ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.42 อ่อนค่าต่อเนื่องจากช่วงเช้า นลท.จับตาว่าที่ประธานเฟดคนต่อไป

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 2, 2017 17:59 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 33.42 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากตอน เช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.35 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวระหว่าง 33.34-33.45 บาท/ดอลลาร์

"เงินบาทอ่อนค่าสุดในรอบ 2 เดือน เนื่องจากมีแรงซื้อกลับดอลลาร์ในตลาดโลกหลังมีข่าวว่าประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เตรียมจะตัดสินใจเสนอชื่อประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) คนต่อไปในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า เพื่อเข้าดำรงตำแหน่งต่อจาก นางเจเน็ต เยลเลน ประธานเฟดคนปัจจุบัน"นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน คาดว่า วันพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.35-33.50 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 112.86 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 112.87 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1735 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1780 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,688.64 จุด เพิ่มขึ้น 15.48 จุด, +0.93% มูลค่าการซื้อขาย 62,026.90 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 2,869.56 ลบ.(SET+MAI)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่ามีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.20-
33.50 บาท/ดอลลาร์ เทียบกับระดับปิดอ่อนค่าที่ 33.34 บาท/ดอลลาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยมีแรงซื้อดอลลาร์หนาแน่นในตลาดโลก
ส่งผลให้เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 2 เดือน

สำหรับปัจจัยชี้นำสัปดาห์นี้หลักๆ มาจากความเห็นจากประธานเฟดและข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ย. ของสหรัฐฯ รวมถึงกระแสข่าวเกี่ยวกับตัวเก็งตำแหน่งประธานเฟดคนใหม่ซึ่งอาจนำไปสู่การปรับขึ้นดอกเบี้ยถี่ขึ้นกว่าคาด

  • ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT) มั่นใจว่าภาพรวมของสินเชื่อรายย่อยในปีนี้จะทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้เติบโต
9% ซึ่งไม่ได้รับผลกระทบจากที่หยุดให้บริการบัตรเครดิต โดยขณะนี้ CIMBT มีสินเชื่อคงค้างของบัตรเครดิตอยู่ที่ 500-600 ล้านบาท
และมีจำนวนบัตรที่มีการใช้งานอยู่ไนปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 20,000 ใบ ซึ่งการยกเลิกบริการบัตรเครดิตจะไม่กระทบต่อการดำเนินงาน
ของธุรกิจสินเชื่อรายย่อยในภาพรวม เพราะสัดส่วนของสินเชื่อบัตรเครดิตคิดเป็นต่ำกว่า 5% ของพอร์ตสินเชื่อรายย่อย
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนก.ย.60 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่
ระดับ 50.7 มาอยู่ที่ระดับ 52.2 ตามการปรับดีขึ้นของดัชนีในเกือบทุกองค์ประกอบ เป็นผลจากความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นของผู้ประกอบการ
ทั้งในภาคการผลิตและมิใช่การผลิต โดยดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการและการผลิตเพิ่มสูงสุดในรอบ 6 เดือน สอดคล้องกับคำ
สั่งซื้อที่ดีขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่ม ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
  • กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) ในเดือนก.ย.60 อยู่ที่ 101.22 ขยายตัว 0.86%
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว 0.58% จากเดือนส.ค.60 ส่งผลให้ CPI ช่วง 9 เดือนปี 60 ขยายตัว 0.59% พร้อมปรับ
ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสำหรับปีนี้ใหม่มาอยูที่ 0.4-1.0% จากก่อนหน้านี้ที่ 0.7-1.7%
  • สมาคมธนาคารไทย ร่วมมือกับสถาบันการเงิน จัดตั้งศูนย์ประสานงานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยเทคโนโลยี
สารสนเทศภาคการธนาคาร หรือ Thailand Banking Sector CERT (TB-CERT) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างให้ภาค
สถาบันการเงินยกระดับความร่วมมือในการดูแลความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยคุก
คามไซเบอร์ให้สอดรับกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการทางการเงินอย่างกว้างขวาง
  • กรมบัญชีกลาง เปิดเผยถึงผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ จนถึงวันที่ 30
ก.ย.60 ว่า ผลการเบิกจ่ายงบประมาณภาพรวมเบิกจ่ายได้จำนวน 2,586,551 ล้านบาท ของวงเงินงบประมาณ 2,733,000 ล้าน
บาท หรือคิดเป็น 94.64% สูงกว่าปีก่อน 0.35% (ปีงบประมาณ 2559 เบิกจ่ายได้ 94.29%)
  • นักเศรษฐศาสตร์แห่งแบงก์ ออฟ คอมมิวนิเคชั่นส์ (BOC) คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อของจีนจะอยู่ที่ระดับปานกลาง
ในเดือนก.ย. และตลอดทั้งปี 2560 เนื่องจากราคาอาหารที่ปรับตัวลงและผลกระทบทางเศรษฐกิจอ่อนตัวลง
  • นักลงทุนในตลาดการเงินจับตานายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งมีกำหนดกล่าวสุนทรพจน์ใน
พิธีเปิดหน่วยงาน ECB Visitor Centre ที่เมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ในวันพุธนี้
  • นักลงทุนในตลาดการเงินจับตากระทรวงแรงงานสหรัฐ ซึ่งมีกำหนดการเปิดเผยตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำ
เดือนก.ย.ในวันศุกร์นี้ เวลา 19.30 น.ตามเวลาไทย
  • รัฐมนตรีกระทรวงคลังสหรัฐ และผู้อำนวยการสำนักงานการบริหารและงบประมาณ (OMB) เปิดเผยว่า ขณะนี้รัฐบาล
ยังไม่ได้ตัดสินใจเกี่ยวกับรายละเอียดหลักๆในแผนปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกัน ด้วยเหตุนี้ จึงยังเร็วเกินไปที่จะด่วนสรุปว่า ใครจะได้
รับประโยชน์มากน้อยเพียงไรจากแผนปฏิรูปภาษีฉบับนี้

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองยืนยันว่า เป้าหมายสำคัญของแผนปฏิรูปภาษีฉบับนี้ คือการลดภาษีให้กับกลุ่มธุรกิจและผู้ที่มีรายได้ ปานกลาง ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของหลายฝ่ายที่ระบุว่า นโยบายดังกล่าวสร้างขึ้นเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับคนรวย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ