(เพิ่มเติม1) ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 32.60/62 อ่อนค่าจากวานนี้ หลังดอลล์แข็ง รับเฟดส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในรอบหน้า

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 18, 2018 14:40 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 32.60/62 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่า จากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 32.52 บาท/ดอลลาร์

วันนี้เงินบาทยังมีแนวโน้มอ่อนค่า จากปัจจัยของนักลงทุนที่มีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ช่วงเดือนธ.ค.นี้ เฟดจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายค่อนข้างแน่นอน หลังจากที่เห็นเฟดเปิดเผยรายงานการประชุม ของเดือนก.ย.ไปเมื่อวานนี้

"เมื่อวานเฟดเผยรายงานประชุมออกมา ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจมากขึ้นถึง 80% ว่าการประชุมเฟดรอบหน้าในเดือน ธ.ค.นี้ จะปรับขึ้นดอกเบี้ยแน่นอน ซึ่งส่งผลให้ดอลลาร์ปรับแข็งค่าขึ้น" นักบริหารเงินระบุ

นักบริหารเงิน คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.50-32.75 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT FIX 3M (17 ต.ค.) อยู่ที่ระดับ 1.23484% ส่วน THAI BAHT FIX 6M อยู่ที่ระดับ 1.30745%

SPOT ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 32.5900 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เช้านี้เงินเยนอยู่ที่ระดับ 112.54/57 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 112.15 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1496/1498 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1573 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 32.5330 ดอลลาร์/ยู
โร
  • "พาณิชย์" ตั้งเป้าส่งออกปี 62 แบบทะเยอทะยาน โต 5-8% มูลค่า 2.68-2.76 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ท่ามกลาง
สารพัดปัจจัยเสี่ยง ทั้งสงครามการค้า สถานการณ์ภายในของคู่ค้าสำคัญ ภัยพิบัติ ค่าเงินผันผวน ราคาน้ำมันพุ่ง แต่มั่นใจมีแผนรับมือ
ครอบคลุมรอบด้าน เตรียมชง "สมคิด" พิจารณาวันนี้ ขณะที่ภาคเอกชนตั้งเป้าโตที่ 5-7%
  • "สมคิด"เรียก ททท.- บินไทย สั่งหามาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวปลายปี เล็งให้สิทธิพิเศษวีซ่าที่ขอรับการตรวจลง
ตรา รับมือตลาดจีนซบ แย้มจ่อบินเยือนจีนคุยร่วมมือเศรษฐกิจ-ท่องเที่ยวต้นเดือน พ.ย.นี้
  • กูรูแนะจับตาความเสี่ยงเศรษฐกิจโลก หวั่นกระทบถึงไทย "กสิกร"ห่วงดอกเบี้ยขึ้นฉุดฐานะการเงินบางประเทศส่อ
เบี้ยวหนี้ ชี้"ไทย" แม้โอกาสผิดนัดชำระหนี้ต่ำ แต่อาจโดนผลกระทบทางอ้อมผ่านตลาดการลงทุน ย้ำเงินบาทที่แข็งค่า ทำไทยเสีย
โอกาสร่วมแสนล้าน ด้าน"เวิลด์แบงก์" ห่วงเศรษฐกิจโลกปั่นป่วน กระทบตลาดลงทุนในไทย
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า ตัวเลขการเริ่มต้นสร้างบ้านลดลงมากกว่าคาดในเดือนก.ย. โดยดิ่งลง 5.3%
เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 1.201 ล้านยูนิต จากระดับ 1.268 ล้านยูนิตในเดือนส.ค. ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าตัว
เลขการเริ่มต้นสร้างบ้านจะลดลงสู่ระดับ 1.220 ล้านยูนิตในเดือนก.ย.
  • รายงานการประชุมเฟดประจำวันที่ 25-26 ก.ย. ระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันว่า เฟดจำเป็น
ต้องเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เฟดอาจจำเป็นต้องดำเนินนโยบายคุม
เข้มทางการเงินต่อไปแม้ในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยกลับสู่ภาวะปกติแล้ว ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะสามารถควบคุมอัตราเงินเฟ้อที่
ดีดตัวสูงขึ้นอันเนื่องมาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่เป็นผลมาจากภาวะไร้สมดุลทางการเงิน
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (17 ต.ค.)
หลังจากรายงานการประชุมประจำเดือนก.ย.ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) บ่งชี้ว่า เฟดจะเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
เพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เงินปอนด์อ่อนค่าลงหลังจากทางการอังกฤษเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่ชะลอตัวลง
มากกว่าคาด
  • สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค. ลดลง 3.60 ดอลลาร์ หรือ 0.3% ปิด
ที่ 1,227.40 ดอลลาร์/ออนซ์ ทั้งนี้ สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (17 ต.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากสกุลเงินดอลลาร์
ที่แข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ หลังจากรายงานการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ระบุว่า คณะกรรมการเฟดจะเดิน
หน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อไป
  • นักลงทุนบางส่วนยังคงซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างสหรัฐและซาอุดิ
อาระเบีย กรณีการหายตัวไปของนายจามาล คาช็อกกี นักข่าวซาอุดีอาระเบีย ท่ามกลางกระแสข่าวว่ารัฐบาลซาอุดิอาระเบียอยู่เบื้อง
หลังการสังหารนายคาช็อกกี แต่ทางซาอุดิอาระเบียได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว
  • ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่มีกำหนดเปิดเผยในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนี

การผลิตเดือนต.ค.จากเฟดฟิลาเดลเฟีย และยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ