ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 32.98/33.00 อ่อนค่าจากช่วงเช้า หลังมติ กนง.เสียงแตกเพิ่มขึ้น คาดกรอบพรุ่งนี้ 32.95-33.10

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 14, 2018 17:38 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 32.98/33.00 บาท/ดอลลาร์ จาก ช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 32.91/93 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปรับตัวอ่อนค่าจากช่วงเช้า และไป test ที่ระดับ 33 บาท/ดอลลาร์ต้นๆ หลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการ เงิน (กนง.) ลงมติด้วยเสียงส่วนใหญ่ 4 ต่อ 3 เสียงให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.50% ซึ่งถือเสียงแตกเพิ่มขึ้นจากการประชุมรอบที่ แล้ว

"ในช่วงเช้าบาทแข็งค่าลงไปค่อนข้างลึก แต่พอผลประชุม กนง.ออกมา เงินบาทตีกลับมาอ่อนค่า ขึ้นไป test ที่ระดับ 33 บาทต้นๆ" นักบริหารเงินระบุ

อย่างไรก็ดี คืนนี้ต้องติดตามการรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือนต.ค.ของสหรัฐ ซึ่งหากตัวเลขออกมาดี ก็จะส่งผลให้เงิน ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าไป test ที่ระดับ 33.10 บาท/ดอลลาร์ได้

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 32.95-33.10 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนช่วงเย็นนี้อยู่ที่ระดับ 113.89 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 113.92/94 เยน/ดอลลาร์
  • ส่วนเงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1272 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1303/1305 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,652.30 จุด ลดลง 7.48 จุด (-0.45%) มูลค่าการซื้อขาย 44,897 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,727.20 ลบ.(SET+MAI)
  • ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 4:3 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิมที่ 1.50%
ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ โดยในการประชุมครั้งนี้ เสียงของกรรมการที่ให้ปรับขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 3 เสียง จากการประชุมรอบที่
แล้วที่มี 2 เสียง
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ระบุว่า คณะกรรมการ กนง. มีกำหนดการประชุมรอบถัดไปในวันที่ 19 ธันวาคม 2561 โดย
การลงมติด้วยคะแนนเสียง 4:3 ในวันนี้ เป็นไปตามที่กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์คาดไว้ และเป็นสัญญาณที่เพิ่มความเป็นไปได้ว่า กน
ง.จะเริ่มวัฏจักรการปรับขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม
  • ธนาคารกสิกรไทย มองว่า การที่ กนง.เพิ่มน้ำหนักโอกาสขึ้นดอกเบี้ยด้วยจำนวนเสียงสนับสนุนขึ้นดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น
จาก 5 ต่อ 2 เสียงในครั้งก่อน มาที่ 4 ต่อ 3 เสียงในครั้งนี้ โดย กนง.มองว่าอุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอลงนั้น แม้ว่าส่วนหนึ่ง
จะมาจากผลกระทบของสงครามการค้า และอีกส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยด้านวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์ และปัจจัยชั่วคราวจากสภาพอากาศ
และประเมินการลงทุนภาคเอกชนดีกว่าที่ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานภาวะเศรษฐกิจรายเดือน รวมทั้งเห็นว่าอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำ
สอดคล้องกับที่ประเมินไว้ก่อนหน้านี้แล้ว สัญญาณดังกล่าวทำให้โอกาสการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในเร็วๆ นี้มีมากขึ้น โดยมองว่าการ
ประกาศตัวเลข GDP ของไทยในวันที่ 19 พ.ย.นี้ จะเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อมติ กนง.ในครั้งต่อไปวันที่ 19 ธ.ค.
  • นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร กล่าวในงานสัมมนา "THAILAND
2019" เมื่อคนเปลี่ยน แลนด์สเคปธุรกิจโลกเปลี่ยน ธุรกิจไทยจะก้าวไปอย่างไรว่า เบื้องต้นภาพเศรษฐกิจไทยในปี 62 จะเติบโตต่ำ
กว่าระดับ 4% ซึ่งเป็นอัตราชะลอตัวลงจากปีนี้ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ 4.3% โดยภาคการท่องเที่ยวซึ่งคิดเป็นประมาณ
15% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะฟื้นตัว และการส่งออกสินค้าจะเติบโตได้ในระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่จะเป็นแรงขับ
เคลื่อนหลักเศรษฐกิจใหม่ คือการที่ภาครัฐสนับสนุนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการผลักดันโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ
พิเศษภาคตะวันออก (EEC)
  • สื่อต่างประเทศรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า รัฐบาลสหรัฐภายใต้การนำของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะชะลอ
การเรียกเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ครั้งใหม่ไปก่อน ภายหลังการประชุมร่วมกับทีมงานด้านการค้าเมื่อวานนี้ ขณะเจ้าหน้าที่ระดับสูงกำลัง
ประเมินรายงานการสอบสวนโดยกระทรวงพาณิชย์เกี่ยวกับประเด็นภัยคุกคามด้านความมั่นคงของประเทศจากการนำเข้ารถ
  • กระทรวงการคลังสหรัฐ เปิดเผยว่า ในเดือนต.ค.61 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 62 รัฐบาลสหรัฐมียอดขาด
ดุลงบประมาณทั้งสิ้น 1.005 แสนล้านดอลลาร์ โดยยอดขาดดุลดังกล่าวเพิ่มขึ้น 59% จากระดับ 6.3 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ส่วนรายจ่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น 18.3% จากปีก่อนหน้า ขณะที่รายได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.3%
  • คืนนี้ ติดตามการรายงานอัตราเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐในเดือน ต.ค. ส่วนคืนพรุ่งนี้ จะมีการรายงานจำนวนผู้รับ

สวัสดิการการว่างงานรายสัปดาห์, ยอดค้าปลีกเดือน ต.ค., ดัชนีการผลิตเดือน พ.ย. เป็นต้น


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ