ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.06 ขยับแข็งค่าจากช่วงเช้าเล็กน้อย รับเม็ดเงินไหลเข้า คาดกรอบพรุ่งนี้ 33.00-33.15

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 18, 2017 17:29 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.06 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.10 บาท/ดอลลาร์

ช่วงเย็นนี้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากเปิดตลาดตอนเช้า เนื่องจากยังคงมีเงินทุนไหลเข้า แต่โดยรวมตลอดทั้ง วันเงินบาทยังเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแคบๆ และพรุ่งนี้เงินบาทก็ยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อ ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้คือการ ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ขณะที่สัปดาห์หน้าคือติดตามการประชุมคณะกรรมการ นโยบายการเงิน (กนง.)

"บาทแข็งค่าเล็กน้อยจากช่วงเช้า เพราะยังมี flow แต่โดยรวมแล้วทั้งวันก็ยังเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ" นักบริหาร
เงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 33.00 - 33.15 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เย็นนี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.28 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 111.20 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1948 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1947 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,670.20 จุด เพิ่มขึ้น 9.67 จุด (+0.58%) มูลค่าการซื้อขาย 67,808 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,010.52 ลบ.(SET+MAI)
  • นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ยอมรับว่า มีการเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินที่ผิดปกติ
เป็นบางช่วง แต่เมื่อ ธปท.เห็นสัญญาณดังกล่าวก็ได้มีการเข้าไปดำเนินการแล้วกับสถาบันการเงินที่มีการทำธุรกรรมทางการเงินที่หนา
แน่นหรือการทำธุรกรรมการเงินที่มีความผิดปกติ

ส่วนกรณีที่ยังมีเงินทุนไหลเข้า ซึ่งส่งผลให้เงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่านั้น ผู้ว่าฯ ธปท. ระบุว่า เงินที่ไหลเข้ามาจากนัก ลงทุนที่มีความมั่นใจในระบบเศรษฐกิจไทยมากขึ้นและเห็นสัญญาณการฟื้นตัวที่ดี ประกอบกับคลายความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง ของไทย

  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ
33.00-33.20 บาท/ดอลลาร์ โดยเหตุการณ์สำคัญของตลาดการเงินโลกในสัปดาห์นี้ อยู่ที่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
แม้มีแนวโน้มเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ตามเดิม แต่นักลงทุนคาดว่าเฟดจะให้รายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับการลดขนาดงบดุล
และตลาดจะจับตาประมาณการแนวโน้มดอกเบี้ย ภาวะเงินเฟ้อ รวมถึงเครื่องบ่งชี้ทางเศรษฐกิจจากเฟดเพื่อประเมินว่า เฟดจะปรับ
ขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งก่อนสิ้นปีนี้ตามแผนเดิมหรือไม่

สำหรับปัจจัยในประเทศ มองว่า กระแสเงินทุนไหลเข้าตลาดพันธบัตรไทยยังเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่อง จากมีเงินทุนไหลเข้าสู่พันธบัตรไทยรวมทุกช่วงอายุมากถึง 1 แสนล้านบาทในเดือนกันยายนเพียงครึ่งเดือน เทียบกับประมาณ 2 แสน ล้านบาท ในช่วง 8 เดือนแรกของปี ซึ่งกำลังเป็นที่จับตามองจากทางการว่าอาจกระทบเสถียรภาพของตลาดการเงินไทยได้

  • นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ตลท.มีแผนงาน
ภายใต้แผนพัฒนาตลาดทุนไทยปี 60-64 ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ผ่านมา ซึ่งมีประเด็นสำคัญ คือ เป้า
หมายการเพิ่มมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) ต่อผลผลิตมวลรวมในประเทศ (GDP) เป็น 150% หรือคิดเป็น
มูลค่ามาร์เก็ตแคปราว 20 ล้านล้านบาท จากปัจจุบันอยู่ที่ 112% หรือคิดเป็นมูลค่ามาร์เก็ตแคปราว 16 ล้านล้านบาท
  • สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในยูโรโซนเดือนส.ค. ปรับตัว
ขึ้นแตะ 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยเป็นการทำสถิติสูงสุดในรอบ 4 เดือน หลังจากเพิ่มขึ้นแตะ 1.3% ในเดือน
ก.ค.
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) เปิดเผยว่า ผู้ประกอบการจีนมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจมากขึ้นในไตรมาส 3 ของปีนี้
เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการจีนแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2555
  • นักลงทุนในตลาดการเงินจับตานายมาร์ค คาร์นีย์ ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ซึ่งมีกำหนดจะกล่าว
สุนทรพจน์ในการประชุมซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จัดขึ้นที่กรุงวอชิงตัน ในวันนี้

นักลงทุนคาดว่า นายคาร์นีย์อาจจะส่งสัญญาณเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หลังจากที่ BoE ได้ส่งสัญญาณใน การประชุมล่าสุดเมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมาว่า BoE อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าจะ เป็นเดือนพ.ย.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ