ภาวะตลาดเงินบาท: ระหว่างวันแข็งค่าแตะ 33.15 ก่อนปิดที่ 33.17 รับเม็ดเงินไหลเข้า

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 4, 2017 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.17 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 33.19 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีเงินทุนต่างประเทศไหลเข้า ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวใน กรอบ 33.15-33.20 บาท/ดอลลาร์

"ระหว่างวันเงินบาทแข็งค่าลงไป test ที่ระดับ 33.15 ซึ่งเป็นจุดต่ำสุดในรอบ 28 เดือนอีกครั้ง เนื่องจากมี flow ไหลเข้ามา แต่อ่อนค่ากลับมาช่วงท้ายตลาด" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.15-33.25 บาท/ดอลลาร์เช่นเดิม

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ 109.57 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าอยู่ที่ระดับ 109.73 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ 1.1910 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าอยู่ที่ระดับ 1.1884 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,619.11 จุด เพิ่มขึ้น 0.69 จุด, +0.04% มูลค่าการซื้อขาย 44,872.66 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 858.95 ล้านบาท (SET+MAI)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ
33.10-33.30 ต่อดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดแข็งค่าที่ 33.18 ต่อดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จุดสนใจหลักของตลาดการเงินโลก
สัปดาห์นี้จะอยู่ที่การประชุมธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) วันที่ 7 กันยายน

สำหรับปัจจัยภายในประเทศที่ยังคงต้องติดตาม คือ ท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทยต่อการแข็งค่าของเงินบาท แม้ รัฐบาลจะแสดงความเชื่อมั่นว่ากระแสเงินทุนไหลเข้าสู่ตลาดหุ้นไทยระลอกใหม่สะท้อนแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สดใสขึ้นก็ ตาม ส่วนข้อมูลเงินเฟ้อเดือนสิงหาคมยังอยู่ในระดับต่ำและคาดว่าจะไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการดำเนินนโยบายการเงิน ของไทยในระยะ 1-2 ไตรมาสข้างหน้า

  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายหลักเกณฑ์ภายใต้การปฏิรูปกฎเกณฑ์ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเพิ่มเติม
เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ลงทุนไทยส่งเงินไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น รวมถึงเพิ่มความคล่องตัวในการประกอบธุรกิจ
เกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ โดยได้ขยายวงเงินจัดสรรสำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ที่ ธปท. อนุมัติให้สำนักงานคณะ
กรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) จัดสรรให้แก่ผู้ลงทุนภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. และบุคคลรายย่อยที่
ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านตัวแทนการลงทุนในไทย เช่น กองทุนรวม และบริษัทหลักทรัพย์ จากเดิมวงเงินรวมจำนวน
75,000 ล้านดอลลาร์ สรอ. เป็น 100,000 ล้านดอลลาร์ สรอ.
  • สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก ยังคงคาดการณ์ทิศทางการเติบโตของมูลค่าการ
ส่งออกในปี 2560 ที่ 5% โดยขอประเมินสถานการณ์การส่งออกในเดือน ก.ย. และ ต.ค.นี้อีกครั้ง ก่อนจะพิจารณาว่าจะต้องปรับ
เป้าหมายการส่งออกในปีนี้ใหม่หรือไม่
  • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ แถลงรายงานภาวะสังคมไทย
ไตรมาสสองปี 2560 พบว่า การจ้างงานเพิ่มขึ้นครั้งแรกในช่วง 4 ไตรมาสที่ผ่านมาเป็น 0.4% ภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 6.3% เนื่องจาก
สภาพอากาศที่เอื้ออำนวย น้ำในเขื่อนเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรในช่วงไตรมาสแรกที่ดีขึ้นจูงใจให้เกษตรกรขยาย
กิจกรรมการเกษตร
  • สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า GDP SMEs ในช่วงไตรมาสที่ 2/60 มี
มูลค่ากว่า 1.56 ล้านล้านบาท ขยายตัวได้ 4.9% แต่ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนเล็กน้อยจาก 5.0% ขณะที่ GDP ประเทศขยายตัว
3.7%
  • สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2560 มีจำนวน
6,224,988.75 ล้านบาท หรือคิดเป็น 41.83% ของ GDP แบ่งเป็น หนี้รัฐบาล 4,803,543.97 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ
967,658.32 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) 438,271.67 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ
15,514.79 ล้านบาท ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าหนี้สาธารณะคงค้างเพิ่มขึ้นสุทธิ 39,491.75 ล้านบาท
  • นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยืนยันรัฐบาลยังไม่ได้มีการกำหนดการจัดการเลือกตั้งในเดือน ส.ค.61 ตาม
ที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) แสดงความเห็นไว้ ทั้งนี้ในส่วนของรัฐบาลยังคงเดินหน้าตามโรดแมพ ซึ่งต้องรอให้กฎหมายลูก
เกี่ยวกับการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยก่อน หลังจากนั้นถึงจะกำหนดวันเลือกตั้งได้
  • ที่ประชุมผู้นำประเทศกลุ่ม BRICS ซึ่งประกอบด้วย บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ ได้แสดงจุดยืนต่อ
ต้านการทดสอบนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ อย่างรุนแรง พร้อมแสดงความกังวลอย่างมากต่อสถานการณ์ความตึงเครียดในคาบสมุทร
เกาหลี
  • ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีกำหนดการประชุมนโยบายการเงินและแถลงมติอัตราดอกเบี้ยในวันที่ 7 ก.ย.นี้ ใน
ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า นายดรากี คงจะไม่ออกมาส่งสัญญามากนักเกี่ยวกับโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิง
ปริมาณ (QE) ในอนาคต เนื่องจาก ECB อาจจะรอจนถึงเดือนต.ค.ก่อนที่จะประกาศเรื่องการเปลี่ยนแปลงมาตรการ QE

นอกจากนี้ นักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ด้วยว่า นายดรากี อาจจะแสดงความกังวลเกี่ยวกับการแข็งค่าของสกุลเงินยูโรใน การประชุมครั้งนี้ด้วยเช่นกัน


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ