ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 33.37/41 แนวโน้มยังอ่อนค่าต่อ คาดกรอบพรุ่งนี้ 33.30-33.50 รอตัวเลข GDP Q2/60 สหรัฐคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 28, 2017 16:14 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทช่วงเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 33.37/41 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าต่อจาก ช่วงเช้าที่ระดับ 33.30/32 บาท/ดอลลาร์

เย็นนี้เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าลงจากช่วงเช้า เหตุเพราะเริ่มมีเงินทุนไหลออก ในขณะที่ต้องติดตามความคืบหน้านโยบาย การปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯ ต่อ ขณะที่คืนนี้สหรัฐฯ จะมีการรายงานตัวเลข GDP ไตรมาส 2 ซึ่งต้องรอดูว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะปรับตัว ดีขึ้นหรือไม่

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะยังมีแนวโน้มอ่อนค่า คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 33.30-33.50 บาท/ดอลลาร์

ล่าสุด THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 33.4150 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนช่วงเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 112.78 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 112.80 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1767 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1730 ดอลลาร์/ยูโร
  • ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) คาดว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ในปีนี้ขยายตัวได้ถึง 4% สูงกว่า
ประมาณการเดิมที่ 3.4% โดยมีปัจจัยหนุนจากภาคการส่งออกที่เติบโตมากกว่าคาด ซึ่งมองว่าสามารถขยายตัวได้ถึง 7% จากเดิม
3.8% และมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ เพราะมูลค่าการส่งออกของไทยคิดเป็น 70% ของผลผลิตมวลรวมใน
ประเทศ

ด้านอัตราแลกเปลี่ยนในปีนี้ธนาคารยังคาดว่าค่าเงินบาทจะอยู่ที่ 33.50 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในสิ้นปีนี้ โดยธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้มีการออกมาตรการเพื่อชะลอการแข็งค่าของเงินบาทมากกว่า 5.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ เพื่อทำให้ค่าเงินบาทไม่หลุดต่ำกว่าระดับ 33.00 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งหากค่าเงินบาทหลุดต่ำกว่าระดับดังกล่าวจะส่ง ผลให้เกิดภาวะเงินเฟ้อต่ำกว่าปกติ และเป็นแรงกดดันให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะต้องปรับลดดอกเบี้ยในท้ายที่สุด

  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เตรียมปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 60 อีกรอบใน
เดือนพ.ย.นี้ น่าจะขยายตัวได้มากกว่าเดิมที่คาดไว้ 3.6% แต่คงไม่ถึง 4% เนื่องจากการส่งออกของไทยคาดว่าจะขยายตัวได้สูงก
ว่า 7% ดีกว่าคาด แต่ยังปัจจัยกดดันจากการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัว

ด้านเศรษฐกิจไทยในปี 61 คาดว่าจะเติบโต 3.5% จากแรงหนุนการลงทุนทั้งรัฐและเอกชน นอกจากการลงทุนก่อ สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของภาครัฐแล้ว และยังเห็นหลายสัญญาณที่ส่งผลให้ภาคเอกชนน่าจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น อย่างเห็นได้ชัดในปี 61 ทั้งจากภาคอุตสาหกรรมส่งออกที่มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากความสนใจของต่าง ชาติที่จะลงทุนในโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)

  • สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยในเดือน ส.ค.60 ยังคงได้รับแรงขับเคลื่อนสำคัญจาก
การส่งออกสินค้าที่ขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่องที่ 13.2% ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 55 เดือน ประกอบกับการใช้
จ่ายภาคเอกชนที่ยังขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการบริโภคและการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรช่วยสนับสนุนให้การเติบโตมีความมั่นคง
มากขึ้น สอดคล้องกับเศรษฐกิจไทยด้านการผลิตที่ยังคงขยายตัวได้ในอัตราเร่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและจำนวน
นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ
  • โฆษกกระทรวงการคลัง ระบุถึงกรณีที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ยังมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่
ระดับ 1.50% ว่า กระทรวงการคลังเคารพการตัดสินใจของทุกฝ่าย ซึ่งหน้าที่ในการกำกับดูแลนโยบายการเงินของ ธปท.ก็มีความ
เป็นอิสระอยู่แล้ว ทั้งนี้ จากการที่ กนง.ยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.50% ก็ยังมีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตได้ถึง 3.8%
เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจขณะนี้ยังไปได้ดี โดยกระทรวงการคลัง จะมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 60 อีกครั้งในเดือนหน้า
(ต.ค.) และมองว่าช่วงไตรมาส 3 เศรษฐกิจน่าจะขยายตัวได้ดีกว่า 2 ไตรมาสแรกของปี จึงทำให้ทั้งปีมีโอกาสสูงมากที่จะ
เศรษฐกิจจะโตได้ถึง 3.8%
  • ธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย (AIIB) ประกาศการลงทุนมูลค่า 150 ล้านดอลลาร์ ในกอง
ทุน Emerging Asia ของบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านโครงสร้างพื้น
ฐานในภูมิภาคเอเชีย
  • Ifo สถาบันวิจัยเศรษฐกิจของเยอรมนี ระบุว่า กลุ่มผู้ผลิตในภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีคาดการณ์ว่า การส่งออก
จะขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยในเดือนก.ย.

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ