้าและบริการ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิต
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นไปตามภาวะการส่งออกและคำสั่งซื้อในอีก 3 เดือนข้างหน้าที่ดีขึ้น แต่ดัชนีฯ กลับทรงตัวเป็นผลจากความ
เชื่อมั่นด้านต้นทุนที่แย่ลงโดยเฉพาะจากกลุ่มผู้ค้าปลีก ผู้ผลิตเหล็ก รวมถึงผู้ผลิตเคมีและปิโตรเลียม
  • ธนาคาร ซี ไอเอ็มบี ไทย คาดว่าเงินบาทในสัปดาห์หน้า(4-8 ก.ย.) จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 33.00-33.40
บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยต้องจับตาการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของสหรัฐฯเดือนสิงหาคมที่จะประกาศในคืน
นี้ ซึ่งจะชี้ทิศทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ขณะเดียวกันประเด็นปัญหาการเมืองสหรัฐฯ และปัญหาเกาหลี
เหนือก็ต้องจับตาต่อเนื่องเช่นกัน
  • นักลงทุนในตลาดการเงินจับตาตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนส.ค.ของสหรัฐ โดยกระทรวงแรงงาน

สหรัฐมีกำหนดเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวในวันนี้ เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ