ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.15 ระหว่างวันผันผวนก่อนกลับมาอ่อนค่าจากช่วงเช้าตามทิศทางภูมิภาค ไร้ปัจจัยใหม่

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 9, 2018 17:32 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.15 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็ก น้อยจากเปิดตลาดเช้าที่ระดับ 33.12 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวระหว่าง 33.08-33.15 บาท/ดอลลาร์

"บาทปิดตลาดอ่อนค่าสุดของวัน เคลื่อนไหวตามภูมิภาค ระหว่างวันเปลี่ยนแปลงไปตามแรงซื้อและขายดอลลาร์ ยังไม่มี ปัจจัยใหม่เข้ามา" นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.05-33.20 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ 110.43 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 110.45 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ 1.1768 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1750 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,622.96 จุด เพิ่มขึ้น 8.20 จุด, +0.51% มูลค่าการซื้อขาย 42,276.96 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,561.62 ล้านบาท(SET+MAI)
  • ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 61 ขยายตัวที่
4.3%YOY จากเดิม 4.0%YOY สะท้อนการเติบโตที่แข็งแกร่งในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกในปีนี้ SCB EIC ได้ปรับคาดการณ์
มูลค่าส่งออกในภาพรวมเพิ่มขึ้นเป็น 8.5% จากเดิมคาดโต 5% จากเศรษฐกิจโลกที่ยังขยายตัวได้ดีในปีนี้ ส่วนช่วงครึ่งปีหลัง มองว่ามี
ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงครึ่งปีแรกจากผลกระทบของมาตรการกีดกันทางการค้าที่มีออกมามากขึ้นจากฝั่งสหรัฐฯ และการตอบโต้
ของประเทศผู้ได้รับผลกระทบ
  • ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังคงมีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของญี่ปุ่น โดยคาดว่าเศรษฐกิจภายใน
ประเทศจะยังคงขยายตัวในระดับปานกลาง แม้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจและราคาผู้บริโภคอ่อนแรงลงก็ตาม
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า การตั้งกำแพงภาษีเหล็กนำเข้าของสหรัฐอาจส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตใน
แถบตะวันตกของญี่ปุ่น เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ และสินค้าขั้นสุดท้าย
  • นายกรัฐมนตรีจีนเปิดเผยว่า "จีนจะเดินหน้าพัฒนาและสร้างเสถียรภาพให้กับเศรษฐกิจต่อไป โดยไม่คำนึงถึงแรงกด
ดันจากภายนอก"
  • ฟิลิปปินส์และสหรัฐได้เริ่มต้นการเจรจาเกี่ยวกับวิธีการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีให้แน่นแฟ้นมาก
ขึ้น ซึ่งรวมถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ