ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.24 อ่อนค่าต่อเนื่อง แม้ GDP Q1/61 ของไทยออกมาดีกว่าคาด มองกรอบถัดไป 32.15-32.30

ข่าวเศรษฐกิจ Monday May 21, 2018 17:48 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 32.24 บาท/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 32.16 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบระหว่าง 32.16-32.27 บาท/ดอลลาร์

"เงินบาททะลุแนวต้าน 32.25 ที่ให้ไว้ ซึ่งตรงระดับ 32.27 เป็นระดับที่อ่อนค่าสุดนับตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค.61 โดยยัง เคลื่อนไหวตามแรงซื้อแรงขายจากดอลลาร์ในตลาดโลก แม้ว่า GDP ไตรมาส 1/61 ที่ออกมาจะดีกว่าคาดมากแต่ก็ส่งผล จำกัด" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน กล่าวว่า ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทไว้ระหว่าง 32.15-32.30 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 111.28 เยน/ดอลลาร์ จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 110.99 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1743 ดอลลาร์/ยูโร จากตอนเช้าที่อยู่ที่ระดับ 1.1756 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,768.31 จุด เพิ่มขึ้น 14.14 จุด, +0.81% มูลค่าการซื้อขาย 47,171.15 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,178.77 ลบ.(SET+MAI)
  • กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ว่า มีแนวโน้มเคลื่อนไหว
ในกรอบ 32.00-32.40 ต่อดอลลาร์
  • สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ ปรับคาดการณ์อัตราการขยาย
ตัวของเศรษฐกิจไทย (GDP) ปี 61 เป็นเติบโต 4.2-4.7% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 4.5% จากเดิมคาดการณ์ไว้ในช่วง 3.6-4.6%
หลังจากไตรมาส 1/61 เศรษฐกิจขยายตัวได้ถึง 4.8% สูงสุดในรอบ 20 ไตรมาส จากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัว 4.0%
  • นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทุกอย่างเป็นไปตามเป้าหมาย สำหรับตัวเลขไตรมาส 1 ที่ออ
อกมาเป็นเรื่องที่น่ายินดี สะท้อนว่าทุกเศรษฐกิจทุกภาคดีขึ้นทั้งหมด
  • นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า
เศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 1 ปี 2561 ขยายตัวสูงที่ 4.8% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และขยายตัว 2.0% จากไตรมาสก่อน
หน้า โดยมีแรงขับเคลื่อนหลักมาจากการบริโภคที่เร่งตัว และอุปสงค์จากต่างประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การลงทุนภาคเอกชน
และการลงทุนภาครัฐกลับมาฟื้นตัว
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยมีโอกาสสูงที่ GDP ทั้งปี
จะโตมากกว่า 4.0% แต่ยังต้องจับตาดูความคืบหน้าประเด็นสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ หลังจากมีการชะลอการขึ้นภาษีนำ
เข้าระหว่างสองประเทศไว้ชั่วคราวและทั้งสองประเทศจะมีการเจรจาการค้าต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ รวมถึงความไม่แน่นอนของ
นโยบายการเงินโลกและทิศทางค่าเงินบาทที่ยังมีความผันผวนสูง
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2561 มีความเป็นไปได้สูงขึ้นที่จะขยายตัวเข้า
ใกล้กรอบบนของประมาณการเศรษฐกิจที่ 3.5-4.5% (ค่ากลางที่ร้อยละ 4.0) จากองค์ประกอบทางเศรษฐกิจทั้งภาคต่างประเทศ
และการใช้จ่ายในประเทศมีทิศทางการเติบโตที่ดี ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากปัจจัยภายนอกประเทศซึ่งน่าจะมีผลจำกัดต่อทิศทางการ
เติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปี โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีกำหนดการทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยในช่วงเดือน
มิถุนายน 2561นี้
  • ที่ประชุมคณะกรรมการ PPP ครั้งที่ 2/2561 ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้สั่งการ
ให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งรัดโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track ให้เป็นไปตามกรอบเวลา
ที่วางไว้ โดยภายในปี 2561 คาดว่าจะมีโครงการภายใต้มาตรการ PPP Fast Track นำเสนอต่อคณะกรรมการ PPP พิจารณา
อย่างน้อยจำนวน 3 โครงการ ประมาณการมูลค่าเงินลงทุนรวม 446,874 ล้านบาท ได้แก่ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง
สายนครปฐม-ชะอำ 80,600 ล้านบาท, โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนาภิเษก 128,235 ล้านบาท และ
โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ส่วนตะวันตกและตะวันออก 238,039 ล้านบาท
  • สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง
22.90% มาอยู่ที่ 92.65 ถือว่าเป็นภาวะทรงตัว (Neutral) เป็นเดือนแรกในรอบ 9 เดือน หรือลดลงมาอยู่ในช่วงที่ค่าดัชนี
ระหว่าง 80-120 จากระดับ 120.17 ในเดือนก่อน
  • รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามรายงานต่อที่ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิวต์เวียดนามสมัยที่ 14 ครั้งที่ 5 ซึ่งเปิดฉาก
ขึ้นในวันนี้ว่า เวียดนามกำลังดำเนินมาตรการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ที่
6.7% พร้อมกับควบคุมเงินเฟ้อของประเทศให้อยู่ที่ราวๆ 4%
  • ประธานสถาบันเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศปีเตอร์สัน กล่าวว่า การบังคับใช้มาตรการเพื่อปรับลดยอดเกินดุลการ
ค้าของจีนและการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศนั้น ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลก

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ